Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
Srivisal-strip-Glass & Plastic-Strip-Head

BGC ชูลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เปิดศูนย์ R&D เร่งต่อยอดธุรกิจใหม่ กางแผน 5 ปี ปักเป้าปี 68 รายได้พุ่ง 2.5 หมื่นล้าน

บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC ในเครือบางกอกกล๊าส ปรับกลยุทธ์เน้นการให้บริการด้วย 4 ปัจจัยหลัก การออกแบบ-พัฒนาผลิตภัณฑ์ ,คุณภาพระดับสากล ,ให้คำปรึกษากับลูกค้าในทุกโอกาส และการจัดเก็บและการจัดส่งสินค้า ควบคู่กับการพัฒนาทีมงานให้มีศักยภาพรอบด้าน เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร วางเป้าธุรกิจบรรจุภัณฑ์ มุ่งสู่การเป็น “โทเทิล แพคเกจจิ้ง โซลูชั่น” (Total Packaging Solution)

นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด เปิดเผยว่า แผนการลงทุนของบริษัทนับจากนี้ อยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องราคาซื้อกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับบรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศประมาณ 2-3 ดีล มูลค่าลงทุนรวมประมาณ 2-3 พันล้านบาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปอย่างเร็วที่สุดปลายปีนี้ หรือหากเลื่อนไปก็เป็นช่วงปี 2564 ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ว่าจะเป็นอย่างไร แนวโน้มยอดขายบรรจุภัณฑ์แก้ว ช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะพลิกกลับมาเป็นบวก หลังจากที่หดตัว 25% ในช่วงไตรมาส 2/63 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลาย ทำให้เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ผลักดันให้ยอดขายบรรจุภัณฑ์แก้วเริ่มฟื้นตัวขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ยอดขายรวมพลิกเป็นบวกได้มากนักในปีนี้ โดยคาดการณ์ว่ายอดขายรวมทั้งปี 2563 นี้ จะทรงตัวจากระดับ 1.13 หมื่นล้านบาทในปีก่อน หรือลดลงเล็กน้อย

ปัจจุบันแนวโน้มของยอดขายบรรจุภัณฑ์แก้วของบริษัทเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากภาครัฐคลายมาตรการล็อกดาวน์ จากที่ติดลบไปมากที่สุดในช่วงเดือนเม.ย.ที่ -30% เนื่องจากลูกค้าเริ่มกลับมาสั่งผลิตขวดแก้ว และขวดบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น หลังจากลูกค้าสามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้นกว่าในช่วงล็อกดาวน์ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และซอฟท์ดริ้งก์ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท ในขณะที่ตลาดลูกค้าต่างชาติก็ได้เริ่มทยอยกลับมาสั่งซื้อขวดแก้วและบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น

สำหรับการเข้าซื้อกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับบรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศถือเป็นการขยายการเติบโตของบริษัทและเป็นการกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจที่มีการกระจายฐานลูกค้าออกไปในหลากหลายประเทศมากขึ้น และบริษัทยังได้คาดหวังการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศมากกว่า 10% โดยที่ปัจจุบันกลุ่มลุกค้าหลักของบริษัทในต่างประเทศจะอยู่ในประเทศสหรัฐฯ 39% กลุ่มประเทศ CLMV 35% อินเดีย 10% ยุโรป 10% และออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ 6% ประกอบกับบริษัทมองถึงโอกาสในการขยายกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อต่อยอดเข้าไปขยายฐานลูกค้าในกลุ่มยาเวชภัณฑ์และอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและมีมาร์จิ้นสูง

โดยบริษัทจะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,489.24 ล้านบาท จากเดิม 3,472.22 ล้านบาท ด้วยการออกหุ้นใหม่ 403.4 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 5 บาท แบ่งการจัดสรร 245.1 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการเข้าซื้อหุ้น 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท บางกอกบรรจุภัณฑ์ จำกัด, บริษัท บีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด และ บริษัท กบินทร์บุรีกล๊าส อินดัสทรี จำกัด รวมถึงใช้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อเสริมสภาพคล่องและความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัท และเป็นแหล่งเงินทุนที่สำหรับแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการในอนาคต โดยการเพิ่มทุนในครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทและผู้ถือหุ้นของบริษัทอีกด้วย

สำหรับกลยุทธ์หลังจากนี้ บริษัทฯ ยังมองหาโอกาสเติบโตทั้งในธุรกิจใหม่ๆ ต่อยอดจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว และพลังงานหมุนเวียน ด้วยการวางเป้าธุรกิจบรรจุภัณฑ์ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “โทเทิล แพคเกจจิ้ง โซลูชั่น” (Total Packaging Solution)

ส่วนธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 300-400 เมกะวัตต์ ภายใน 5 ปี และบีจีซียังให้ความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจอย่างรอบด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาวต่อไป

กลยุทธ์ดังกล่าวจะเน้นการให้บริการใน 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. เน้นคุณภาพระดับสากล 3.ให้คำปรึกษากับลูกค้าในทุกโอกาส และ 4.การจัดเก็บและการจัดส่งสินค้า ควบคู่กับการพัฒนาทีมงานให้มีศักยภาพรอบด้าน เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร รวมถึงมุ่งขยายฐานการส่งออกให้กับลูกค้าที่มีอัตรากำไรดี เช่น กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาแพง กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยา เป็นต้น

“จากวิกฤติไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ บริษัทฯ มีลูกค้าในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้บริษัทฯ ต้องพร้อมรับมือในทุกสถานการณ์ รวมถึงวางแผนบริหารจัดการ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าอย่างดีที่สุด โดยในไตรมาสแรกของปี 2563 รายได้ของบริษัทฯ ยังคงเติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ในไตรมาสที่ 2 กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ อย่างธุรกิจเบียร์ มียอดขายลดลง เนื่องจากผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งตอนนี้ก็ได้มีการปลดล็อกมาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้น บริษัทฯ คาดว่าจะทำให้ยอดขายกลับมาดีขึ้น โดยในส่วนนี้บริษัทฯ จะต้องคอยติดตามและบริหารจัดการการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอย่างใกล้ชิด” นายศิลปรัตน์ กล่าว

ล่าสุดบริษัทฯได้เปิดตัวศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม Technology and Innovation Center (TIC) แห่งใหม่ ตั้งอยู่ภายในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นศูนย์กลางในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ และส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยและพัฒนา ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเพิ่มศักยภาพของบริษัทฯในการรองรับการพัฒนาโมเดลธุรกิจสู่ Total Packaging Solutions ที่จะสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายในช่วง 5 ปีนับจากนี้ 

นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กล่าวว่า "จากนโยบายบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ TIC จะเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาเทค โนโลยีและนวัตกรรม และเปิดรับความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำในไทยและต่างประเทศ เพื่อต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์และนวัตกรรมด้านกระบวนการผลิต ตอบสนองความต้องการตลาดและรองรับการพัฒ นาโมเดลธุรกิจเป็น Total Packaging Solutions

ปีนี้ BGC เตรียมเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจหลักอย่างบรรจุภัณฑ์แก้ว ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ ‘Bringing Good Value to Everyone Everyday’ หรือการเป็นผู้นำที่ส่งคุณค่าสู่ทุกคน ในทุกวัน ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ภายใต้พันธกิจที่จะส่งมอบคุณค่าสู่ทุกฝ่าย ทั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน รวมถึงสังคมและโลกของเรา อีกทั้งด้วยโมเดลธุรกิจที่มุ่งสู่การเป็น Total Packaging Solutions หรือผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร ด้วยกลยุทธ์การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition: M&A) ซึ่งจะสามารถสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว (Inorganic Growth) โดยเน้นการควบรวมแนวตั้ง (Vertical Integration) หรือลงทุนในบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกับบรรจุภัณฑ์แก้ว เพื่อให้ธุรกิจมีความครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจผลิตฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก ขวด PET หลอดพรีฟอร์ม ไปจนถึงกล่องกระดาษลูกฟูก โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะเติบโตกว่าเท่าตัว ภายใน 5 ปี จากรายได้ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 11,000 ล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาท ในปี 2568 ทั้งนี้ BGC มีแผนเข้าลงทุนล็อตแรกใน 2 บริษัท รวมเป็นเงินลงทุนประมาณ 1,650 ล้านบาท
  • บจ.บีจี แพคเกจจิ้ง (BGP) ผู้ผลิตฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก ขวด PET และหลอดพรีฟอร์ม (เข้าซื้อ 100%)
  • บจ.บางกอกบรรจุภัณฑ์ (BVP) ผู้ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก มีกำลังการผลิตประมาณ 5 หมื่นตันต่อปี (เข้าซื้อ 100%)

เส้นทางธุรกิจ BGC และเป้าหมายปี 2568

ธุรกิจหลักของบริษัทคือการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขวดแก้ว โดยมีกำลังผลิตรวม 5 โรงงาน ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี และครองส่วนแบ่งประมาณ 40% ของอุตสาหกรรมขวดแก้ว ถือเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ซึ่งฐานลูกค้าหลักคือเครือบุญรอดประมาณ 50% (4-5 แสนตัน) อีก 25% มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้น อาทิ กรีนสปอร์ต กระทิงแดง ไทยน้ำทิพย์ เป็นต้น อีก 10% เป็นลูกค้าทั่วไปในประเทศ และอีก 15-16% เป็นการส่งออกไปต่างประเทศทั้งเวียดนาม ออสเตรเลีย อินเดีย ยุโรป รวมถึงสหรัฐอเมริกา

สำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว บีจีซีได้เดินหน้าอัพเกรดโรงงานทั้ง 5 แห่งที่ จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดราชบุรี ด้วยกำลังผลิตรวม 3,495 ตันต่อวัน หรือประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ให้เป็นโรงงาน 4.0 ด้วยนวัตกรรม เช่น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อรับมือปัญหาขาดแคลนแรงงานและเพิ่มคุณภาพสินค้าไปพร้อมกัน รวมถึงตั้งเป้าลดการใช้แรงงานคนจาก 200 คนต่อเตา เหลือ 20-30 คน และจะพยายามให้เป็นโรงงานอัตโนมัติในอนาคต ส่วนคนงานจะยกระดับขึ้นเป็นผู้คุมเครื่องจักรแทน พร้อมขยายตลาดขวดแก้วบรรจุอาหารและการส่งออกให้มากขึ้น เนื่องจากมีสัดส่วนกำไรสูง โดยวางเป้ารายได้ส่งออกไว้ที่ 20% เพื่อบาลานซ์กับตลาดในประเทศต่อไป

อนึ่ง นอกจากเรื่องธุรกิจ การส่งเสริมสนับสนุนด้านการกีฬาก็เป็นปีที่ BG ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ เนื่องด้วยทีมฟุตบอล "บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" เป็นทีม ‘บลู แมชชีน’ หรือเครื่องจักรสีน้ำเงิน สร้างปรากฏการณ์สุดตลึงในวงการฟุตบอลไทย จากทีมตกชั้นสู่การเป็นแชมป์ไทยลีกในเวลา 2 ปี แชมป์ซึ่งถือเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยแรกของสโมสร และเป็นแชมป์ประวัติศาสตร์ของไทยพรีเมียร์ลีกเนื่องจากได้แชมป์เร็วที่สุด โดยที่ยังเหลือเกมการแข่งขันอีก 6 นัด โดยที่ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ยังมีโอกาสสร้างตำนานขั้นสุดยอดด้วยการคว้าแชมป์แบบไร้พ่าย นับว่าเป็นสโมสรที่ได้แชมป์ลีกสูงสุดของไทยเร็วที่สุดหลังใช้เวลาในการก่อตั้งสโมสรเพียงแค่ 12 ปีเท่านั้น ความสำเร็จนี้จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ และจะยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีกเมื่อหวนมองย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว พวกเขาอยู่ในจุดตกต่ำที่สุดถึงขั้นตกชั้นไปเล่นในระดับไทยลีก 2 ซึ่งหมายถึงพวกเขาใช้เวลา 1 ปีในการกลับมา และอีก 1 ปีสู่แชมป์ การคืนชีพที่ยิ่งใหญ่ราวกับนกฟีนิกซ์ที่เผาไหม้และกลับมีชีวิตใหม่จากเถ้าถ่านอีกครั้ง เกิดขึ้นได้ที่ผู้บริหารของสโมสรมีความตั้งใจจริงในการทำทีม ซึ่งวัดได้จากช่วงวิกฤตทีมตกชั้นที่มีจุดยืนชัดเจนในการรักษาแกนหลักของทีมเพื่อจะกลับมาเลื่อนชั้นให้ได้เร็วที่สุด และยังอนุมัติงบมากมายมหาศาลในการเสริมทัพผู้เล่น ทั้งๆ ที่เป็นช่วงที่สโมสรทุกแห่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนทำให้แฟนบอลไม่สามารถกลับเข้าสนามได้เหมือนยามปกติ ระหว่างนั้นทีมก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยการเปลี่ยนชื่อสโมสรใหม่จาก "บางกอกกล๊าส เอฟซี" มาเป็น "บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับท้องถิ่นมากกว่าจะยึดติดกับบริษัท (ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่แม้แต่ลีกจีนเองก็มีกฎแบบเดียวกันทำให้หลายๆ ทีมต้องเปลี่ยนชื่อกันยกใหญ่) เรียกได้ว่าเป็นการบริหารที่เริ่มต้นจากความรัก ความเข้าใจ และอยู่บนวิสัยทัศน์ที่ดี แน่นอนว่าความสำเร็จดังกล่าวส่งผลทางบวกต่อธุรกิจ และเพิ่มมูลค่าในแบรนด์ "BG" ในเวทีเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก เสริมการปั้นแบนด์สู่สากล ซึ่งสอดคล้องกับการตลาดของบริษัทที่มีการวางธุรกิจที่มีการกระจายฐานลูกค้าออกไปในหลากหลายประเทศ



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 22 April 2021 06:06
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM