November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดโรคใบด่างไม่สร้างความเสียหาย

คาดโรคใบด่างมันสำปะหลังไม่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตในปี 2562…แต่ยังเป็นโจทย์ท้าทายของรัฐบาลในการบริหารจัดการ

จากสัญญาณการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในขณะนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2562การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง จะยังไม่สร้างความเสียหายให้กับภาพรวมผลผลิตมันสำปะหลัง เนื่องจากในช่วงครึ่งปีหลังจะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดตามฤดูกาลน้อยอยู่แล้ว โดยคาดว่า ราคามันสำปะหลังในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 อาจทรงตัวระดับต่ำอยู่ในกรอบ 1.7-1.8 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกับ 2.02 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 โดยคาดว่า ภาพรวมราคามันสำปะหลังทั้งปี 2562 จะยังให้ภาพที่ไม่สดใสนักเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1.9 บาทต่อกิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 20.1 (YoY) จากปัจจัยฉุดด้านความต้องการจากจีนที่ชะลอลงเป็นหลัก

ดังนั้น นับเป็นโจทย์ท้าทายของรัฐบาลในการจัดการแก้ปัญหาด้านผลผลิตของมันสำปะหลังในระยะสั้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 เพื่อป้องกันการลุกลามของโรคใบด่างอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้กระทบต่อความเสียหายของผลผลิตมันสำปะหลังในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ผ่านมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ประสบปัญหาโรคใบด่าง เช่น การจ่ายเงินชดเชย รวมถึงการบริหารจัดการในด้านการตลาด ที่ควรเน้นไปที่การสร้างอุปสงค์ในประเทศให้เพิ่มขึ้น 

จากสถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava Mosaic Disease: CMD)[1]* ที่ได้ระบาดและเริ่มตรวจพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทยราวเดือนสิงหาคม 2561 โดยได้มีการทำลายมันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่างไปแล้วรวม 1,237 ไร่ จนกระทั่งในปี 2562 ก็เริ่มมีสัญญาณการระบาดของโรคใบด่างอีกครั้งในแถบภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งได้มีการทำลายมันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่างไปแล้วราว 3,257 ไร่ (ณ 2 ก.ค.2562) เนื่องจากมีรายงานว่ามีการระบาดในประเทศเวียดนามและกัมพูชา ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศไทยและถือว่าเป็นจุดที่พบการระบาดไม่ไกลจากไทยมากนัก จึงมีความเสี่ยงสูงที่โรคใบด่างมันสำปะหลังจะเข้ามาระบาดต่อเนื่องในประเทศไทยในระยะถัดไป และทำความเสียหายให้กับผลผลิตมันสำปะหลังของไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง จะยังไม่สร้างความเสียหายในวงกว้างให้กับภาพรวมผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2562 จึงยังไม่มีผลเชิงลบต่อภาพรวมปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง

เนื่องจากตั้งแต่เดือนก.ค.-ธ.ค.2562 หรือช่วงครึ่งปีหลัง เป็นช่วงที่ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดตามฤดูกาลน้อยอยู่แล้วคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 25 ของผลผลิตมันสำปะหลังทั้งปี ก็อาจช่วยพยุงราคามันสำปะหลังไม่ให้ร่วงแรงนัก ท่ามกลางภาวะความต้องการจากจีนที่ชะลอลง เนื่องจากปริมาณสต๊อกข้าวโพดของจีนที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าในปี 2562 สต๊อกข้าวโพดของจีนจะอยู่ที่ 209.8 ล้านตัน[2]* เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยช่วง 5 ปี (ปี 2557-2561) ที่ 213.5 ล้านตัน ทำให้คาดว่า ราคามันสำปะหลังในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 อาจทรงตัวระดับต่ำอยู่ในกรอบ 1.7-1.8 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกับ 2.02 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 โดยคาดว่า ภาพรวมราคามันสำปะหลังทั้งปี 2562 จะยังให้ภาพที่ไม่สดใสนักเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1.9 บาทต่อกิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 20.1 (YoY) จากปัจจัยฉุดด้านความต้องการจากจีนที่ชะลอลงเป็นหลัก 

