IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
ประเทศไทยเป็นผู้นำในการผลิตน้ำมันถั่วเหลืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนำเข้าถั่วเหลืองจากประเทศสหรัฐอเมริกามากเป็นอันดับ 2 ผู้นำเข้าถั่วเหลืองในปัจจุบันได้พยายามเพิ่มความโปร่งใสในการซื้อวัตถุดิบที่มีความยั่งยืน การปรับปรุง SSAP โดย สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (USSEC) จะช่วยให้ผู้นำเข้าชาวไทยบันทึกการจัดหาถั่วเหลืองยั่งยืนจากอเมริกา และใช้บันทึกการซื้อเพื่อเป็นเครื่องยืนยันและรายงานความคืบหน้าของเป้าหมาย ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล) ของตน ผู้นำเข้าถั่วเหลืองจะได้รับใบรับรองในชื่อของตนเอง และพวกเขาสามารถโอนสิทธิ์ในใบรับรองให้ลูกค้า โดยใบรับรองสามารถโอนสิทธิ์ได้เป็นจำนวน 4 ครั้ง
ในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวไทยมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาซื้อ ข้อมูลจากงานวิจัย Mintel Consulting Sustainability Barometer เผยว่า ผู้บริโภคชาวไทยเกือบครึ่ง (42%) กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในปัญหาหลักด้านสิ่งแวดล้อม 3 อันดับแรก และผู้บริโภคยังคาดหวังให้แบรนด์และผู้ผลิตแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยผู้บริโภคมากกว่าหนึ่งในสาม (33%) เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยืนยันว่าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า
เราได้พยายามอยู่ตลอดเวลา ในการพัฒนาวิธีการในการสนับสนุนพวกเขาเพื่อยืนยันความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ของพวกเขา และลูกค้าในประเทศไทยสามารถโอนใบรับรองให้กันได้ในปัจจุบัน
สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกาได้เริ่มใช้ SSAP ในปี 2556 เพื่อพิสูจน์ความมุ่งมั่นในการทำตามความสำคัญที่ลูกค้าอยากได้ SSAP เป็นการรับรองโดยบุคคลที่ 3 และเป็นการยืนยันความยั่งยืนของการผลิตถั่วเหลืองระดับประเทศ ระบบนี้ได้ออกแบบมาเพื่อรักษาปริมาณของถั่วเหลืองที่ผ่านการตรวจสอบความยั่งยืนแล้วในการโอนแต่ละครั้ง และมีการนำการคำนวณทางอุตสาหกรรมมาใช้ในระบบอีกด้วย โดยองค์กรที่มีหน้าที่ออกและติดตามใบรับรองคือ บริษัท U.S. Soy Export Sustainability
ในช่วงปี 2564 ถึง 2565 ตลาดในประเทศไทยได้นำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 1.1 ล้านตัน โดยประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ของการจัดส่งถั่วเหลืองมายังประเทศไทยนั้นมีการใช้ใบรับรอง SSAP สำหรับเมล็ดถั่ว รัฐบาลไทยยังมีความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเป็นจำนวน 20-25 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2573 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของถั่วเหลืองยั่งยืนในระยะสั้น และในระยะยาวนั้น การเปลี่ยนแปลงนี้อาจช่วยเพิ่มความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนของลูกค้าในประเทศไทยอีกด้วย
นอกจากนี้ การใช้ถั่วเหลืองในประเทศไทยที่มากที่สุดนั้นเกิดขึ้นในตลาดการค้าไก่ (มีการใช้ถั่วเหลือง 3.376 ล้านตัน ในปี 2564) ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกไก่อันดับ 4 ของโลก และมีการส่งออกไก่ไปยังสหภาพยุโรปเป็นจำนวนมาก และ SSAP จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรับรองห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนเป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป
ภายใต้แนวทางของ SSAP ปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพความยั่งยืนของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จะมีความยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ SSAP ยังครอบคลุมถึงการตรวจสอบฟาร์มโดยบุคคลที่สาม ซึ่งก็คือกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (USDA) SSAP ได้รับผลเชิงบวกจากการตรวจสอบแนวทางการจัดหาถั่วเหลืองของ European Feed Association (FEFAC) ผ่านการตรวจสอบขององค์กรอิสระ International Trade Centre (ITC) SSAP ยังได้รับรางวัลจาก Consumer Goods Forum ในด้านแนวทางการจัดหาถั่วเหลืองที่มีความยั่งยืน และได้รับรางวัล การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยอดเยี่ยมจาก Global Seafood Alliance อีกด้วย
SSAP ได้รับรองการส่งออกถั่วเหลืองเป็นจำนวนมากกว่า 100 ล้านตันในปี 2557-2564 ผู้ปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกาได้สร้างนวัตกรรมใหม่อยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อถั่วเหลืองยั่งยืน และรายงานของ USSEC พบว่าผู้ซื้อถั่วเหลืองในภูมิภาคเอเชียเหนือและยุโรปนั้นได้ขอออกใบรับรอง SSAP เป็นจำนวนเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ของการซื้อขายทั้งหมด
นอกจากนี้ สภาส่งออกถั่วเหลืองได้รับผลการตรวจประเมินในระดับ FSA Silver จากการตรวจประเมิน Farm Sustainability Assessment (FSA) 3.0 ของ Sustainable Ag Initiative (SAI). FSA ให้การรับรองแนวทางโดยรวมของ SSAP ซึ่งช่วยยืนยันความยั่งยืนของการผลิตถั่วเหลืองในระดับประเทศสำหรับผู้ปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งการประกาศการรับรองได้เกิดขึ้นในงาน Soy Connext การประชุมสุดยอดถั่วเหลืองซึ่งจัดโดยสภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา
Abby Rinne Director of Sustainability ของ สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (แฟ้มภาพ)
“ผู้ปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกานั้นมีความมุ่งมั่นอันแข็งแกร่งในการพัฒนาความยั่งยืน และเราได้พยายามอยู่ตลอดเวลา ในการพัฒนาวิธีการในการสนับสนุนพวกเขาเพื่อยืนยันความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ของพวกเขา และ SSAP ได้ช่วยทำในสิ่งที่เรากล่าวมา และในตอนนี้ SSAP นั้นได้รับการปรับปรุงเป็นใบรับรองที่สามารถโอนสิทธิ์ได้ และลูกค้าในประเทศไทยสามารถโอนใบรับรองให้กันได้ในปัจจุบัน” Abby Rinne Director of Sustainability ของ สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าว
เกี่ยวกับ สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (USSEC)
สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (USSEC) มุ่งเน้นการสร้างความแตกต่าง ยกระดับความพึงพอใจ และจัดหาตลาดสำหรับถั่วเหลืองจากประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อการบริโภคของมนุษย์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการใช้เป็นอาหารสัตว์ใน 80 ประเทศทั่วโลก โดยห่วงโซ่อุปทานของถั่วเหลืองนั้นประกอบไปด้วยสมาชิกของ USSEC เช่น ผู้ปลูกถั่วเหลือง ผู้แปรรูป ผู้ส่งสินค้า ผู้ขายสินค้า พันธมิตรธุรกิจการเกษตร และ องค์การด้านการเกษตร USSEC ได้รับทุนจากเงินที่เก็บจากสมาชิก ทุนสนับสนุนจาก USDA Foreign Agricultural Service (FAS) และทุนสนับสนุนจากอุตสาหกรรมถั่วเหลือง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันของถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกา ข่าวเกี่ยวกับ USSEC และข่าวเกี่ยวกับถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกาได้ที่ www.ussec.org. และ U.S. Soy solutions