IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
- การลงทุนมูลค่ากว่าหลายสิบล้านยูโร
- การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2568
- สำหรับการใช้งานทางด้านบัตรประจำตัว อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ฟิล์มที่มีความยั่งยืน
โคเวสโตร เริ่มแผนการขยายการผลิตฟิล์มโพลีคาร์บอเนตชนิดพิเศษ (PC film) ทั่วโลก เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งได้มีการวางศิลาฤกษ์ในการเริ่มก่อสร้างสายการผลิตการอัดขึ้นรูปแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุดในประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 โดยผลิตภัณฑ์ฟิล์มชนิดนี้เป็นส่วน ประกอบของผลิตภัณฑ์ประเภทเอกสารประจำตัวเฉพาะบุคคล จอแสดงผลในรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้มีมูลค่าหลายสิบล้านยูโร โดยการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2568 และจะมีการจ้างงานกว่า 50 ตำแหน่ง
Sucheta Govil, Chief Commercial Officer, Covestro
คุณ สุเชตา โกวิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการพาณิชย์ โคเวสโตร กล่าวว่า “การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถเสริมความแข็งแกร่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันและกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อช่วยขยายขีดจำกัดในธุรกิจให้เติบโตไปอย่างต่อเนื่อง และในขณะเดียวกันการลงทุนครั้งนี้ยังช่วยให้เราสามารถตอบรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น และสามารถรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมในอนาคตอีกด้วย”
การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถเสริมความแข็งแกร่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันและกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อช่วยขยายขีดจำกัดในธุรกิจให้เติบโตไปอย่างต่อเนื่อง
Dr. Caroline Wolff, Head of Specialty Films APAC, Covestro
ดร.แคโรไลน์ วูล์ฟ หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ฟิล์มชนิดพิเศษ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวถึงการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ว่า “เนื่องด้วยความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่องเราจึงได้มีการลงทุนขยายกำลังการผลิต เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศไทย จีน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา โดยเราต้องการผลักดันการเติบโตในธุรกิจฟิล์มโพลีคาร์บอเนต ที่มุ่งเน้นที่ลูกค้า และนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างการรีไซเคิลหรือการใช้วัตถุดิบชีวมวลบางส่วนถือเป็นส่วนสำคัญ”
เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ฟิล์มที่ผลิตจากวัตถุดิบทางเลือก
โคเวสโตรนำเสนอผลิตภัณฑ์ฟิล์ม PC ที่หลากหลายและยั่งยืน ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สมดุล-มวลสารที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISCC PLUS โดยวัตถุดิบของฟิล์มดังกล่าวนั้น ผลิตจากขยะชีวภาพและวัสดุตกค้างซึ่งเรานำมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งห่วงโซ่คุณค่าการผลิต และผลิตภัณฑ์
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ศูนย์การผลิตมาบตาพุดได้รับการรับรองจาก ISCC PLUS ทำให้โรงงาน แห่งนี้สามารถผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์สมดุลมวลสาร โดยลูกค้าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ ของ โคเวสโตรในกระบวนการผลิตเพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน นอกเหนือจากนี้ โคเวสโตรยัง ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ฟิล์มหลายชนิดที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบจากพืชหรือพลาสติกรีไซเคิลอีกด้วย
ดร.ทีโม สลาวินสกี้ (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด และ ผู้จัดการศูนย์ การผลิต โคเวสโตร มาบตาพุด กล่าวว่า "โรงงานแห่งใหม่มีความพร้อมแล้ว และจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ ใน ไตรมาสที่ 2 ตามแผนที่วางไว้ โดยโรงงานมาบตาพุดมีคุณสมบัติด้านคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูงสอดคล้องกับกลยุทธ์โดยรวมของโคเวสโตร ศูนย์การผลิตในประเทศไทยของเราถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกในการร่วมมือกับลูกค้าและซัพพลายเออร์เพื่อผลิตวัสดุที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น”
เกี่ยวกับโคเวสโตร
โคเวสโตรเป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัสดุโพลิเมอร์และส่วนประกอบทางโพลิเมอร์คุณภาพสูงชั้นนำของโลก ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และวิธีการ บริษัทช่วยส่งเสริมความยั่งยืนและคุณภาพชีวิต ในหลายแง่มุม โคเวสโตร ให้บริการลูกค้าทั่วโลกในอุตสาหกรรมหลัก เช่น การเดินทางและการขนส่ง อาคารและที่อยู่อาศัย ตลอดจนอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้โพลีเมอร์จากโคเวสโตร ยังใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กีฬาและสันทนาการ เครื่องสำอางและสุขภาพ ตลอดจน ในอุตสาหกรรมเคมีด้วย บริษัทได้ตั้งเป้าหมายในการเป็นบริษัทหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบและมุ่งบรรลุความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศภายในปี พ.ศ. 2578 (ในขอบเขต 1 และ 2) โคเวสโตรสร้างยอดขายได้ 18 พันล้านยูโรในปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 บริษัทมีโรงงานผลิต 50 แห่งทั่วโลกและมีพนักงานประมาณ 18,000 คน (คำนวณจากจำนวนพนักงานประจำ) ณ สิ้นปี พ.ศ. 2565