กรุงเทพฯกำลังจะมีรถไฟฟ้าระยะทางรวม 500 กิโลเมตรทั่วเมือง สิ่งหนึ่งทำสำคัญกับการดำเนินการรถไฟฟ้า คือการซ่อมบำรุง และปรับปรุงการดำเนินการ ให้ทันสมัยตลอดเวลา สุดสัปดาห์นี้ ได้มีการทำเวิร์คชอพ ด้านซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบรถไฟจากความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนี โดยดร.ไพรินทร์ รมช.กระทรวงคมนาคมระบุว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ไทยจะต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน
ประเทศไทย และเยอรมนี ได้ลงนามความร่วมมือด้านระบบราง (GTRP) เพื่อกระชับความสัมพันธ์และร่วมกันพัฒนาระบบรางในประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2016 และเป็นที่มาของการทำเวิร์คชอพ ด้านซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบรถไฟสุดสัปดาห์นี้
โดยทั้งไทยและเยอรมนีคาดหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนความคิด แบ่งปันประสบการณ์การทำงานดำเนินการและซ่อมบำรุง และความท้าทายและวิธีการแก้ปัญหาในการดำเนินการระบบรถไฟในประเทศไทย
ผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมนี คริสเตียน ชินด์เลอร์ มหาวิทยาลัยเทคนิค อาร์คัน หนึ่งในผู้เข้าร่วมแบ่งปันความรู้ในเวิร์คชอพครั้งนี้ ระบุว่า
ด้วยสภาพการจราจรของกรุงเทพฯ และความหนาแน่นประชากร มองว่า ทางออกเดียวของปัญหาระบบขนส่งมวลชน คือการสร้างเส้นทางรถไฟทั้งใต้ดินและบนดินเพิ่มมากขึ้น
“สำหรับระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่น มีความหนาแน่นของจราจรสูงสุดในโลก ผมเห็นทางออกทางเดียว คือการสร้างขบวนรถไฟใต้ดินหรือรถไฟฟ้าเพิ่ม สำหรับระบบรถไฟระยะไกล เป็นเรื่องความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ที่จะให้มีรถไฟความเร้วสูงบริการประชาชนระหว่างเมืองใหญ่ๆ เพื่อลดจำนวนเที่ยวบินระยะสั้นลง” มร.คริสเตียน ชินด์เลอร์ กล่าว
ที่มา : สปริงนิวส์