ดังนั้น จึงนับเป็นโจทย์ท้าทายของรัฐบาลในการจัดการแก้ปัญหาด้านผลผลิตของมันสำปะหลังในระยะสั้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 เพื่อป้องกันการลุกลามของโรคใบด่างอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้กระทบต่อความเสียหายของผลผลิตมันสำปะหลังในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 จากการที่โรคใบด่างมันสำปะหลังน่าจะมีแนวโน้มการระบาดที่มีความรุนแรงมากขึ้น จนอาจกระทบต่อภาพรวมปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2563 โดยเฉพาะในจังหวัดที่ติดกับประเทศกัมพูชา เช่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ และบางอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา โดยอาจต้องอาศัยความต่อเนื่องของมาตรการด้านอุปทานที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ 

มาตรการทำลายต้นมันสำปะหลังที่ติดโรคใบด่างทิ้ง เพื่อสกัดการลุกลามของโรค โดยจ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบในอัตราไร่ละ 3,000 บาท หรือกิโลกรัมละ 1 บาท คิดจากผลผลิตต่อไร่ที่ 3,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ประสบปัญหาโรคใบด่าง 

การควบคุมการนำเข้าท่อนพันธุ์ที่ด่านนำเข้าให้ต้องมีการตรวจสอบโรคพืชอย่างละเอียด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ติดกับประเทศกัมพูชา 6 จังหวัดได้แก่ สระแก้ว จันทบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี  โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังในระบบน้ำหยด และโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ซึ่งเป็นแนวทางการบริหารจัดการมันสำปะหลังปี 2562

สำหรับในด้านของอุปสงค์หรือด้านการตลาด ก็ควรดำเนินการควบคู่ไปกับด้านอุปทาน โดยควรต้องเน้นไปที่การสร้างอุปสงค์ในประเทศให้เพิ่มขึ้น เพื่อลดสัดส่วนการส่งออกโดยเฉพาะในตลาดจีนที่มีแนวโน้มชะลอลง ด้วยการนำผลผลิตมันสำปะหลังมาแปรรูปเพื่อยกระดับสู่ผลิตภัณฑ์อาหารที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านความร่วมมือของทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน อันจะเป็นการสอดรับกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการต่อยอดสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น ตามแนวทาง "เมืองนวัตกรรมอาหาร" หรือ Food Innopolis ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่รัฐบาลดำเนินอยู่และมีแนวโน้มการตอบรับที่ดีอย่างผลิตภัณฑ์สแน๊กจากมันสำปะหลังที่เป็น Product Champions คือ มันอบกรอบ และวาฟเฟิลกรอบ ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการช่วยพยุงราคามันสำปะหลังไม่ให้ตกต่ำ และให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้เพิ่มขึ้น 

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯอาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็น การให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

บรรณานุกรม

[1] มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส Cassava Mosaic Virus โดยการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังจะทำลายผลผลิตมันสำปะหลังได้มากถึงร้อยละ 80-100 ของผลผลิตมันสำปะหลังทั้งหมดที่ปลูก นับเป็นโรคที่ร้ายแรงของมันสำปะหลัง ซึ่งสาเหตุหลักของการแพร่ระบาดมาจากการนำท่อนพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคใบด่างที่มีเชื้อไวรัสมาปลูก และมาจากแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรค และเมื่อแมลงหวี่ขาวไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นต่อไป ก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายและระบาดไปยังพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังได้อย่างรวดเร็ว (ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) 
[2] USDA (คาดการณ์ ณ มิถุนายน 2562)

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Sunday, 21 July 2019 05:59
ชนารดี ชัยศิริเมฆินทร์

Author : เกาะติดข่าวเกษตร วิถีของเกษตรพอเพียงแนวทางสู่ความยั่งยืน เกษตรผสมผสาน ทฤษฎีแห่งการใช้น้ำ การเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธ์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เครื่องมือเครื่องจักรเกษตร ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM