IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
คนขับรถตัดอ้อย ไหว้บวงสรวงรถตัดอ้อย ด้วยหัวหมู ผลไม้ ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นการบอกกล่าวหลังการใช้งาน และขอบคุณที่ทุกอย่างมีความราบรื่น สำเร็จ ก่อนนำรถกลับเข้าสู่โรงงานน้ำตาลและอ้อยตะวันออก
ฤดูกาลหีบอ้อยของ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) ได้ปิดหีบลงแล้ว โดยเดิมทีการประกาศฤดูกาลหีบอ้อยของบริษัทประจำปี 2566/2567 ได้เริ่มฤดูกาลเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 และจะสิ้นสุดการรับคิวอ้อย ทั้งโรงงานวังสมบูรณ์ และ โรงงานวัฒนานคร ในวันที่ 17 มีนาคม 2567 แต่เนื่องจากหลายวันที่ผ่านมามีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้พี่น้องเกษตรกรไม่สามารถนำส่งอ้อยเข้าหีบได้ตามกำหนดเวลา บริษัทได้ตระหนักถึงปัญหา จึงได้เลื่อนการหยุดรับคิวอ้อยและเลื่อนวันปิดหีบ โดยหยุดเลื่อนรับคิวอ้อยที่โรงงานวังสมบูรณ์ มาเป็นวันที่ 20 มีนาคม 2567 และได้หีบอ้อยหมดเสร็จสิ้นและปิดหีบ ในวัน 24 มีนาคม 2567 เมื่อวานที่ผ่านมา
นายกิตติศักดิ์ วัธนเวคิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ ESC เปิดเผยว่า การหีบอ้อยฤดูกาลนี้ราบรื่นไม่มีอะไรติดขัดเลย เครื่องมือเครื่องจักรก็ทำงานได้ดีไม่มีเสีย ไม่มีช่วงที่ระบบการทำงานต้องหยุดชะงักเลย คิวการรับอ้อยก็ไม่มีปัญหา ปริมาณและคุณภาพอ้อยก็มีมาตรฐานที่ดี ทางบริษัทฯ ขอขอบคุณทุกฝ่าย ขอขอบคุณพี่น้องชาวไร่อ้อย สมาคมชาวไร่อ้อยทั้ง 2 สมาคม ตลอดจนหน่วยงานราชการ, ชุมชน, พันธมิตรและผู้มีส่วนได้เสียทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันทำงานในฤดูการหีบอ้อย 2566/2567 นี้
"ปุ๋ยตราต้นอ้อย" ผลิตโดย บริษัท เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด และจัดจำหน่ายโดย บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมากมาย อาทิช่น ปุ๋นอินทรีย์เคมี ปุ๋ยผสม รวมไปถึงวัสดุปรับปรุงดิน โดยจำหน่ายในราคาถูก เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรเป็นสำคัญ
โดยต่อไปก็จะกลับเข้าสู่ฤดูกาลปลูกอ้อย ทางบริษัทฯ ก็จะมุ่งมั่นส่งเสริมให้ความช่วยเหลือในทุกมิติให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเช่นเดิม ทั้งการส่งเสริมเรื่องเทคโนโลยีความรู้ การให้คำปรึกษา หรือให้ความช่วยเหลือเรื่องปุ๋ยราคาถูก โดยราคาปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกวัน และมีแนวโน้มแม่ปุ๋ยจะขาดตลาด ถ้าชาวไร่ท่านไหนต้องการใช้ปุ๋ย ราคาปุ๋ยตราต้นอ้อยยังยืนหยัดตรึงราคา และลดราคาเมื่อรวมกลุ่มกันแล้วซื้อจำนวนมาก เพื่อเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้สามารถประหยัดต้นทุนในการปลูกอ้อยได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ฤดูกาลหีบอ้อยปีนี้ ทางบริษัทได้มุ่งมั่นดำเนินการรณรงค์ส่งเสริมเรื่องการหยุดเผาอ้อยอย่างเข้มข้น เฉกเช่นกับหลายๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่งทางบริษัทได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด โดยมุ่งมั่นอย่างเป็นระบบในการดำเนินการผลิตน้ำตาลทรายคุณภาพ ด้วยการใส่ใจในประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ จนได้รับรางวัล ENERGY GLOBE 2022 (The most important Award for Sustainability worldwide – The Green Fully Integrated Energy Business for Sugar Industry) เป็นรางวัลอันทรงเกียรติระดับโลก (รับมอบในปี 2023) ที่แสดงให้เห็นว่า กลุ่มบริษัทน้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรด้านอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ประกอบธุรกิจ โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ได้ร่วมมือกับหน่วยงานราชการและสมาคมชาวไร่อ้อย ร่วมกันทำกิจกรรมรณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่นภาคตะวันออก ปี 2567 ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรแปลงใหญ่ ได้จัดสถานีการเรียนรู้ ในการทำอ้อยสะอาดลดการเผา สนับสนุนรถตัดอ้อย เครื่องมือการเกษตรในการทำอ้อยสะอาด ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆของกลุ่มบริษัท
โดยในช่วงต้นฤดูกาลหีบอ้อย กลุ่มบริษัทน้ำตาลและอ้อยตะวันออก ได้ร่วมมือกับหน่วยงานราชการและสมาคมชาวไร่อ้อย ร่วมกันทำกิจกรรมรณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่นภาคตะวันออก ปี 2567 ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรแปลงใหญ่ โดยเฉพาะเน้นในพื้นที่ปลูกอ้อย ณ ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ที่มีปัญหาการเผาอ้อยมาตลอด โดยกิจกรรมในงานกลุ่มบริษัทน้ำตาลและอ้อยตะวันออก ได้จัดสถานีการเรียนรู้ ในการทำอ้อยสะอาดลดการเผา สนับสนุนรถตัดอ้อย เครื่องมือการเกษตรในการทำอ้อยสะอาด ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆของกลุ่มบริษัทน้ำตาลและอ้อยตะวันออก มีนายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดงานณณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่นภาคตะวันออก ปี 2567 โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร
นายประกอบ คณูวัฒนา (ขวา) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ผู้อำนวยการโรงงาน, ESC และ นายปริญญา โพธิสัตย์ (ซ้าย) ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ในงาน "รณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่น ภาคตะวันออก ปี 2567" ที่จัดโดยสำนักงานเกษตร จังหวัดสระแก้ว
นายประกอบ คณูวัฒนา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ผู้อำนวยการโรงงาน บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากปัญหามลพิษควัน ฝุ่นละออง ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ การ "เผาอ้อย" ของเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ เป็นอีกต้นเหตุหนึ่งของปัญหานี้ด้วย บริษัทฯ พร้อมช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้ลดการเผาอ้อย มาช่วยกันทำอ้อยสะอาดลดการเผา โดยบริษัทจะสนับสนุนรถตัดอ้อย เครื่องมือการเกษตรในการทำอ้อยสะอาด ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ของกลุ่มบริษัทน้ำตาลและอ้อยตะวันออก เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรสามารถหยุดการเผาอ้อยได้
จากการที่บริษัทฯ มุ่งรณรงค์มาหลายปีต่อเนื่อง ปัจจุบันพี่น้องชาวไร่อ้อยหลายรายเริ่มเปลี่ยนมาตัดอ้อยสด ไว้ใบคลุมดินกันมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการทำไร่อ้อยสมัยใหม่ ที่เน้นการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยทำงานในไร่อ้อย ผสมผสานกับหลักการทำไร่รูปแบบใหม่ที่เน้นการออกแบบแปลงให้รองรับการทำงานของเครื่องจักร โดยเฉพาะรถตัดอ้อย เพื่อช่วยให้มิตรชาวไร่ตัดอ้อยสดได้อย่างสะดวก รวดเร็วทันใจ และได้อ้อยที่มีคุณภาพส่งเข้าโรงงาน
อย่างไรก็ดี ยังมีเกษตรกรอีกเป็นจำนวนมากที่เผาอ้อยก่อนตัด แม้จะทราบดีว่ารถตัดอ้อยสามารถทำงานได้เร็วกว่า และข้อดีของการตัดอ้อยสดมีมากกว่า แต่ด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ ลักษณะพื้นที่ไม่อำนวยให้รถตัดอ้อยเข้าทำงาน ทำให้เกิดความเสียหายระหว่างการเก็บเกี่ยวเพราะไม่ได้ออกแบบแปลงอ้อยรองรับการทำงานของรถตัดตั้งแต่แรก รวมไปถึงการที่เกษตรกรได้รับโควต้าจากโรงงานน้ำตาล ทำให้ต้องรีบเก็บเกี่ยวอ้อยเพื่อส่งโรงงานให้ทันเวลาที่กำหนด ดังนั้น เมื่อหาแรงงานตัดอ้อยสดไม่ได้ ก็จำเป็นต้องเผาไร่อ้อย เพื่อให้ตัดได้ทันตามกำหนด ถึงแม้เป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อความผิดทางกฎหมาย แต่ก็จำเป็นต้องทำ
ซึ่งการเผาอ้อยก่อนตัด ไม่เพียงจะก่อปัญหามลภาวะ ยังทำให้อินทรียวัตถุในดินน้อยลง ดินทึบแน่นขึ้น ดินไม่อุ้มน้ำ ซ้ำการเผายังทำให้ไร่อ้อยไม่มีใบคลุมดิน วัชพืชขึ้นได้ง่าย เพื่อมาแย่งอาหารของอ้อย ทำให้ตออ้อยแคระแกร็น แถมบรรดาแมลงศัตรูอ้อยยังสามารถบินมาวางไข่ เติบใหญ่เป็นหนอน ชอนไชไปทำลายตออ้อยได้ง่ายขึ้น
ข้อเสียของการตัดอ้อยมีมากหมาย เช่น การเผาใบอ้อยทาให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกลุ่มหมอกควัน ทำให้บ้านเรือนสกปรกจากฝุ่นละอองเถ้าที่ปลิวมาตกตามอาคารบ้านเรือน การสูญเสียน้ำหนักของอ้อยไฟไหม้จะสูญเสียน้ำหนักมากกว่าอ้อยตัดสด การสูญเสียคุณภาพความหวานของอ้อย จะมีค่า C.C.S. ลดลงมาก แต่การตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้จะช่วยชะลอการลดลงของ C.C.S. ได้ การสูญเสียน้ำตาลในขบวนการผลิต อ้อยไฟไหม้จะสูญเสียน้ำตาลซูโครสโดยจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมาในน้ำอ้อย ทำให้ซูโครสเปลี่ยนเป็นเด็คแทรน มีลักษณะเมือกเหนียว ทำให้กระบวนการผลิตน้ำตาล เช่น การทำให้ใส การกรอง และการตกผลึก มีประสิทธิภาพลดลง ทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อต้นอ้อยน้อยลงและเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น
"การส่งอ้อยไฟไหม้เข้าโรงงานนั้น ปัญหาสำคัญคือ ด้านคุณภาพอ้อย จะพบว่าในสภาพอากาศร้อนการเผาอ้อยก่อนตัดทำให้ความหวานของอ้อยลดลงวันละ 2.3% ขณะที่การตัดอ้อยสดความหวานจะลดลงวันละ 1.6% ซึ่งต่างกันถึง 40% เลยทีเดียว โดยพบว่าเมื่อเผาอ้อย ลำอ้อยเมื่อโดนความร้อนสูงลำจะแตก น้ำอ้อยจะเยิ้มซึมออกมา เชื้อโรคจะเข้าไปใช้น้ำตาลในลำอ้อยเป็นอาหาร ทำให้คุณภาพอ้อยลดลง และเชื้อจุลินทรีย์ยังไปสร้างสารเหนียวซึ่งไปขัดขวางกระบวนการผลิตน้ำตาลในโรงงาน ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำน้ำตาลมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าโรงงานจะหักค่าความหวานและหักค่าอ้อยไฟไหม้อีกด้วย นั่นหมายถึงเงินที่ได้รับก็ลดน้อยลง"
นอกจากนี้ยังมีเรื่องผลกระทบต่อการค้าน้ำตาลของไทยในตลาดโลกในอนาคต อาจทำให้ถูกกีดกันการค้าจากมาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลกก็เป็นไปได้สูง
บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) ได้มุ่งมั่นเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตน้ำตาลทรายคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนตามแผนงานมาโดยตลอด ด้วยประสบการณในอุตสาหกรรมน้ำตาลกว่า 60 ปี เพื่อจัดจำหน่ายให้ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยบริษัทได้สร้างสรรค์การผลิตด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีอันทันสมัย ระบบอัตโนมัติ (Distributed Control System : DSC) รวมถึงใส่ใจในประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการใช้พลังงานให้คุ้มค่าทุกกระบวนการอีกด้วย
ทั้งนี้ ESC ถือเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาล ด้วยการสร้างสรรค์ธุรกิจอย่างมีประสิกทธิภาพ โดยยึดหลักแนวคิด Full Integrated System ด้วยการนำผลิตภัณฑ์เหลือใช้จากการผลิตน้ำตาลทรายกลับมาใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดแบบครบวงจร ทั้งธุรกิจผลิตไฟฟ้า เอทานอล ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี โดยนำชานอ้อยที่ผ่านกระบวนการหีบอ้อยและก๊าซชีวภาพที่เกิดจากการผลิตเอทานอลมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงงานและจำหน่ายให้การไฟฟ้าอีกด้วย
ทั้งนี้ ESC ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องหลายบริษัท โดยที่ผ่านมาได้รับรางวัลคุณภาพหลากหลาย อาทิ รางวัลโรงงานน้ำตาลดีเดีนติดต่อกันหลายปี จนสามารถนำองค์กรเข้าสู่ระบบบริหารคุณภาพมาตรฐานสากล และนำเกษตรกรชาวไร่อ้อยเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากลเป็นเกษตรกรกลุ่มแรกของโลก รวมทั้งได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในโรงงานน้ำตาลเพียง 8 แห่งที่ได้รัรบรองมาตรฐาน Bonsurco อีกด้วย
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังสร้างสรรค์อุตสาหกรรมพลังงานและอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจผลิตน้ำตาลครบวงจร รวมถึงยังมีการส่งเสริมการปลูกอ้อยแบบ Smart Farm อีกด้วย ด้วยการมีพื้นที่สีเขียวมากกว่า 120 ไร่และมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งเสริมชาวไร่อ้อยตลอดฤดูกาลผลิต รวมถึงมีการสนับสนุนชาวไร่อ้อยอย่างครบวงจรด้วยการสนับสนุนปุ๋ยและเงินสดล่วงหน้า รวมถึงพัฒนาการปลูกอ้อยที่มีประสิทธิภาพ ทั้งพันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกและเครื่องมือในการเก็บเกี่ยว รวมทั้งระบบชลประทานอีกด้วย
สิ่งสำคัญของการผลิตน้ำตาลที่มีคุณภาพคงความเป็นมาตรฐานสากลของบริษัทคือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย มีธรรมาธิบาล และดูแลปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยระบบการผลิตที่ปราศจากของเสีย รวมถึงพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง พร้อมดูแลผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับ รวมทั้งการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชาวไร่อ้อย ชุมชนรอบด้าน และบุคลากรของบริษัทฯ ให้เติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน
โดยธุรกิจของ ESC ประกอบด้วย
- ธุรกิจน้ำตาล เพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ทั้งน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายสีรำ น้ำตาลทราดิบไฮโพล น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
- ธุรกิจก๊าซชีวภาพ โดย บริษัท อีเอส ไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (ESB) ผลิตก๊าซชีวภาพด้วยน้ำกากส่าจากกระบวนผลิตเอทานอลมาผ่านกระบวนการหมัก ลดความชื้นและปรับปรุงคุณภาพ แล้วจึงจำหน่ายไปยัง ESP เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตเอทานอล
- ธุรกิจกระแสไฟฟ้า จากเอทานอลเพื่อจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อย 55 เมกะวัตต์ จากก๊าซชีวภาพ 4.8 เมกะวัตต์
- ธุรกิจเอทานอล โดย บริษัท อี เอส เพาเวอร์ จำกัด ผลิตเอทานาลเพื่อเป็นพลังงานทดแทนโดยเน้นการใช้พืชผลทางการเกษตรภายในประเทศ มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ Alfa Laval จากประเทศสวีเดน ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านการผลิตเครื่องจักรกล และวิศวกรรมการผลิตเอทานอลจากโมลาส ด้วยการใช้ระบบการผลิตแบบต่อเนื่องสมบูรณ์แบบ (Fully Continuous)
- ธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์เคมีและวัสดุปรับปรุงดิน โดย บริษัท เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (ESIA) จากผลผลิตของการหมักกากหม้อกรอง และน้ำ Vinasse ที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทรายและการผลิตก๊าซชีวภาพของ ESC และ ESB ตามลำดับ วัสดุปรับปรุงดินมีธาตุอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของพืชที่สูง จึงเหมาะแก่การนำมาผสมกับปุ๋ยเคมีเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี หรือสามารถขยายให้เกษตรกรเพื่อนำไปช่วยปรับปรุงดินได้ ธาตุอาหารในวัสดุปรับปรุงดินมีอยู่หลายชนิด ซึ่งรวมถึง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซี่ยม อินทรีย์วัตถุ ซึ่งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีช่วยลดจะสามรถช่วยลดปัญหาจากการใช้ปุ๋ยเคมีที่ก่อให้ดินเป็นกรดซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกในระยะยาว
ทีมงาน ESRD ของ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดิน เพื่อตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน โดยมีผู้ใหญ่วรัญญา จันทร์ศิริ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 บ้านหนองป่าหมาก ต.ห้วยโจด อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ร่วมเก็บตัวอย่าง
แม้ฤดูกาลหีบอ้อยจะปิดตัวลงเกือบ 100% แล้วในปลายเดือนมีนาคมนี้ แต่งานฤดูกาลใหม่ก็กำลังจะเริ่มต้นขึ้น โดยทางบริษัทเริ่มลงพื้นที่ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือ ทั้งเรื่องเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องจักร ปุ๋ย การปรับปรุงดิน ฯลฯ แก่เกษตรกร รวมถึงชุมชนในพื้นที่ ตลอดจนการซ่อมแซมปรับปรุงเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในโรงงาน ทั้งนี้ ตอนนี้บริษัทฯ มีความประสงค์จะขายวัสดุคงเหลือ จากการรื้อถอน ประเภท เศษเหล็ก, สแตนเลส, เศษอลูซิงค์, ขี้กลึงเหล็ก โดยผู้สนใจสามารถติดต่อเข้าไปดูดูสิ่งของได้ที่ ณ โรงงาน บมจ.น้ำตาลและอ้อยตะวันออก อ.วัฒนานคร จ. สระแก้ว...ติดต่อคุณวาสิตา อ่อนทรง โทรศัพท์ : 034-264510 ต่อ 7116 ภายในวันที่ 26 มีนาคม 2567
บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) ต.วังใหม่ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว ได้นำวัสดุปรับปรุงดิน (กากน้ำตาล) จำนวน 43,030 กิโลกรัม มาถวายแก่ทางวัดเพื่อใช้เป็นส่วนผสมทำปุ๋ยหมัก โดยทางบริษัทมีนโยบาลส่งเสริมสนับสนุนชุมชนมาโดยตลอด ด้วยสโลแกน "อยู่ที่ไหน ที่นั่นเจริญ และมีความสุข"