January 21, 2025

TU โชว์ยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เร่งลงทุนเพิ่มอีก 6พันล้านบาท

“บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)” (TU) โชว์ยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 3.8 หมื่นล้านบาท พร้อมผลักดันธุรกิจสู่อุตสาหกรรมอาหารทะเลของโลกด้วยการปรับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® เดินหน้าเตรียมลงทุนกว่า 6,000 ล้านบาท รองรับการขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซียและปากีสถาน

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เปิดเผยว่า  จากการรายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 2 ของบริษัทฯมียอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก และตอกย้ำความเชื่อใจและความนิยมในสินค้าของบริษัทจากผู้บริโภคทั่วโลก ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา TU ได้รายงานยอดขาย 38,946 ล้านบาท สูงขึ้น 8.5 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และยังสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย โดยมีปัจจัยหลักจากความต้องการสินค้าและราคาขายที่เพิ่มสูงขึ้น กำไรสุทธิจากการดำเนินงานปรกติประจำไตรมาสก่อนหักรายการพิเศษที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของหุ้นบุริมสิทธิ์ใน เรด ล็อบสเตอร์ สืบเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นจำนวน 424 ล้านบาท และ ค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างโรงงาน รูเก้น ฟิช ในประเทศเยอรมันจำนวน 195 ล้านบาท อยู่ที่ 2,243 ล้านบาท ลดลง 8.4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้ไทยยูเนี่ยนซึ่งมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่พัฒนาจากศูนย์นวัตกรรมของเรา ยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นด้วยแบรนด์ต่างๆ ของเราที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วโลก

ไทยยูเนี่ยนและชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี โฟรเซ่น ฟู้ดส์ ประกาศความร่วมมือกับบริษัท ISH Food Companyผู้นำในการผลิตโปรตีนจากพืชในอเมริกาเหนือ โดยเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดระบบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในแบบใหม่ โดยได้จดทะเบียนการค้านวัตกรรมที่เรียกว่า Whole System Approach™ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช โดยพิจารณาทุกขั้นตอน ตั้งแต่ดิน น้ำ ไปจนถึงการนำอาหารเสิร์ฟบนโต๊ะ โดยตั้งคำถามว่าทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สอดรับคาดการณ์ตลาดโปรตีนจากพืชเติบโตมากกว่า 1,000 เปอร์เซ็นต์ในอีก 10 ปีข้างหน้า

โดยผลงานยอดขายที่ยอดเยี่ยมของบริษัทฯในไตรมาสที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์ของบริษัทที่เน้นการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย ทำให้เกิดสมดุลระหว่างหน่วยธุรกิจหลักทั้ง 3 ธุรกิจ โดยธุรกิจอาหารทะเลบรรจุกระป๋องมียอดขายเติบโตขึ้น 10.7 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 16,912 ล้านบาท จากปัจจัยของราคาที่สูงขึ้น บวกกับการอ่อนตัวของค่าเงินบาท และความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น สำหรับธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็น มียอดขายปรับตัวลดลง 6.5 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ 13,900 ล้านบาท จากธุรกิจร้านอาหารในสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวสู่สภาวะปกติ หลังจากฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2564

สำหรับธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า ยังคงทำผลงานได้ดีเยี่ยม โดยยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 41.7 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ 8,133 ล้านบาท จากความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงที่สูงขึ้นมาก การปรับตัวขึ้นของราคาสินค้า และยอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและบรรจุภัณฑ์ที่สูงขึ้น สำหรับผลประกอบการในครึ่งปีแรก ยอดขายอยู่ที่ 75,217 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปรกติอยู่ที่ 3,911 ล้านบาทลดลง 12.7 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม TU ยังประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลที่ 0.40 บาทต่อหุ้น

“ด้วยธุรกิจของไทยยูเนี่ยนที่มีความหลากหลาย ทำให้เป็นพื้นฐานที่มั่นคงในการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเรา ส่งผลให้ผลประกอบการในไตรมาส 2 ของบริษัทยังคงทำผลงานได้ดีแม้จะมีรายการพิเศษสองรายการ นอกจากนี้ ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้ไทยยูเนี่ยนซึ่งมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่พัฒนาจากศูนย์นวัตกรรมของเรา ยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นด้วยแบรนด์ต่างๆ ของเราที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วโลก”

ทั้งนี้ TU ยังคงให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องกับธุรกิจที่ให้ผลกำไรในอัตราที่สูง โดยในไตรมาส 2 บริษัทได้ประกาศลงทุน 10 ล้านเหรียญแคนาดา ใน บริษัท มาร่า รีนิวเอเบิลส์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตส่วนประกอบอาหารจากสาหร่ายไมโครแอลจีด้วยนวัตกรรมที่โดดเด่นเฉพาะตัว นอกจากนี้บริษัทยังเดินหน้าก่อสร้างโรงงานโปรตีนไฮโดรไลเสตและคอลลาเจน เปปไทด์ รวมถึงโรงงานผลิตอาหารพร้อมรับประทาน ซึ่งมีแผนแล้วเสร็จในปี 2566

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องมหาสมุทร แสดงความมุ่งมั่นในการดูแลมหาสมุทรให้อุดมสมบูรณ์ ร่วมกับบริษัทเอกชน 150 แห่ง เพื่อลงนามใน UN Global Compact Sustainable Ocean Principles หรือหลักการมหาสมุทรที่ยั่งยืนโดยข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ

ในส่วนของการทำงานด้านความยั่งยืน TU ได้ตีพิมพ์รายงานความยั่งยืนประจำปี ฉบับที่ 9 โดยมีเนื้อหาเชิงลึกเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ของบริษัทที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของโลก และมีแผนจะมีการปรับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® ครั้งใหญ่ภายในปีนี้ ซึ่งจะรวมถึงการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกโดยอิงหลักวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets) เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนยังได้เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องมหาสมุทร ณ เมืองกัสไกส์ ประเทศโปรตุเกส และลงนามใน UN Global Compact Sustainable Ocean Principles หรือหลักการมหาสมุทรที่ยั่งยืนโดยข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ ร่วมกับบริษัทเอกชน 150 แห่ง เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดูแลมหาสมุทรให้อุดมสมบูรณ์

“ไทยยูเนี่ยนยังทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจและการเงินปี 2568 ได้ตรงตามเป้า อย่างไรก็ดีเราตระหนักดีว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมีความท้าทายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในหลายๆ ประเทศ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น และอุปสรรคในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารต้นทุนให้ได้ประสิทธิภาพ พัฒนาธุรกิจหลักอย่างต่อเนื่อง และสร้างการดำเนินงานที่เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ” นายธีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลกที่นำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ อร่อย และสร้างสรรค์ มาสู่ลูกค้าทั่วโลกมาเป็นกว่า 45 ปี ปัจจุบัน ไทยยูเนี่ยนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำของโลกและเป็นหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่าในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีเกินกว่า 141,000 ล้านบาท (4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และแรงงานทั่วโลกกว่า 44,000 คน ที่ทุ่มเทให้กับการบุกเบิกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

TU เป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ OMG MEAT เบลลอตต้า และมาร์โว่ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอาหารภายใต้แบรนด์ UniQ™BONE และ UniQ™DHA และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบรนด์ ZEAvita

ศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ของไทยยูเนี่ยนอินกรีเดียนท์ในจังหวัดสมุทรสาครเดินหน้าค้นคว้าการกลั่นน้ำมันโอเมก้า 3 ให้มีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้นสำหรับการผลิตเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอด จนส่งผลให้ไทยยูเนียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่ 8 ปีติดต่อกัน โดยในปี 2564 นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน

บริษัทมีความเชี่ยวชาญประสบการณ์กว่า 20 ปี ปัจจุบันมีโรงงานผลิตสินค้า 2 แห่ง คือ โรงงานมหาชัย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และ โรงงานระโนด ในจังหวัดสงขลา กำลังการผลิตอาหารสัตว์รวมเท่ากับ 288,000 ตันต่อปี แบ่งเป็น อาหารกุ้ง 168,000 ตันต่อปี อาหารปลา 90,000 ตันต่อปี และ อาหารสัตว์บก 30,000 ตันต่อปี อัตราการใช้กำลังการผลิต (Utilization Rate) อยู่ในระดับประมาณ 58-80%  โดยบริษัทฯ ยังมีได้ขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซีย โดยเข้าทำความร่วมมือทางการค้ากับพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม PT MSK ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจแปรรูปอาหารแช่แข็งรายใหญ่ และกลุ่ม AVANTI ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำ เพื่อลงทุนและจัดตั้ง TUKL ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซียดังกล่าว โดยบริษัทฯ PT MSK และกลุ่ม AVANTI (ถือหุ้นผ่าน AVANTI และ Srinivasa) มีสัดส่วนการถือหุ้นใน TUKL เท่ากับ 65%, 25% และ 10% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ TUKL ตามลำดับ ส่งผลให้ TUKL ถือเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ

ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์น้ำของบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ TFM

พร้อมกันนั้น จะขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศปากีสถาน โดยได้เข้าทำความร่วมมือทางการค้ากับ Strategic Partner คือ กลุ่ม AMG ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจอาหารสัตว์น้ำในประเทศปากีสถาน เพื่อลงทุนและจัดตั้ง AMG-TFM สัดส่วนการถือหุ้นเท่ากับ 51% และ 49% ช่วงแรกจะมุ่งเน้นในการผลิตและจำหน่ายอาหารปลาเป็นหลัก คาดว่า AMG-TFM จะต้องใช้เงินลงทุนในช่วงแรกสำหรับผลิตและจำหน่ายอาหารปลา กำลังการผลิตประมาณ 7,000 ตัน รวมประมาณ 340.0 ล้านรูปีปากีสถาน หรือประมาณ 69.6 ล้านบาท เป็นส่วนเงินลงทุนของบริษัทประมาณ 35.5 ล้านบาท โดยหลักจะเป็นเงินลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์และเป็นเงินทุนหมุนเวียน เนื่องจาก AMG-TFM มีแผนในการเช่าที่ดินและโรงงานจากบุคคลภายนอก



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 02 November 2022 11:59
ชนารดี ชัยศิริเมฆินทร์

Author : เกาะติดข่าวเกษตร วิถีของเกษตรพอเพียงแนวทางสู่ความยั่งยืน เกษตรผสมผสาน ทฤษฎีแห่งการใช้น้ำ การเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธ์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เครื่องมือเครื่องจักรเกษตร ฯลฯ

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM