November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

สศก. ถกแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์

สศก. จัด focus group เกษตรกร-พ่อค้าในพื้นที่ ถกแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตสินค้าอินทรีย์โลกในปัจจุบัน พบว่า จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเกษตรกรรมอินทรีย์ (The research institute of organic agriculture: FiBL) และสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (international federation of organic agriculture movements: IFOAM) ปี 2560 พบว่า พื้นที่เกษตรอินทรีย์ของโลกมีจำนวน 361.25 ล้านไร่ โดยพื้นที่ผลิตสินค้าส่วนใหญ่อยู่บริเวณโอเซเนียน (Oceania) (ออสเตรเลียและหมู่เกาะใกล้เคียง) มีพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ 47% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด รองลงมา คือ ยุโรป มีพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ 23% ลาตินเอมริกา 12% เอเชีย 9% อเมริกาเหนือ 6% และแอฟริกา 3% ซึ่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลกสร้างมูลค่าประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท

สำหรับประเทศไทย มีพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์อยู่ลำดับที่ 7 ของเอเชีย และมีการขยายพื้นที่ผลิตอินทรีย์อย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน ซึ่งจากการเก็บข้อมูลตั้งแต่ ปี 2543 พบว่าไทยมีพื้นที่ผลิตอินทรีย์ 10,524 ไร่ และเพิ่มขึ้นเรื่อยมาจนปี 2560 มีพื้นที่ผลิตอินทรีย์ 570,409ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ต่อปี) โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตข้าวอินทรีย์ร้อยละ 59 พืชไร่ ร้อยละ 15 และผัก/ผลไม้ผสมผสาน ร้อยละ 13 ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าจากการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ 1,817 ล้านบาท/ปี

อย่างไรก็ตาม แม้เกษตรอินทรีย์จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมดของไทยยังคงเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก หรือมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.41 เท่านั้น

เนื่องจากการทำเกษตรอินทรีย์จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนจึงจะได้รับการรับรองมาตรฐาน การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านเกษตรอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร การสร้างแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งอุปสรรคที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และภัยพิบัติต่างๆ ล้วนยังส่งผลให้เกษตรกรยังคงตัดสินใจผลิตสินค้าแบบทั่วไป

ด้านนายชาญชัย ศศิธร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สศท.8) กล่าวเสริมว่าหากพิจารณาถึงทิศทางการผลิตเกษตรอินทรีย์ พบว่า ยังประสบปัญหาในด้านโลจิสติกส์เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งทำให้คุณภาพของสินค้า ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดปลายทาง ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ในส่วนภูมิภาค จึงได้จัดสนทนากลุ่ม (focus group) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 โดยร่วมกับเกษตรกรผู้ผลิต ผู้แทนจากสถาบันเกษตรกร/ผู้รวบรวมผลผลิต พ่อค้าคนกลาง จำนวนกว่า 30 ราย เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการโลจิสติกส์สินค้าอินทรีย์ในพื้นที่ โดย สศท. 8 ได้เน้นสินค้ามะพร้าวอินทรีย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ พบว่า ด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรยังประสบปัญหาเรื่องระยะเวลาการขอมาตรฐานซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน ทั้งมาตรฐาน Organic Thailand รวมถึงการพัฒนาไปสู่มาตรฐานUSDA IFOAM ของต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในการขอรับรองมาตรฐาน นอกจากนี้ เกษตรกรบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการยื่นขออนุมัติมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงมาตรฐาน ในการแปรรูปสินค้า ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเสริมการให้ความรู้ในการขอใบรับรองมาตรฐานสินค้าแต่ละชนิด อีกทั้งภาครัฐควรสนับสนุนด้านงบประมาณในการขอรับมาตรฐานของสินค้าเกษตรอินทรีย์ของต่างประเทศสำหรับผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์

การจัดการด้านคลังสินค้า พบว่า เกษตรกรบางส่วนยังขาดองค์ความรู้ในเรื่อง know how ด้านการบริหารเงินทุน (ไม่กล้านำเงินทุนมาหมุนเวียน) รวมทั้งโรงงานในพื้นที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตให้กับแหล่งขายทั่วไปซึ่งเป็นเจ้าประจำ ดังนั้น ควรส่งเสริมโดยให้ความรู้เรื่องการบริหารเงินทุนหมุนเวียน การทำแผนการใช้เงิน และการกำหนดเป้าหมาย การหาช่องทางการตลาดในพื้นที่ เช่น โรงงานแปรรูปในชุมชน และการสร้างเครือข่าย เช่น กลุ่มมะพร้าวอินทรีย์ในพื้นที่ เป็นต้น ด้านการขนส่ง พบว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการขนส่งที่ค่อนข้างสูง จึงต้องพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ หรือสินค้าอินทรีย์ควรได้รับการลดหย่อนในเรื่องค่าขนส่ง และด้านการสูญเสียพบว่า การแปรรูปยังเป็นลักษณะแบบเดิม ไม่มีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตสินค้าจากส่วนที่เหลือ จึงควรสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาต่อยอด และความร่วมมือของทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย เพื่อให้ทุกส่วนของมะพร้าวแปรรูปและสามารถเพิ่มมูลค่าได้ต่อเนื่อง 

อย่างไรก็ตาม การสร้างฐานการผลิตในต่างประเทศ โดยพัฒนาร่วมกับคู่ค้าในแต่ละประเทศเป็นสิ่งสำคัญ ประกอบกับการขึ้นทะเบียน เกษตรกร ผู้ประกอบการ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ จะเป็นฐานข้อมูลในการเชื่อมโยงในเรื่องการจัดหา การขนส่ง และการตลาด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสินค้าอินทรีย์ของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการจัด focus group สศก. จะนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการโลจิสติกส์สินค้าอินทรีย์ต่อไป สำหรับท่านที่สนใจข้อมูล สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สศท.8 โทร. 037 311 373 หรือ อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Wednesday, 26 June 2019 16:11
ชนารดี ชัยศิริเมฆินทร์

Author : เกาะติดข่าวเกษตร วิถีของเกษตรพอเพียงแนวทางสู่ความยั่งยืน เกษตรผสมผสาน ทฤษฎีแห่งการใช้น้ำ การเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธ์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เครื่องมือเครื่องจักรเกษตร ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM