IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
ไม่ว่าจะเป็น โครงหลังคาเหล็ก หรือ โครงหลังคาสำเร็จรูป สามารถออกแบบสำหรับการมุงหลังคาด้วยวัสดุต่าง ๆ ได้ทุกประเภท หากแต่ควรเลือกใช้ให้เข้ากับการใช้งาน และรูปแบบหลังคาอย่างเหมาะสมด้วย ในการทำงานทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม ผลสำเร็จของงานที่ต้องการก็คืองานที่มีคุณภาพ ในเรื่องของงานก่อสร้างผลลัพธ์ที่ควรต้องได้และต้องมี นอกจากเรื่องของความสวยงามแล้ว ยังมีเรื่องที่มองไม่เห็นเมื่องานเสร็จก็คือเรื่องของความแข็งแรง และประสิทธิภาพของการใช้งานด้วย
ซึ้งถัดจากการก่อสร้างโครงสร้างหลักในงานก่อสร้าง ลำดับต่อไปคือการขึ้นโครงหลังคาซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน ถึงแม้จะมีไว้เพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคาและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เท่านั้น
แต่หากโครงหลังคาไม่แข็งแรงเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นขนาดที่เหมาะสม รวมถึงการเชื่อมต่อยึดติดให้แน่นหนา แน่นอนว่าจะส่งผลต่อผืนหลังคาตั้งแต่ปัญหาการรั่วซึมเล็กน้อยไปจนถึงอันตรายสูงสุดคือพังทลายลงมา
โครงหลังคาที่ใช้กันมากในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น “โครงหลังคาเหล็ก” ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความแตกต่างด้านคุณสมบัติ มาตรฐาน และการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ก็มีอยู่พอสมควร การเลือกใช้จึงควรพิจารณาตามความเหมาะสมของหลังคาแต่ละรูปแบบ
สำหรับโครงหลังคาเหล็กที่ใครหลาย ๆ คนคุ้นเคยดีกับรูปแบบหน้าตัดเหล็กต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เหล็กกล่อง และเหล็กรูปตัวซี ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านค้าเหล็กรูปพรรณต่าง ๆ จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้รับเหมา และช่างที่ชำนาญในงานเหล็ก เพราะเมื่อขาดเหลือระหว่างการทำงานก็วิ่งจัดหามาทำงานต่อได้ไม่ยาก แต่สิ่งหนึ่งที่ควรระวังคือเรื่องคุณภาพของเหล็ก เนื่องจากเหล็กที่หาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป
เนื่องจากว่าในความเป็นจริงแล้วเหล็กที่กำหนดในแบบก่อสร้างนั้น สำหรับประเทศไทย (อาจจะเป็น Thailand Only) ได้มีการผลิตเหล็กที่ไม่ได้ขนาดมาตรฐานจำหน่ายอยู่ทั่วไป เรียกกันว่าเป็นเหล็กไม่ได้ มอก. เหล็กเบาบ้าง หรือเหล็กไม่เต็มบ้าง หมายความว่าเป็นเหล็กที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดน้อยกว่ามาตรฐานกำหนด ยกตัวอย่างเช่น เหล้กข้ออ้อยมาตรฐากำหนดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 20 มิลลิเมตร แต่จะมีเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 มิลลิเมตร ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบากว่าเหล็กมาตรฐาน จึงเรียกกันว่าเหล็กเบาหรือเหล็กไม่เต็ม และนอกจากขนาดจะไม่ได้แล้ว คุณสมบัติการรับแรงดึงของเหล็กชนิดดังกล่าวก็มักจะไม่ได้มาตรฐานเช่นกัน ผู้รับเหมาที่ไม่มีคุณภาพก็จะสั่งเหล็กชนิดนี้มาใช้งาน
ส่วนหล็กที่เราใช้ทำหลังคาเรียกว่า "เหล็กรูปพรรณ" ซึ่งมักจะใช้ทำโครงหลังคาได้ดี หรือก่อสร้างโครงสร้างเป็นผนังก็ได้ ตามร้านค้าวัสดุก่อสร้างก็จะมีขนาดบางกว่ามาตรฐาน ตัวอย่างเช่น มาตรฐานต้องมีความหนา 2.3 มิลลิเมตร แต่ที่วางขายจะมีความหนาเพียง 1.8-2 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งหากนำมาใช้เป็นโครงหลังคาก็อาจจะทำให้เมื่อมุงกระเบื้องไปแล้วเกิดการแอ่นตัวได้ และที่เป็นเรื่องที่ประหลาดไปกว่านั้นคือว่าร้านค้าส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะขายแต่เหล็กที่ไม่ได้ขนาดทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าต้องการเหล็กที่ได้มาตรฐานก็อาจจะไม่มีจำหน่าย! แต่ใช่ว่าจะหาไม่ได้ เพราะร้านค้าใหญ่ๆ ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายวัสดุก่อสร้างก็จะมีเหล็กที่ได้มาตรฐานจำหน่ายอยู่ครับ
ส่วนใหญ่เหล็กในตลาดนั้น มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ หรือเหล็กที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่เรียกกันว่า “เหล็กเบา” ซึ่งมีราคาประหยัด แต่มีประสิทธิภาพในการรับแรงด้อยกว่าเหล็กตามมาตรฐานที่เรียกว่า “เหล็กเต็ม” พอสมควร ดังนั้นจึงควรตรวจสอบเหล็กที่นำมาใช้ทำโครงหลังคา โดยสังเกตที่เครื่องหมาย มอก. หรือเครื่องหมายแสดงมาตรฐานอื่นๆ เช่น ASTM, BSI, JIS ฯลฯ ซึ่งจะระบุอยู่ที่เหล็กแต่ละท่อน ในประเทศไทยผู้รับเหมาจะหาซื้อเหล็กไม่ได้มาตรฐานได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า การหาซื้อเหล็กที่ได้มาตรฐานชะอีก
ส่วนเรื่องการติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก จะเป็นการติดตั้งหน้างานทั้งหมด และต้องอาศัยความชำนาญของช่างที่มีประสบการณ์มากพอสมควร จึงจะได้งานเชื่อมติดตั้งเหล็กที่แข็งแรง การเชื่อมเหล็กแต่ละท่อนให้ติดกันแบบที่เรียกว่า “การเชื่อมเต็ม” เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากไม่แพ้คุณภาพของเหล็ก โดยในขั้นตอนแรกของการเชื่อมเหล็กโครงหลังคาจะเป็น “การเชื่อมแต้ม” เพื่อยึดเหล็กแต่ละท่อนไว้ก่อนคร่าว ๆ เผื่อมีการแก้ไขจะได้เคาะแนวรอยเชื่อมเพื่อขยับตำแหน่งเหล็กได้ หลังจากนั้นจึงจะทำการเชื่อมเต็มหน้าตัดเหล็ก ซึ่งผู้ควบคุมงานควรตรวจสอบรอยเชื่อมทุกจุดว่าหนาแน่นเป็นเกล็ดปลาเรียบร้อยดีหรือไม่ โดยเจ้าของโครงการก็สามารถช่วยตรวจสอบในเบื้องต้นเองได้
ผู้รับเหมาที่ดีในการก่อสร้าง ต้องยึดมั่นในมาตรฐานของวัสดุ และกระบวนการขั้นตอนในการทำงานเป็นหลัก เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ ได้มาตรฐาน ตรงตามแบบ และมีความปลอดภัย สนใจสอบถามเรื่องการก่อสร้าง ต่อเติม ปรับปรุง รีโนท ฯลฯ โปรดติดต่อ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด รพีพลก่อสร้าง 2010
RPP 168 ENGINEER TEAM
103/8 ถนนสมัคสรรพาการ ต.แม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก 63110
Tel 090-136 0857
"รพีพลก่อสร้าง 2010" ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้างทั่วไป เราคือผู้ชำนาญด้านการก่อสร้างทุกด้าน รับเหมาสร้างโรงงาน รับสร้างโกดัง รับสร้างคลังสินค้า รับปรับปรุง-รีโนเวทโรงงาน รับสร้างอาคารสำนักงาน รับสร้างบ้าน คอนโด ที่พักอาศัย ทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ โดยใช้ระบบบริหารจัดการโครงการแบบมืออาชีพ ประกอบไปด้วยทีมผู้รับเหมา ทีมช่าง และทีมออกแบบที่มีประสบการณ์ พร้อมกับทีมวิศวกรจากสาขาต่างๆที่จะคอยตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามหลักสากล เราสามารถส่งมอบงานได้ตรงต่อเวลา บริการดี ซื่อสัตย์ จริงใจ ไม่ทิ้งงานนได้ตรงต่อเวลา บริการดีจริงใจ ไม่ทิ้งงาน
หากท่านมีความต้องการหาผู้รับเหมาสร้างโรงงาน รับเหมาก่อสร้าง รับเหมาต่อเติม รับสร้างโรงงาน อาคารสำนักงาน บ้าน คอนโด โกดัง คลังสินค้า และที่อยู่อาศัยทุกประเภท หรือต้องการปรึกษาเรื่องการวางแผนการก่อสร้าง ต้องการหาผู้รับเหมาร่วมประมูลงานก่อสร้างในโครงการของท่าน เราพร้อมและยินดีให้บริการลูกค้าทุกท่านด้วยความจริงใจ บริษัทฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความไว้วางใจจากท่านให้เราเป็นผู้ดำเนินการสร้างความพึงพอใจให้แก่ท่านเหมือนดังทุกผลงานที่เราได้สร้างสำเร็จมา