IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ตามกฎกระทรวง การกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559
หมวด 2 แสงสว่าง ข้อ ๔ "นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกําหนด"
ทั้งนี้ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561) ดังนี้
ตารางที่ ๑ มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ
บริเวณพื้นที่และ/หรือลักษณะงาน |
ลักษณะพื้นที่เฉพาะ |
ตัวอย่างบริเวณพื้นที่ และ/หรือลักษณะงาน |
ค่าเฉลี่ยความเข้ม ของแสงสว่าง (ลักซ์) |
จุดที่ความเข้มของ แสงสว่างต่ำาสุด (ลักซ์) |
บริเวณพื้นที่ทั่วไปที่มีการสัญจรของบุคคลและ/หรือ ยานพาหนะในภาวะปกติ และบริเวณที่มีการสัญจรใน ภาวะฉุกเฉิน |
ทางสัญจรในภาวะ ฉุกเฉิน |
ทางออกฉุกเฉิน เส้นทางหนีไฟ บันไดทางฉุกเฉิน |
๑๐ |
– |
(กรณีเกดิเหตุฉุกเฉินไฟดบัโดยวดัตามเส้นทางของ ทางออกที่ระดับพื้น) |
||||
ภายนอกอาคาร |
ลานจอดรถ ทางเดิน บันได |
๕๐ |
๒๕ |
|
ประตูทางเข้าใหญ่ของสถานประกอบกิจการ |
๕๐ |
– |
||
ภายในอาคาร |
ทางเดิน บันได ทางเข้าห้องโถง |
๑๐๐ |
๕๐ |
|
ลิฟท์ |
๑๐๐ |
– |
||
บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ทั่วไป |
ห้องพักฟื้นสาหรับการปฐมพยาบาล ห้องพักผ่อน |
๕๐ |
๒๕ |
|
ป้อมยาม |
๑๐๐ |
– |
||
– ห้องสุขา ห้องอาบน้า ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า – ห้องลอบบี้หรือบริเวณต้อนรับ |
๑๐๐ |
๕๐ |
||
โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร ห้องตรวจรักษา |
๓๐๐ |
๑๕๐ |
||
บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในสานักงาน |
– ห้องสานักงาน ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย ห้องสืบค้นหนังสือ/เอกสาร ห้องถ่ายเอกสาร ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม บริเวณโต๊ะประชาสัมพันธ์ หรือติดต่อลูกค้า พื้นที่ห้องออกแบบ เขียนแบบ |
๓๐๐ |
๑๕๐ |
บริเวณพื้นที่และ/หรือลักษณะงาน |
ลักษณะพื้นที่เฉพาะ |
ตัวอย่างบริเวณพื้นที่ และ/หรือลักษณะงาน |
ค่าเฉลี่ยความเข้ม ของแสงสว่าง (ลักซ์) |
จุดที่ความเข้มของ แสงสว่างต่ำาสุด (ลักซ์) |
บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตหรือการ ปฏิบัติงาน |
ห้องเก็บวัตถุดิบ บริเวณห้องอบหรือห้องทาให้แห้งของ โรงซักรีด |
๑๐๐ |
๕๐ |
|
– จุด/ลานขนถ่ายสินค้า |
๒๐๐ |
๑๐๐ |
||
-บริเวณเตรียมการผลติ การเตรียมวัตถุดิบ -บริเวณพื้นที่บรรจุภณั ฑ์ -บริเวณกระบวนการผลติ/บริเวณที่ทางานกับเครื่องจักร -บริเวณการก่อสร้างการขดุเจาะการขุดดิน – งานทาสี |
๓๐๐ |
๑๕๐ |
ตารางที่ ๒ มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทางาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน
การใช้สายตา |
ลักษณะงาน |
ตัวอย่างลักษณะงาน |
ค่าความเข้มของแสง สว่าง (ลักซ์) |
งานหยาบ |
งานที่ชิ้นงานมีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้อย่าง ชัดเจน มีความแตกต่างของสีชัดเจนมาก |
– งานหยาบที่ทาที่โต๊ะหรือเครื่องจักร ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กว่า ๗๕๐ ไมโครเมตร (๐.๗๕ มิลลิเมตร) – การรีดเส้นด้าย |
๒๐๐ – ๓๐๐ |
งานละเอียดเล็กน้อย |
งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกกลาง สามารถมองเห็นได้ และมีความแตกต่างของสีชัดเจน |
– งานรับจ่ายเสื้อผ้า |
๓๐๐ – ๔๐๐ |
งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถ มองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสี ปานกลาง |
– งานประจาในสานักงาน เช่น งานเขียน งานพิมพ์ งานบันทึกข้อมูล การอ่านและ ประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บแฟ้ม – งานประกอบรถยนต์และตัวถัง |
๔๐๐ – ๕๐๐ |
การใช้สายตา |
ลักษณะงาน |
ตัวอย่างลักษณะงาน |
ค่าความเข้มของแสง สว่าง (ลักซ์) |
– การคัดเกรดแป้ง |
|||
งานละเอียดปานกลาง |
งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถ มองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีบ้าง และต้องใช้สายตาในการทางานค่อนข้างมาก |
– งานระบายสี พ่นสี ตกแต่งสี หรือขัดตกแต่งละเอียด – งานพิสูจน์อักษร |
๕๐๐ – ๖๐๐ |
– งานออกแบบและเขียนแบบ โดยไม่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ – งานตรวจสอบอาหาร เช่น การตรวจอาหารกระป๋อง |
๖๐๐ – ๗๐๐ |
||
งานละเอียดสูง |
งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อย ต้องใช้สายตา ในการทางานมาก |
– การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ ๒๕ ไมโครเมตร (๐.๐๒๕ มิลลิเมตร) |
๗๐๐ – ๘๐๐ |
งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อย ต้องใช้สายตา ในการทางานมากและใช้เวลาในการทางาน |
– การตรวจสอบ การตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือ |
๘๐๐ – ๑,๒๐๐ |
การใช้สายตา |
ลักษณะงาน |
ตัวอย่างลักษณะงาน |
ค่าความเข้มของแสง สว่าง (ลักซ์) |
งานละเอียดสูงมาก |
งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ อย่างชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อยมากหรือมี สีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้สายตาเพ่งในการทางานมาก และ ใช้เวล าในการท างานระ ยะ เวล านาน |
– งานละเอียดที่ทาที่โต๊ะหรือเครื่องจักร ชิ้นงานที่มีขนาดเล็กกว่า ๒๕ ไมโครเมตร (๐.๐๒๕ มิลลิเมตร) – งานตรวจสอบและตกแต่งชิ้นส่วนของสิ่งทอ สิ่งถักท่ีมีสีเข้มด้วยมือ – การตรวจสอบและตกแต่งผลิตภัณฑ์สีเข้มและสีอ่อนด้วยมือ |
๑,๒๐๐ – ๑,๖๐๐ |
งานละเอียดสูงมากเป็น พิเศษ |
งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีความ แตกต่างของสีน้อยมากหรือมีสีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้ สายตาเพ่งในการทางานมากหรือใช้ทักษะและความ ชานาญสูง และใช้เวลาในการทางานระยะเวลานาน |
– การปฏิบัติงานตรวจสอบชิ้นงานที่มีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ |
๒,๔๐๐ หรือมากกว่า |
ตารางที่ ๓ มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์) บริเวณโดยรอบที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทางาน โดยสายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน
พื้นที่ ๑ |
พื้นที่ ๒ |
พื้นที่ ๓ |
๑,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ มากกว่า ๒,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ มากกว่า ๕,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ มากกว่า ๑๐,๐๐๐ |
๓๐๐ / ๖๐๐ / ๑,๐๐๐ / ๒,๐๐๐ |
๒๐๐ / ๓๐๐ / ๔๐๐ / ๖๐๐ |
หมายเหตุ :
พื้นที่ ๑ หมายถึง จุดที่ให้ลูกจ้างทางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน
พื้นที่ ๒ หมายถึง บริเวณถัดจากที่ที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทางานในรัศมีที่ลูกจ้างเอื้อมมือถึง
พื้นที่ ๓ หมายถึง บริเวณโดยรอบที่ติดพื้นที่ ๒ ที่มีการปฏิบัติงานของลูกจ้างคนใดคนหนึ่ง
การตรวจวัดความเข้มแสงสว่าง
ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีดาเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ ได้กาหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการใน สภาวะที่เป็นจริงของสภาพการทางาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
กรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการผลิต วิธีการทำงาน หรือการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยน แปลงระดับความร้อน แสงสว่าง หรือการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ให้นายจ้าง ดำเนินการจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานฯ เพิ่มเติมภายใน 90 วัน นับจากวันที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง
ให้ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างในสถานประกอบกิจการทุกประเภทกิจการ โดยให้ตรวจวัด "บริเวณพื้นที่ทั่วไป" บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ ในกระบวน การผลิตที่ลูกจ้างทำงาน และบริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน ในสภาพการทำงานปกติและในช่วงเวลาที่มีแสงสว่างตามธรรมชาติน้อยที่สุด การตรวจวัดความเข้มแสงสว่างภายในอาคาร วิธีการตรวจวัด โดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ วัดที่จุดทำงาน และวัดแบบค่าเฉลี่ยของพื้นที่ทั่วไป
