IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า จากความพยายามในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มสามารถได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจบางส่วนให้สอดคล้องกับยุคดิจิตอล และเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภค โดยได้มีการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ ที่จะส่งผลต่อการสร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2562 เป็นต้นไป ภายใต้จุดมุ่งเน้นในการรุกธุรกิจปีนี้ว่า “SAMART…Strong & Sustain” หรือปีแห่งการพลิกฟื้นธุรกิจองค์กร สร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืน โดยตั้งเป้าเติบโตทุกสายธุรกิจด้วยรายได้ทั้งกลุ่ม 2 หมื่นล้านบาท
โดยในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ในแต่ละสายธุรกิจของกลุ่มสามารถสร้างผลงานไว้เป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะสายธุรกิจ ICT นำโดย บมจ.สามารถเทลคอม ไตรมาส 2 เซ็นต์สัญญาโครงการใหม่มูลค่ารวมกว่า 3,226 ล้านบาท อาทิ โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน (ระยะที่ 2) ของกรมที่ดิน มูลค่า 2,768 ล้านบาท
ส่งผลให้มีงานในมือแล้วประมาณ 8,246 ล้านบาท ด้าน บมจ.วันทูวันคอนแทคส์ มีรายได้เฉพาะไตรมาส 2 รวม 180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.2 ล้านบาท
New S-Curve โดยสายธุรกิจ SAMART Digital หรือ SDC ตั้งเป้ารายได้ที่ 4,000 ล้านบาท หลังจากปรับโครงสร้างและขยายโอกาสสู่ธุรกิจใหม่ๆ มีแววรายได้ฟื้นตัว และมีรายได้เติบโตชัดเจน (S Curve) ในปี 2019 จากธุรกิจ Digital Network อาทิ โครงข่ายวิทยุระบบ CAT DTRS Nationwide ของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงธุรกิจด้าน Digital Content ทั้ง BUG , EDT และ i-sport มีแนวโน้มสร้างรายได้เติบโตต่อเนื่อง
New High สายธุรกิจ ICT Solutions นับเป็นปีทองของไอซีที ที่จะทำ New High ทั้งในส่วนของรายได้และมูลค่างานในมือ โดยตั้งเป้ารายได้ปี 2562 ที่ 1 หมื่นล้านบาท และมีงานในมือ (Backlog) กว่า 1.4 หมื่นล้านบาท จากการเซ็นต์ สัญญาโครงการต่าง ๆ มากถึง 118 โครงการ อาทิ โครงการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกว่า 7,000 ล้านบาท โครงการของกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติ 6,000 ล้านบาท และโครงการของบมจ.การท่าอากาศยานไทยกว่า 1,500 ล้านบาท เป็นต้น ล่าสุดประเดิมด้วยการได้งานโครงการติดตั้งและพัฒนาระบบสารสนเทศธุรกิจหลัก หรือ Core Business Process System ให้กับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank มูลค่า 579 ล้านบาท
New Business Structure สายธุรกิจ U-TRANS เป้ารายได้ที่ 4,400 ล้านบาท โดยได้มีการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อเตรียมนำ บริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเพื่อเอื้อต่อการขยายธุรกิจทั้งในส่วนของ Air Traffic Control ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และการขยายธุรกิจทางด้าน Underground Cable ซึ่งมีมูลค่าโครงการมากถึง 1.4 หมื่นล้านบาท โดยล่าสุด บริษัท เทด้า คว้างานก่อสร้างสถานีต้นทางคลองด่านของกฟน. ในนาม The Consortium of TEDA-ITE-STC” มูลค่า 1,635 พันล้านบาท (โดยเป็นสัดส่วนของเทด้า มูลค่ากว่า 700 ล้านบาท)
New Service..New Market โดย บมจ. วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO) ตั้งเป้ารายได้ 1 พันล้านบาท โดยยังเน้นลูกค้าภาครัฐเป็นหลัก ส่วนภาคเอกชนมุ่งเน้นไปที่กลุ่มธนาคารและกลุ่มธุรกิจประกัน โดยวาง 2 แนวรุก เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ คือ New Service มุ่งพัฒนาสินค้า และบริการด้านธุรกิจคอลล์เซ็นเตอร์ที่เป็น digital services อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น การให้บริการ Voice AI , การนำ Chatbot มาให้บริการสอบถามข้อมูลผ่านช่องทาง Line Connect, facebook และ website ที่ช่วยลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้า New Market โดยการร่วมมือกับ partner อย่างเป็นทางการกับ LINE Company (Thailand) Limited ในโครงการ LINE Customer Connect ในการเป็นผู้ดำเนินการงานด้านระบบบริการลูกค้า รวมถึงเป็น Strategic Partner กับบริษัท HANKOOK Corporation ผู้นำในธุรกิจ Contact Center ครบวงจรในประเทศเกาหลีใต้ ด้วยการแลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และจับมือกันนำเสนอบริการใหม่เข้าสู่ตลาด
ทั้งนี้ มี 2 ปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจของสามารถเติบโต คือ
-
ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปีนี้น่าจะดีกว่าปีก่อน จากการท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างประเทศ ที่ต้องการลงทุนในไทย เพื่อเชื่อมโยงการค้าระหว่าง CLMV และที่สำคัญ ถ้าการเลือกตั้งเกิดขึ้นและมีรัฐบาลใหม่ ทุกอย่างจะคลี่คลาย แต่ถึงอย่างไรปัจจัยสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น อาจมีผลต่อเศรษฐกิจโลก และอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยได้
-
การกระตุ้นของภาครัฐ ในร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงนโยบาย Thailand 4.0 ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและดิจิตอลเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นหลัก
“เรากำลังเข้าสู่ยุค 5G การปรับตัวให้ทันต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว คือ กุญแจสำคัญของการอยู่รอดในโลกธุรกิจ กลุ่มสามารถได้เตรียมความพร้อมและมีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารธุรกิจ การพัฒนาคน และการพัฒนาเทคโนโลยี จนได้รับรางวัลมาตรฐานระดับโลกมากมาย อาทิ ISO 27001 บริษัทจึงมั่นใจว่า แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายเท่าไรก็ตาม บริษัทจะยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความมั่นคงและเติบโต” นายวัฒน์ชัย กล่าว
จากไตรมาสที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าปัจจุบันขยายขอบเขตการให้บริการ ส่งผลให้มีงานในมือแล้วกว่า 770 ล้านบาท ส่วนธุรกิจด้านพลังงาน โดยล่าสุด บริษัท เทด้า จำกัด ซึ่งเชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าความแรงสูง ได้รับการว่าจ้างในโครงการเปลี่ยนระบบไฟฟ้าอากาศเป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน เส้นจรัญสนิทวงศ์ ให้แก่ กฟน. และโครงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าลำภูรา จ.ตรัง ของ กฟผ. รวมมูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท
ทั้งยังมีโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจอีกมาก ด้านสายธุรกิจดิจิตอล หลังจากปรับเปลี่ยนธุรกิจครั้งใหญ่ ก็เริ่มเห็นความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้นในหลายธุรกิจ นั่นหมายถึงโอกาสในการสร้างรายได้และการเติบโตในอนาคต ทั้ง Application “TripPointz” ที่ร่วมกับ ททท.เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง 12 จังหวัด ปัจจุบันมียอด DownLoad แล้วกว่า 50,000 ครั้ง
ส่วนอีก 2 ธุรกิจที่เริ่มดำเนินการแล้วและคาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับสายธุรกิจดิจิตอลในช่วงครึ่งปีหลัง ได้แก่ ธุรกิจ Digital Trunk Radio System (DTRS) หรือ บริการวิทยุสื่อสารระบบดิจิตอล ภายใต้เครือข่าย DTRS ของ กสท. ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันมีการวางระบบและติดตั้งสถานีเครือข่ายไปแล้วกว่า 60% คาดว่าสิ้นปีนี้จะครอบคลุม 1,000 แห่งทั่วประเทศ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน คือ องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและบริการต่างๆ ที่ต้องการเครื่องมือสื่อสารแบบกลุ่มคุณภาพสูง เช่น การขนส่งและการเดินทาง (Logistic &Transportation) , โรงงานและนิคมอุตสาหกรรม, โรงพยาบาล, ศูนย์กู้ภัย เป็นต้น และโครงการติดตั้งเสาสัญญาณร่วม (Co-Tower) ในเขตอุทยานแห่งชาติกว่า 1,000 สถานี เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถืออย่างเต็มประสิทธิภาพ
โดยผลการดำเนินของกลุ่มสามารถครึ่งปีแรกของปี มีจำนวน 5,444 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 169 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนทางบัญชี (Fx Loss) สำหรับเงินกู้ในสกุลเงิน US Dollar ในไตรมาสที่ 2/2561 แต่ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทสามารถ ก็ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก โดย บมจ.วันทูวันคอนแทคส์ ปันผลในอัตราหุ้นละ 0.04 บาท บมจ.สามารถเทลคอม ปันผล 0.15 บาท
นายวัฒน์ชัย กล่าวสรุปว่า “ถึงแม้ผลประกอบการของกลุ่มสามารถจะยังไม่บรรลุเป้าหมายในครึ่งปีแรก เนื่องจากการปรับทิศทางธุรกิจของไอโมบายสู่ยุคดิจิตอล แต่ในครึ่งปีหลังจะเริ่มเห็นผลจากการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้น ด้วยการทยอยรับรู้รายได้จากธุรกิจใหม่ๆ และปัจจัยหนุนจากการผลักดันนโยบาย 4.0 ของรัฐบาล ที่จะสร้างโอกาสให้กับกลุ่มสามารถเข้าร่วมประมูลงานซึ่งมีมูลค่ารวมกว่าหมื่นล้านบาท และยังจะส่งเสริมให้ธุรกิจด้าน Digital Technology ของกลุ่มสามารถมีโอกาสในการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย