IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
คณะนักวิจัยจากศูนย์วิจัย Beltsville Human Nutrition Research Center สังกัดหน่วยงานวิจัยทางการเกษตร (ARS) กระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานจากมะม่วงหิมพานต์[1] และมีการเผยแพร่ผลการศึกษาทางวารสาร Nutrients เมื่อไม่นานมานี้
อาสาสมัคร 18 คนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ได้เข้าร่วมการศึกษาระยะเวลา 9 สัปดาห์ โดยอาสาสมัครได้รับประทานอาหารที่มีการควบคุม เสริมด้วยมะม่วงหิมพานต์ (42 กรัม/วัน) ในช่วงเวลา 4 สัปดาห์ และรับประทานอาหารที่มีการควบคุมโดยไม่เสริมมะม่วงหิมพานต์ในช่วงเวลาอีก 4 สัปดาห์ โดยในสัปดาห์สุดท้ายของแต่ละช่วงได้มีการเก็บตัวอย่างอาหาร รวมถึงตัวอย่างอุจจาระและปัสสาวะของอาสาสมัครทั้ง 18 คน เพื่อวิเคราะห์โปรตีน ไขมัน และพลังงาน คณะนักวิจัยจึงสามารถระบุพลังงานที่ย่อยได้ที่แท้จริงของมะม่วงหิมพานต์
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มะม่วงหิมพานต์ให้พลังงาน (แคลอรี) ต่ำกว่าที่มีการระบุในฉลากอาหารและในฐานข้อมูลต่างๆของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงฐานข้อมูลสารอาหารแห่งชาติเพื่อการอ้างอิงมาตรฐาน ถึง 16%
ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวต้องมีการแก้ไขเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลพลังงานที่ถูกต้อง ปัจจุบัน พลังงานของมะม่วงหิมพานต์ที่แสดงบนฉลากอาหารอยู่ที่ 163 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภค ขณะที่คณะนักวิจัยของ USDA พบว่า พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของมะม่วงหิมพานต์ 28 กรัม (1 ออนซ์) อยู่ที่ 137 กิโลแคลอรี
ขณะเดียวกัน อีกหนึ่งผลการศึกษาที่เพิ่งเผยแพร่ทางวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition ได้สรุปไว้ว่า การรับประทานมะม่วงหิมพานต์ 42 กรัม/วัน ไม่ทำให้ระดับคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ LDL เพิ่มขึ้น[2] นอกจากนั้นยังพบว่า การรับประทานมะม่วงหิมพานต์ 42 กรัมทุกวัน เพิ่มเติมจากอาหารตะวันตกทั่วไป อาจช่วยลดเอนไซม์ PCSK9 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการขจัดคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดีจากเลือด
การศึกษาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Global Cashew Council และ INC International Nut and Dried Fruit Council
ทั้งนี้ ผลการวิจัยดังกล่าว ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค ทำให้มีแนวโน้มการบริโภค "มะม่วงหิมพานต์" มากขึ้น ซึ่งส่งผลด่อเกษตรกรผู้ปลูก
อ้างอิง
[1] Baer, D., & Novotny, J. (2019). Metabolizable Energy from Cashew Nuts is Less than that Predicted by Atwater Factors. Nutrients, 11(1), 33.
[2] Baer, D. J., & Novotny, J. A. (2019). Consumption of cashew nuts does not influence blood lipids or other markers of cardiovascular disease in humans: a randomized controlled trial. The American Journal of Clinical Nutrition, 109(2), 269-275.
ที่มา: INC International Nut and Dried Fruit Council