1. การวัดแบบจุด (Spot Measurement )
เป็นการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างบริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตาเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยุ่กับที่ในการทำงาน ตรวจวัดในจุด ที่สายตากระทบชิ้นงานหรือจุดที่ทำงานของคนงาน (Point of Work) โดยวางเครื่องวัดแสงในแนวระนาบเดียวกับชิ้นงาน หรือพื้นผิวที่สายตา ตกกระทบ แล้วอ่านค่าค่าที่อ่านได้นำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียงพ.ศ. 2549 หมวด 2 แสงสว่าง ข้อ 5 (3), (4), (5)
2. การวัดแสงเฉลี่ยแบบพื้นที่ทั่วไป (Area Measurement)
เป็นการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างในบริเวณพื้นที่ทั่วไปภายในสถานประกอบกิจการ เช่นทางเดิน และบริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวน การผลิตที่ลูกจ้างทางานการตรวจวัดแบบนี้สามารถทำได้สองวิธี คือ
1. แบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 2 x 2 ตารางเมตร โดยถือเซลรับแสงในแนวระนาบสูงจากพื้น 30 นิ้ว (75 เซนติเมตร) แล้วอ่านค่า (ในขณะที่วัดนั้นต้องมิให้เงาของผู้วัดบังแสงสว่าง) นำค่าที่วัดได้มาหาค่าเฉลี่ย
2. หากการติดหลอดไฟฟ้ามีลักษณะที่แน่นอนซ้ำๆ กัน สามารถวัดแสงในจุดที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีแสงตกกระทบในลักษณะเดียวกัน ตามวิธีการวัดแสงและการคำนวณค่าเฉลี่ย ของ IES Lighting Handbook 1981 (Reference Volume) ] หรือเทียบเท่า
ความส่องสว่างและความสว่าง
1.1.1 ความส่องสว่าง (อิลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่กระทบลงบนวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร หรือ ลักซ์ (ถ้าหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางฟุต ความส่องสว่างก็เป็น ฟุตแคนเดิล)
1.1.2 ความสว่าง (ลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร ปริมาณแสงที่เท่ากันเมื่อตกกระทบลงมาบนวัตถุที่มีสีต่างกันจะมีปริมาณแสงสะท้อนกลับต่างกัน นั่นคือ ลูมิแนนซ์ ต่างกัน สาเหตุที่ต่างกันก็เนื่องมาจากสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของวัสดุต่างกัน
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบค่าความสว่างในอาคารตามมาตรฐาน CIE ,IES หน่วยเป็น ลักซ์
พื้นที่ต่างๆ | CIE | IES |
ห้องประชุม | 300-500-750 | 200-300-500 |
ห้องเขียนแบบ | 500-750-1000 | 500-750-1000 |
ห้องทำงานทั่วไป | 300-500-750 | 200-300-500 |
ห้องคอมพิวเตอร์ | 300-500-750 | 200-300-500 |
ห้องสมุด | 300-500-750 | 200-300-500 |
ร้านค้าในอาคารพานิช | 500-750 | 500-750-1000 |
เคาน์เตอร์ | 200-300-500 | 200-300-500 |
ห้องเก็บของ | 100-150-200 | 100-150-200 |
ห้องลอบบี้หรือบริเวณต้อนรับ | 100-150-200 | 100-150-200 |
ห้องน้า | 100-150-200 | 100-150-200 |
ทางเดิน | 50-100-150 | 100-150-200 |
บันได | 100-150-200 | 100-150-200 |
ลิฟท์ | 100-150-200 | 100-150-200 |
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบค่าความสว่างในโรงงานตามมาตรฐาน CIE ,IES
พื้นที่ต่างๆ | CIE | IES |
งานทั่วไป/Ex. warehouse / งานประกอบทั่วไป | 150-200-300 | 200-300-500 |
งานหยาบ / Ex..งานประกอบชิ้นส่วน ทั่วๆไป | 200-300-500 | 500-750-1000 |
งานละเอียดปานกลาง / Ex.งานประกอบชิ้นส่วนขนาดเล็ก | 300-500-750 | 1000-1500-2000 |
งานละเอียด / Ex.งานประกอบ ชิ้นส่วนขนาดเล็กมาก | 500-750-1000 | 2000-3000-5000 |
งานละเอียดมาก/Ex.งานประกอบชิ้นส่วนขนาดพิเศษ | 1000-1500-2000 | 5000-7500-10000 |
สนใจปรึกษาและใช้บริการคำนวนแสงฟรี โปรดติดต่อ
บริษัท ธนโรจน์ ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด
THANAROJ LIGHTING & EQUIPMENT COMPANY LIMITED
785 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
TEl : 02-295 0894-5, 089-174 1417, 084-264 2969
Id Line : audy_petashop