December 18, 2024

“เฮมพ์ (กัญชง)...พืชมหัศจรรย์”

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดเสวนา “ Hemp (กัญชง)...พืชมหัศจรรย์”

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดเสวนา “เฮมพ์ (กัญชง)...พืชมหัศจรรย์” ระหว่างวันที่ 5 - 6 กันยายน 2562 ณ ห้องราชพฤกษ์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ และ สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน ทั้งนี้มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานกว่า 300 คน

ภายในงานยังมีการบรรยายพิเศษเรื่อง “ภาพรวมทิศทางการวิจัยเฮมพ์ตามนโยบายทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง” โดย ดร.สริตา ปินมณี สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง พร้อมการเสวนาในหัวข้อต่าง ๆ จากวิทยาการมากความรู้อีกหลายท่าน หลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้ออื่น ๆ อาทิ

  • ทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัยเฮมพ์ในอนาคต

  • การปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์

  • การใช้ประโยชน์จากเมล็ดกัญชงเพื่อเป็นอาหาร

  • งานวิจัยเฮมพ์ทางทหาร(ชุมทหารจากเส้นใยเฮมพ์)

  • การใช้ประโยชน์จากเฮมพ์ทางการแพทย์

  • การใช้เฮมพ์สำหรับทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

  • กฎหมายเกี่ยวกับกับเฮมพ์ และโอกาสของเฮมพ์ในเชิงพาณิชย์

  • กระบวนการแปรรูปเส้นใยเฮมพ์ในเชิงอุตสาหกรรม

ในการเสวนา มีผู้ที่สนใจกัญชงเข้าร่วมกว่า 300 คน โดยได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในวันที่ 6 กันยายน 2562 ได้เดินทางต่อไปยังสถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง  จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเข้าเยี่ยมชมแปลงสาธิตการปลูกกัญชง ซึ่งตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรมทั้ง 2 วัน ทำให้ประชาชนได้เข้าใจถึงความสำคัญของกัญชงและตอบวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ที่ต้องการกำหนดแนวทางการพัฒนาเฮมพ์ร่วมกับหน่วยงานบูรณาการ วิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อม จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์การปลูกเฮมพ์และกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเฮมพ์เพื่อสร้างรายได้และเป็นอาชีพให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 12 September 2019 09:27
อนุทิพย์ ก่อเกิดทรัพย์ทวี

Author : เกาะติด รวบรวมข่าวและองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตร สาระน่ารู้เรื่องเกษตรทุกด้าน นับตั้งแต่ด้านพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต การอารักขา เครื่องจักรกลการเกษตร ตลอดถึงด้านการแปรรูป

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM