December 18, 2024

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ได้เข้าถือหุ้นร้อยละ 100 ในบริษัท ไทแทน แทงเกอร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมและก๊าซหุงต้มประเภทตัวเรือสองชั้น และซื้อหุ้นบริษัท แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (VLE) ร้อยละ 10.14 รายงานกำไรสุทธิจำนวน 374.8 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 3/2566 เผยงานในมือรอส่งมอบจำนวนมาก จากอนิสงค์การกลับมาสต็อกสินค้าจำพวกสินแร่เหล็ก ถ่านหินคาดว่ารายได้ขนส่งทางเรือจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้การรับส่งสินค้าเทกองจีนฟื้นตัว และยอดขายปุ๋ยเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง ของบริษัทฯมีงานมือ (Backlog) ที่รอส่งมอบเป็นจำนวนมาก จากการกลับมาสต็อกสินค้าจำพวกสินแร่เหล็ก ถ่านหินคาดว่ารายได้ขนส่งทางเรือจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยงาน Offshore อาจรับรู้รายได้สูงถึง 77 ล้านเหรียญสหรัฐจากความคาดหวังว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นโอกาสทองของธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง ส่วนธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตรเป็นผลมาจากปริมาณยอดขายปุ๋ยในเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ TTA มีรายการค่าสั่งซื้อ (Order book) อยู่ที่ 697 ล้านเหรียญ มีแผนรับรู้รายได้อีก 55% ในปี 2567จากงานที่เข้ามาใหม่ เป็นโครงการบริการติดตั้งและรื้อถอนใต้ทะเล อีกทั้งงานวิศวกรรมใต้ทะเล (IRM) คาดการณ์ว่ามีการอัตราการใช้บริการเรือเต็มรูปแบบต่อเนื่องอีกด้วย”

ปัจจุบันธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง ของบริษัทฯมีงานมือ (Backlog) ที่รอส่งมอบเป็นจำนวนมาก จากการกลับมาสต็อกสินค้าจำพวกสินแร่เหล็ก ถ่านหินคาดว่ารายได้ขนส่งทางเรือจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยงาน Offshore อาจรับรู้รายได้สูงถึง 77 ล้านเหรียญสหรัฐจากความคาดหวังว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นโอกาสทองของธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง

โดยล่าสุด TTA รายงานผลรายได้ประกอบการที่ 6,567.7 ล้านบาท กำไรสุทธิ 374.8 ล้านบาท จากค่าระวางเรือปรับขึ้นสูง จากดัชนีซปราแมกซ์มีการฟื้นตัวตั้งแต่ปลายสิงหาคมปีที่แล้ว ส่งผลให้ค่าอัตราระวางเรือซุปราแมกซ์ทำสถิติสูงสุดที่ 14,906 ดอลล่าร์สหรัฐต่อวัน ส่งให้ผลการดำเนินงานของรายกลุ่มธุรกิจดังนี้คือ กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ ซึ่งไตรมาสที่ 3/2566 โทรีเซน ชิปปิ้ง รายงานรายได้ค่าระวางเรืออยู่ที่ 1,590.1 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 25 จากช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน

เนื่องจากอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าเฉลี่ยของกลุ่มธุรกิจที่ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับค่าระวางเรือของตลาดที่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ อัตราค่าระวางเรือซุปราแมกซ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10,028 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในไตรมาสที่ 3/2566 ซึ่งลดลงร้อยละ 7 เทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน เนื่องจากแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวม
สำหรับทิศทางการดำเนินงานต่อจากนี้ จากบทวิเคราะห์ของ Clarksons คาดการณ์การเติบโตของการค้าสินค้าแห้งเทกองที่ร้อยละ 3.7 ในหน่วยตัน หรือร้อยละ 4.6 ในหน่วยตัน-ไมล์ ขณะที่การขยายกองเรือคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.9 ในหน่วยเดทเวทตัน (DWT) การเติบโตของการค้าสินค้าแห้งเทกองได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการค้า รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งทำให้รายได้จากการขนส่งโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการขนส่งสินค้าโภคภัณฑ์หลายประเภท และการนำเข้าสินค้าแห้งเทกองของจีนที่เพิ่มขึ้น จากการเปิดประเทศของจีนหลังการระบาดของไวรัสโควิดอีกด้วย

ทั้งนี้อัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าเฉลี่ยของกลุ่มธุรกิจปรับตัวลดลงร้อยละ 17 เทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน เป็นเฉลี่ย 12,143 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน อย่างไรก็ตาม อัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าเฉลี่ยของกลุ่มธุรกิจยังคงสูงกว่าอัตราค่าระวางเรือซุปราแมกซ์สุทธิที่ 9,527 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน อยู่ร้อยละ 27 โดยอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าประกอบด้วย อัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าสำหรับเรือที่กลุ่มธุรกิจเป็นเจ้าของ จำนวน 11,626 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และมีกำไรจากเรือเช่า (chartered-in vessel) จำนวน 517 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในไตรมาสที่ 3/2566 อัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าสำหรับเรือที่กลุ่มธุรกิจเป็นเจ้าของ มีอัตราการใช้ประโยชน์เรือสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 100 ด้วยอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าสูงสุดอยู่ที่ 22,191 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ส่วนใหญ่จะให้บริการให้เช่าเรือตามการเซ็นสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้า (Contracts of Affreightment หรือ COA) ซึ่งปกติจะทำสัญญาล่วงหน้า ดังนั้น ผลการดำเนินงานของเรือเช่าในไตรมาสที่สามนี้จึงได้รับผลประโยชน์จากอัตราค่าระวางเรือของตลาดที่ปรับตัวลดลง ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 เทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน

บริษัท ไทแทน แทงเกอร์ จำกัด จัดพิธีบวงสรวงแม่ย่านางเรือและพิธีเปิดเรืออย่างเป็นทางการ นำโดย คุณประยุทธ มหากิจศิริ (ที่สามจากขวา) ประธานกิตติมศักดิ์ พร้อมด้วยคุณสุวิมล มหากิจศิริ (ที่สามจากซ้าย) รองประธานกิตติมศักด์ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหาร พันธมิตรทางธุรกิจ และลูกค้า ร่วมทำพิธีเปิด ที่ท่าเรือทุ่งโปร่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ทั้งนี้ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ยังได้เข้าถือหุ้นร้อยละ 100 ใน บริษัท ไทแทน แทงเกอร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมและก๊าซหุงต้มประเภทตัวเรือสองชั้น โดยกองเรือของไทแทน แทงเกอร์ ประกอบด้วยเรือบรรทุกและขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมจำนวน 7 ลำ และเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) อีกหนึ่งลำ ความสามารถในการบรรทุกของกองเรือ ไทแทน แทงเกอร์ โดยรวมมีประมาณ 30 ล้านลิตร สำหรับการขนส่งเชื้อเพลิง อาทิ น้ำมันปิโตรเลียม เอธิลแอลกอฮอล์ และ สินค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) สู่ท่าเรือต่างๆ ในประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย ซึ่งคาดว่าจะให้บริการลูกค้าได้ภายในไตรมาสแรก ของปี 2567 โดยบริษัทฯ มีความมั่นใจว่ากองเรือของบริษัทฯ มีสเปคที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า และสามารถให้บริการแก่ลูกค้าในธุรกิจขนส่งก๊าซปิโตรเลียมและก๊าซหุงต้มได้เป็นอย่างดี

ความสามารถในการบรรทุกของกองเรือ ไทแทน แทงเกอร์ โดยรวมมีประมาณ 30 ล้านลิตร สำหรับการขนส่งเชื้อเพลิง อาทิ น้ำมันปิโตรเลียม เอธิลแอลกอฮอล์ และ สินค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)

นอกจากนี้ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ได้เปิดเผยถึงแผนยุทธศาสตร์การลงทุนในธุรกิจแหล่งผลิตน้ำมัน ซึ่งเป็นธุรกิจต้นน้ำ ว่าได้เข้าไปซื้อหุ้น บริษัท แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (VLE) ร้อยละ 10.14 โดยการซื้อผ่านตลาดหลักทรัพย์โตรอนโต ประเทศแคนนาดา และก้าวขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดอันดับสองในแวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่

TTA ได้เข้าไปถือครองหุ้น จำนวน 10,309,900 หุ้น (คิดเป็นร้อยละ 10.14) ในแวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานของทีมงานแวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ อย่างเต็มที่ เนื่องจาก TTA มองเห็นศักยภาพของหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง และโอกาสทางธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

โดย บริษัท แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด หรือ VLE เป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตรอนโต ประเทศแคนาดา และครองตำแหน่งผู้ผลิตน้ำมันดิบอิสระนอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ด้วยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ 22,100 บาร์เรล/วัน ในไตรมาสที่ 2/2566 และน้ำมันดิบสำรองที่คาดว่าจะพบ (2P Reserve) มีปริมาณ 29 ล้านบาเรลล์ เมื่อปลายปี 2565 ภายหลังที่บริษัทฯ ได้เข้าถือครองกรรมสิทธิ์แปลงสัมปทานในอ่าวไทยหลายแห่ง ได้แก่ ถือครองกรรมสิทธิ์ ร้อยละ 100 ของแปลงสัมปทานหมายเลข B5/27 แหล่งผลิตปิโตรเลียมจัสมิน ถือครองกรรมสิทธิ์ ร้อยละ 90 ของแปลงสัมปทานหมายเลข G11/48 แหล่งผลิตปิโตรเลียมนงเยาว์ ถือครองกรรมสิทธิ์ ร้อยละ 70 ของแปลงสัมปทานหมายเลข G1/48 แหล่งผลิตปิโตรเลียมมโนราห์ จากบริษัท มูบาดาลา ปิโตรเลียม ประเทศไทย จำกัด (Mubadala Petroleum Thailand) ในเดือนธันวาคม 2565 และยังได้ถือครองกรรมสิทธิ์ ร้อยละ 100 ของแปลงสัมปทานหมายเลข G10/48 แหล่งผลิตปิโตรเลียมวาสนา จาก บริษัท คริสเอ็นเนอร์ยี่ ประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน 2565

ในประเด็นนี้ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA กล่าวว่า “TTA ได้เข้าไปถือครองหุ้น จำนวน 10,309,900 หุ้น (คิดเป็นร้อยละ 10.14) ในแวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานของทีมงานแวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ อย่างเต็มที่ เนื่องจาก TTA มองเห็นศักยภาพของหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง และโอกาสทางธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

"ในฐานที่ TTA เป็นบริษัทเพื่อการลงทุนเชิงกลยุทธ์ เรามองหาลู่ทางในการลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตสูงและเป็นธุรกิจที่อยู่ในตลาดที่ทรัพยากรด้านพลังงาน ซึ่งเราพบว่ากิจการของ แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการลงทุนของเรา เพราะว่า แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ มีธุรกิจต้นน้ำ และมีการถือครองสัมปทานแหล่งน้ำมันหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียซึ่งยังมีความต้องการใช้พลังงานน้ำมันค่อนข้างสูง"

อาจจะกล่าวได้ว่า TTA มีประวัติการลงทุนในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ เมอร์เมดฯ เพิ่งประมูลได้สัญญา 3 ปี ในโครงการรื้อถอนและติดตั้งโครงสร้างแท่นหลุมผลิตและท่อส่งปิโตรเลียมใต้ทะเลในประเทศไทย ดังนั้น การที่ TTA เข้าไปลงทุนใน แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ จึงเป็นขยายการลงทุนสู่ไปสู่ภาคธุรกิจต้นน้ำ ซึ่งจะครอบคลุม การสำรวจและการขุดเจาะแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ TTA มองการณ์ไกลไปถึงความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นกับ แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่ ในอนาคต ทั้งการเติบโตของธุรกิจและผลตอบแทนที่ดีที่จะได้รับ”

สำหรับ กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่งนั้น บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) หรือ เมอร์เมด มีรายได้ ในไตรมาสที่ 3/2566 อยู่ที่ 2,996.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน สาเหตุหลักมาจากการดำเนินงานที่ดีขึ้นของทุกบริการ โดยเฉพาะงานวิศวกรรมใต้ทะเล (subsea-IRM) และงานรื้อถอน (decommissioning) งานขนส่งและติดตั้ง (Transportation & Installation: T&I) รายได้จากงานวิศวกรรมใต้ทะเล งานรื้อถอน งานขนส่งและติดตั้ง และงานวางสายเคเบิลใต้ทะเล

ด้าน กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PMTA รายงานรายได้รวมอยู่ที่ 1,200.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จากช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน จากปริมาณการขายปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้จากการขายปุ๋ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 จากช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน เนื่องจากจากปริมาณขายปุ๋ยทั้งในประเทศและส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยปริมาณขายปุ๋ยรวมอยู่ที่ 57.6 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน มาจากปริมาณการส่งออกปุ๋ยไปแอฟริกามีการขยายตัว

ขณะที่กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) อย่าง "พิซซ่า ฮัท" ดำเนินงานภายใต้บริษัทบริษัท พีเอช แคปปิตอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 70 โดยปัจจุบัน "พิซซ่า ฮัท" มีสาขาจำนวน 186 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งสาขาทั้งหมดเป็นสาขาที่เปิดตามหัวเมืองใหญ่ นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ "ทาโก้ เบลล์" เป็นแฟรนไชส์อาหารสไตล์เม็กซิกันที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา ดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 70 คือทาโก้ เบลล์ มี 18 สาขาทั่วประเทศ

กลุ่มการลงทุนอื่น (Investment) มุ่งเน้นธุรกิจการบริหารทรัพยากรน้ำและโลจิสติกส์ ซึ่ง บริษัท เอเชีย อินฟราสตรักเชอร์ แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ AIM ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 90.97 เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง และให้บริการครบวงจรทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ AIM ยังได้รับสัมปทานในการจำหน่ายน้ำประปาในหลวงพระบาง ประเทศลาว ผ่านบริษัทย่อยที่ AIM ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100 นี้ กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มการลงทุนอื่น มีสัดส่วนรายได้ร้อยละ 24 ร้อยละ 46 ร้อยละ 18 ร้อยละ 8 และร้อยละ 4 ของรายได้รวมทั้งหมด

TTA ยังคงดำเนินธุรกิจด้วยมุมมองเชิงบวกในปี 2567 ประเมินตลาดขนส่งสินค้าเทกองยังมีแนวโน้มเติบ ชายฝั่งนอกบ้าน (Offshore Service) จะมีแนวโน้มเทิร์นอะราวด์ โดยราคาน้ำมันจะเป็นปัจจัยหลัก ซึ่ง ผลิตลงจะเป็นแรงหนุน ประกอบการมุ่งเน้นบริการน้ำมันและแก๊ส (oil and gas) ซึ่งเน้นกลุ่มลูกค้าใน east อีกด้วย



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Friday, 12 January 2024 07:49
อดิพันธ์ อภิชาติทนงกุล

Author : เกาะติดข่าวในอุตสาหกรรมยานยนต์ Automotive อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์

รวมถึงเทคโนโลยีในด้านนั้นๆ

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM