IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
การออกแบบที่เน้นไม้เป็นหลักของสถาปนิก เคนโกะ คุมะ จะทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเหมือนอยู่บ้านอย่างแท้จริงในขณะที่ใช้ชีวิตอย่างหรูหรา PROSTYLE Sapporo Miyanomori เป็นผลงานการออกแบบของสถาปนิกชื่อดังระดับโลกอย่าง เคนโกะ คุมะ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากสไตล์ของเขาที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมไม้เข้ากับการออกแบบสมัยใหม่ เช่น สนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่นและสถานีรถไฟ JR East Takanawa Gateway ในขณะเดียวกัน PROSTYLE ก็มีความเชี่ยวชาญในการใช้ไม้จริงจากธรรมชาติมาตั้งแต่ก่อตั้ง ดังนั้น คุมะ และ PROSTYLE จึงมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างที่อยู่อาศัยที่ผู้อยู่สามารถมีชีวิตหรูหราท่ามกลางไม้ล้อมรอบ
อาคารที่อยู่อาศัยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถานที่อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติของมิยาโนะโมริ จะสร้างขึ้นตามความลาดชันของเนินเขาที่มีทัศนียภาพกว้างไกลของเมืองซัปโปโร PROSTYLE Sapporo Miyanomori ได้รับการออกแบบให้เป็นบ้านหลังใหญ่ 11 ชั้น 1 หลังที่ประกอบด้วยที่พักอาศัยส่วนตัวขนาดเล็ก ๆ รวมกัน ความอบอุ่นของไม้จริงตามธรรมชาติและการออกแบบของสถาปัตยกรรมจะทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเหมือนอยู่บ้านอย่างแท้จริง ซึ่งแตกต่างจากคอมเพล็กซ์ที่อยู่อาศัยทั่วไป
ผู้อยู่อาศัยจะได้สัมผัสกับความสุขของการถูกโอบล้อมด้วยไม้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยผนังด้านนอกจะทำด้วยไม้ซีดาร์ญี่ปุ่นจากฮอกไกโดจำนวนมากที่ตัดเพื่อการลดปริมาณต้นไม้ (*) ซึ่งเป็นไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Donan Sugi ขณะที่โครงสร้างสำหรับคอนกรีตจะใช้ไม้ที่ตัดเพื่อการลดปริมาณต้นไม้ที่ว่านี้เช่นเดียวกัน คอมเพล็กซ์ที่อยู่อาศัยแห่งนี้ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น โดยผสมผสานเทคนิคที่ท้าทายซึ่งไม่สามารถทำได้กับอาคารคอนโดมิเนียมในเมืองทั่ว ๆ ไป
(*) การตัดต้นไม้เพื่อลดปริมาณต้นไม้นั้นเป็นการตัดต้นไม้ที่เกาะกลุ่มใกล้กันมากเกินไปในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของป่า ซึ่งการตัดต้นไม้เพื่อลดปริมาณต้นไม้จะช่วยป้องกันดินถล่มและภาวะโลกร้อน
การออกแบบทางเข้าที่มีรสนิยมช่วยสื่ออารมณ์
ความอบอุ่นของไม้แทรกซึมเข้ามาในห้องนั่งเล่น ไม่ใช่เพียงการปูพื้นเท่านั้น แต่ยังมีส่วนหน้าอาคารที่มองเห็นได้จากหน้าต่าง
ระเบียงบนดาดฟ้าเหมาะสำหรับทำบาร์บีคิวในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน หรือนั่งดูดาวข้างฮีตเตอร์ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
เขตมิยาโนโมริดึงดูดความสนใจให้กับฮอกไกโด ด้วยความงดงามตามฤดูกาลและความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน
ในบรรดา 10 แขวงของเมืองซัปโปโร ลักษณะความเป็นเมืองของแขวงชูโอะนั้นเหนือกว่าที่อื่น เนื่องด้วยการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบนับตั้งแต่มีการบุกเบิกพื้นที่ นอกจากนั้น มิยาโนโมริยังเป็นพื้นที่ที่มีเสน่ห์เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของป่าดึกดำบรรพ์อันเงียบสงบและมีสัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครองระดับชาติ โดยต้องใช้เวลาเดินเท้า 6 นาทีไปยังสวนมารุยามะ หนึ่งในจุดชมดอกซากุระที่มีชื่อเสียงที่สุดในซัปโปโร ผู้อยู่อาศัยจะเพลิดเพลินไปกับความสวยงามของแต่ละฤดูกาล ไม่เพียงแค่จากที่บ้านของพวกเขาเท่านั้น แต่รวมถึงบริเวณโดยรอบด้วย
ขณะที่การคมนาคมในพื้นที่นั้นสะดวกมาก โดยสามารถเดินทางไปยังใจกลางเมืองซัปโปโรประมาณ 10 นาทีด้วยรถยนต์ และเดินทางด้วยรถไฟใต้ดินจากสถานีที่ใกล้ที่สุด (สถานีมารุยามะ-โคเอ็น) ไปยังสถานีโอโดริโดยใช้เวลาเพียง 6 นาที หรือ 44 นาทีไปยังสถานีสนามบินนิวชิโตเสะ
นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางวัฒนธรรมหลายแห่งที่สามารถขับรถไปได้ไม่ไกล คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับกีฬาฤดูหนาวประเภทต่าง ๆ รวมถึงสกีรีสอร์ทที่มีลานกระโดดสกีซึ่งเคยใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซัปโปโร ปี 2515
เว็บไซต์สำหรับสมาชิก (ให้บริการในภาษาอังกฤษและภาษาจีน)
ประวัติของสถาปนิก: เคนโกะ คุมะ
เคนโกะ คุมะ เป็นทั้งสถาปนิก ศาสตราจารย์ดีเด่น และศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ผลงานของเคนโซ แทนจ์ ในสนามกีฬาแห่งชาติโยโยงิสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวได้สร้างความประทับใจให้เขาอย่างมากในวัยเด็ก และทำให้เขาตัดสินใจแน่วแน่ที่จะเป็นสถาปนิก เขาก่อตั้ง Kengo Kuma and Associates ขึ้นในปี 2533 หลังจากทำหน้าที่เป็นนักวิจัยรับเชิญที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทั้งนี้ เขาได้ออกแบบสถาปัตยกรรมในกว่า 20 ประเทศและได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติมากมาย คุมะมุ่งมั่นที่จะสร้างสถาปัตยกรรมที่ผสานเข้ากับสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ โดยใช้การออกแบบที่อ่อนโยนและสัมพันธ์กับสัดส่วนมนุษย์ นอกจากนี้ เขายังสำรวจวัสดุใหม่ที่สามารถแทนที่คอนกรีตและเหล็กสำหรับสถาปัตยกรรมในสังคมหลังอุตสาหกรรม