IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
นางปรีญาภรณ์ ตั้งเผ่าศักดิ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) และในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท สมาร์ท อินฟราเนท จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จับมือกับพันธมิตร RATCH จัดตั้ง บริษัท สมาร์ท อินฟราเนท จำกัด หรือ SIC เพื่อสานต่อกลยุทธ์ของบริษัทที่ต้องการสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคตสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดย SIC ดำเนินธุรกิจให้บริการเช่าโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง มีเป้าหมายขยายกลุ่มลูกค้าไปสู่ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ซึ่ง RATCH ถือเป็นผู้นำและเชี่ยวชาญในธุรกิจนี้มาอย่างยาวนาน จึงคาดว่าจะช่วยเสริมโอกาสและศักยภาพการแข่งขันของให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
นางปรีญาภรณ์ กล่าวว่า "การผนึกกำลังครั้งนี้ของ ALT และ RATCH จะเป็นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านสื่อสารโทรคมนาคม"
เพื่อรองรับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รวมถึงเป็นการขยายขอบเขตไปยังลูกค้าธุรกิจพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าในอนาคตมีแนวโน้มจะใช้โครงข่ายสายใยแก้วนำแสงเป็นโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น
นางปรีญาภรณ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากลุ่ม ALT จะเน้นในกลุ่มที่เป็นลูกค้าโทรคมนาคมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการทางด้านมือถือ ทางด้านอินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งเคเบิ้ลทีวี ทุกคนก็มีการมาเช่าตัวเสาและโครงข่ายไฟเบอร์ของเรา แต่ทีนี้เนื่องจากว่า เราต้องการที่จะ Utilize ตัว Asser ที่เรามีอยู่เพิ่มเติม เราก็เลยเป็นความร่วมมือกับทาง “ราชกรุ๊ป” ในการที่จะ Set up บริษัท Joint Venture ร่วมกัน เพื่อที่จะนำโครงข่ายที่เรามีอยู่ตรงนี้ไป Utilize
“นอกจากกลุ่มโทรคมนาคมแล้ว เรายังขยายไปในกลุ่มของไฟฟ้าด้วย ก็จะทำให้การใช้ตัวโครงข่ายที่เรามีอยู่ มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น โดยช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง ก็มีโครงการเรื่องของการทำ Smart Grid ซึ่งจะมีการสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ไฟเบอร์จึงเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะบอกค่าต่างๆ เช่น เวลาเราใช้มิเตอร์ตามบ้าน เดิมก็จะเป็นการไปจดแต่ละบ้านในแต่ละเดือนถึงจะรู้ว่า ตัวใช้มิเตอร์ มากน้อยแค่ไหน แต่พอเป็น Smart Grid แล้ว จะทำงานร่วมกันกับโครงข่ายในการส่งข้อมูลการใช้ไปส่วนกลางได้เลย นั่นหมายถึงทุกๆ สิ้นเดือน ทางไฟฟ้าไม่ต้องเดินไปจดมิเตอร์แล้ว สามารถที่จะพริ้นท์บิลเรียกเก็บเงินกับผู้ใช้บริการได้เลย”
นอกจากนี้ จะมีข้อดีหลายอย่าง เช่น เมื่อก่อนเวลาไฟฟ้า ใช้งานแล้วโอเวอร์โหลด หรือมิเตอร์ร้อน ตู้โหลดหรืออุปกรณ์ต่างๆ ร้อน เพราะใช้ไฟมากเกินไป แต่ก่อนก็จะเป็นการตัดทริปต่างๆ แต่บางครั้งหากไม่มีพวก Search ในการตัดพวกนี้ ก็จะโอเวอร์โหลดทำให้เกิดไฟไหม้ได้ สร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สิน และในอนาคตหากมีการใช้บริการไฟฟ้า เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วโหลดการใช้พร้อมกัน ชาร์จไฟฟ้าแล้วพีคสูงมาก ซึ่งถ้าเป็นระบบเดิมทางไฟฟ้าไม่สามารถจะช่วยหรือมิเตอร์อะไรได้ แต่เมื่อใช้ Smart Grid เวลาโอเวอร์โหลด ไฟฟ้าจะสามารถช่วยการตัดระบบตั้งแต่ส่วนกลางได้เลย
“การร่วมกับทาง “ราชกรุ๊ป” เราจะ Set up เป็นบริษัท Joint Venture ชื่อ "Smart Infranet" ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านไฟเบอร์ ในการเช่าทั้งกลุ่มโทรคมนาคมและกลุ่มสถานีไฟฟ้าต่างๆ จึงเป็นที่มาในการจัดเรื่องทรัพย์สิน เพื่อไม่ให้ธุรกิจทับซ้อนกัน และที่สำคัญที่ผ่านมาเราเองมีความจำเป็น จากมีลูกค้า Request ในการเช่าไฟเบอร์ในหลายๆ พื้นที่ จึงจำเป็นต้องใช้งบลงทุนในด้านนี้ จึงจำเป็นต้องผนึกความแข็งแกร่งกับพันธมิตรในครั้งนี้ เพื่อสร้างโครงข่ายต่างๆตามที่ Operator ต้องการเพิ่มขึ้น และพอเรามีโครงสร้างธุรกิจที่ชัดเจนในเรื่องการสร้างเสาโทรคมนาคม จะเป็นอีกลุ่ม Partner หนึ่งที่สำคัญ” นางปรีญาภรณ์ กล่าว
อีกกลุ่มหนึ่ง จะเป็นส่วนของ SIC หรือ Smart Infranet จะเป็นกลุ่มของไฟเบอร์โดยเฉพาะ ซึ่งการลงทุนกลุ่มนี้ จะเป็นการลงทุนผ่านบริษัทฯร่วมทุน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการให้บริการด้วย โดยจะบริการให้บริการไฟเบอร์ให้เช่า ที่ผ่านมาเรามีไฟเบอร์ตามเส้นทางรถไฟฟ้า และกลุ่ม Underground ที่สร้างไว้ ไม่ว่าจะเป็นเส้นสุขุมวิท พญาไท พหลโยธิน ประดิพัทธ์ กลุ่มเหล่านี้จะมาอยู่ภายใต้บริษัทใหม่ทั้งหมดเลย และนอกจากนั้นเราก็จะสร้างตัวไฟเบอร์เพิ่มสูงขึ้น เพื่อรองรับการให้เช่าไฟเบอร์ทั่วประเทศ
โดย ALT ยังมีอีกโครงการหนึ่ง คือ Fiber Space ด้วยการใช้ไฟเบอร์ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเทรนใหม่ของการให้บริการเช่า โดยไม่ได้ลงทุนเพิ่ม ด้วยการร่วมโครงการกับหลากหลายพันธมิตร ซึ่ง Operator ต่างๆ ที่ร่วมจะมีเส้นทางอยู่แล้ว และเราจะแมทชิ่งความต้องการของผู้เช่า เพื่อสานประโยชน์ร่วมกัน โดย ALT เป็นส่วนตรงกลางเพื่อส่วนต่างในค่าเช่า ซึ่งเราต้องเป้ารายได้จากธุรกิจนี้ในปีแรกประมาณ 100 ล้านบาท ถือว่าเป็นการเติบโตธุรกิจการให้เช่าไฟเบอร์แบบมีนัยยะสำคัญ
นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะทั้งด้านการผลิตและการใช้กระแสไฟฟ้า และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อรองรับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมให้เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีการสื่อสารมากขึ้น อุปกรณ์เครื่องใช้เน้นการเชื่อมต่อสื่อสารผ่านระบบไร้สาย หรือที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things -IOT) ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้เป็นธุรกิจแนวใหม่ที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Economy Sharing) ลดการลงทุนซ้ำซ้อนตามนโยบายส่งเสริมของภาครัฐ และส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนลดลงในภาพรวมอีกด้วย
ที่ผ่านมาในกลุ่ม ALT มีรายได้จากงานสร้าง ราว 20-30 % ซึ่งรายได้ที่บาง มาจากธุรกิจการเช่า เป็นลักษณะของ Capital Intensive คือเวลาสร้างจะให้งบลงทุนก้อนใหญ่มาก แต่พอรับรู้รายได้ของการเช่า จะเป็นรายได้แบบค่อยๆ เติบโตขึ้น ซึ่งช่วงแรกอาจไม่ Cover เรื่องของค่าเสื่อม แต่ตอนนี้ทางบริษัทฯได้สร้างรายได้ประจำตรงนี้ให้เติบโตสูงขึ้น และหากรายได้ตรงนี้สามารถครอบคลุมค่าเสื่อมได้ ALT จะมีรายได้สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ALT เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาตั้งแต่ปี 2559 โดยระทุมได้ประมาณ 1,000 ล้าน และได้เริ่มก่อสร้างโครงข่ายไฟเบอร์รถไฟในปีแรกที่เข้าตลาด ดำเนินการสร้างเพื่อต่อยอดโครงข่ายแต่ละภาคให้ Complete ทั้งหมดในปี 2560 และหลังจากนั้นเริ่มมีรายได้จากการเช่าซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี จากรายได้ 10 ล้านบาท มาเป็น 150 ล้านบาท ถือว่าโตแบบก้าวกระโดด จึงคาดว่าหลังจากการปรับโครงสร้างบริษัทฯในครั้งนี้ จะเสริมให้บริษัทฯมีรายได้เติบโตขึ้นอีกปีละ 10% อย่างต่อเนื่อง
สำหรับการลงทุนในพม่า ถือว่าตัวเลขดีขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัทเป็น Operator ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต กับลูกค้าองค์กร พอลูกค้าเริ่มใช้บริการ และรู้จัก ALT ยอดรายได้จึงค่อยๆ เติบโตขึ้นทุกปี ยิ่งในช่วงโควิด 19 รายได้จากธุรกิจอินเตอร์เน็ตในพม่าเพิ่มสูงขึ้นมากจากการทำงานที่บ้าน ซึ่งโครงข่ายไฟเบอร์ของ ALT จรด Border ทั้งหมด 14 Gateway รอบประเทศไทย และไปชนกับพม่า เขมร มาเลเซีย ทั้งทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก รวมถึงตัวอินเตอร์เน็ตที่ใกล้ที่สุดและใหญ่ที่สุดใน South East Asia คือ สิงคโปร์และฮ่องกง ซึ่งแต่ละประเทศที่จะวิ่งไป 2 ที่นี้ ต้องผ่านประเทศไทย จึงต้องเช่าใช้ตัว Bandwidth กับทางบริษัทฯด้วย โดยปัจจุบันได้ Support Operator กลุ่มนี้อยู่ประมาณ 18 ราย
นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะทั้งด้านการผลิตและการใช้กระแสไฟฟ้า และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อรองรับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมให้เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีการสื่อสารมากขึ้น อุปกรณ์เครื่องใช้เน้นการเชื่อมต่อสื่อสารผ่านระบบไร้สาย (IOT) ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้เป็นธุรกิจแนวใหม่ที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Economy Sharing) ลดการลงทุนซ้ำซ้อนตามนโยบายส่งเสริมของภาครัฐ และส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนลดลงในภาพรวมอีกด้วย
สำหรับรายได้ในปี 2563 นี้ บริษัทคาดการณ์ว่าจะสามารถพลิกทำกำไรได้ในช่วงครึ่งปีหลัง เติบโต 10-15% จากธุรกิจให้เช่าโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ที่มุ่งเน้นจุดยุทธศาสตร์ในประเทศไทย และธุรกิจให้บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจการให้บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูง ธุรกิจวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำ และธุรกิจให้เช่าบริการโครงข่ายสื่อสารใยแก้วนำแสง โดยมุ่งเน้นด้าน Smart Grid รวมถึงการลงทุนและให้เช่าบริการเสาสื่อสารในเขตส่งเสริม อุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี และยังให้บริการวิเคราะห์ Big Data เพื่อเข้าใจตลาดและพฤติกรรมของลูกค้าและให้บริการ Application platform อีกด้วย
ทั้งนี้ บริษัทฯมีการกระจายความเสี่ยงสู่ธุรกิจอื่นๆ อาทิ การให้บริการสร้างสถานีฐานและให้บริการติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศ รวมถึงให้บริการแก่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในการวางแผนและขยายโครงข่ายแบบครบวงจร และมีการดำเนินการผ่านบริษัทย่อย Group Tech Solution (GTS) ให้บริการด้านการดำเนินการสร้างทดสอบระบบสำหรับอาคารอัจฉริยะ (Intelligence Building) เมืองอัจฉริยะ (Smart City) อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตเสาอากาศรับสัญญาณ (Antenna) ผลิตสินค้าแบบสั่งทำ และออกแบบตามความต้องการของลูกค้า ผ่านบริษัทย่อย คือ Innova Telecommunication
ด้าน นายสมบุญ เศรษฐ์สันติพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการเงินและบัญชี บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ALT เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในครึ่งปีแรกของปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวมสุทธิ 401.94 ล้านบาท ถือว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 116% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2562 ที่มีรายได้ 186.31 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิในครึ่งปีนี้อยู่ที่ 45.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 222% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 37.18 ล้านบาท
โดยปัจจุบันบริษัทฯมีงานในมือ (Backlog) ทั้งหมดประมาณ 1,732 ล้านบาท โดยกำไรและรายได้ปรับตัวดีขึ้นนั้น เป็นรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้น 339% จาก 70.02 ล้านบาท เพิ่มเป็น 307.65 ล้านบาท โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นคือ รายได้จากโครงการ Smart Grid รวมทั้งมีรายได้อื่นอีกจำนวน47.56 ล้านบาท และจากการโอนสินทรัพย์โครงข่ายใยแก้วนำแสงให้กับ บริษัท สมาร์ท อินฟราเนท จำกัด อีกด้วย
นายสมบุญกล่าวต่อว่า ในปี 2563 นี้ ถือเป็นปีแห่งการปรับโครงสร้างกิจการของบริษัทฯ ซึ่งปัจจัยลบที่เป็นภาระเหนี่ยวรั้งการเติบโตของบริษัทในอดีตได้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1/2563 บริษัทได้รับเงินชดเชยค่าเสียหายจากคู่กรณีตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเป็นเงินราว 370 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา บริษัทได้บรรลุเป้าหมายในการปรับโครงสร้างกิจการด้วยการโอนสินทรัพย์โครงข่ายใยแก้วนำแสง 2 โครงการให้แก่ กิจการร่วมทุน คือ บริษัท สมาร์ท อินฟราเนท จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทกับ บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด(มหาชน) หรือ RATCH ซึ่งมีความแข็งแกร่งด้านเงินทุนและมีกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับทิศทางของบริษัท จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยผลักดันให้แผนธุรกิจของบริษัทพัฒนาไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น เพื่อสร้างผลกำไรที่ยั่งยืนในระยะยาวต่อไป
สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 นี้ บริษัทยังคงเดินหน้าปรับโครงสร้างและขยายธุรกิจอีกหลายโครงการเช่น การเข้าซื้อหุ้น บริษัท เอ็นเนอร์จี แม็คซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายมิเตอร์ไฟฟ้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการเติบโต Smart Grid Technology ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรในอีกหนึ่งโครงการเพื่อรองรับการลงทุนและสร้างเสาสัญญาณสำหรับโครงข่าย 5G ของพันธมิตรอีกด้วย
บริษัท เอ็นเนอร์จี แม็คซ์ จำกัด (EMAX) ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายมิเตอร์ไฟฟ้าระบบอิเล็กทรอนิกส์
โดยล่าสุดประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติ เข้าซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท เอ็นเนอร์จี แม็คซ์ จำกัด (EMAX) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายมิเตอร์ไฟฟ้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นการซื้อหุ้นต่อจากบริษัท เอแอลที โฮลดิ้ง จำกัด (ALTH) สัดส่วน 97.82% ในราคาหุ้นละ 38 บาท รวมเป็นมูลค่าประมาณ 25.55 ล้านบาท ซึ่งวัตถุประสงค์ของการซื้อหุ้นดังกล่าว เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างกิจการรองรับการพัฒนาและรองรับการเติบโตสูงของเทคโนโลยี Smart Grid อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวถือเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยบริษัทเอแอลที โฮลดิ้ง จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ALT สัดส่วน 50.69%
บมจ.เอแอลที เทเลคอม (ALT) แจ้งว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทวันนี้ อนุมัติการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงอันเป็นการปรับโครงสร้างกิจการเพื่อรองรับการพัฒนาและเติบโตของเทคโนโลยี Smart Grid ด้วยการเข้าซื้อหุ้น 97.82% ในบริษัท เอ็นเนอร์จี แม็คซ์ จำกัด (EMAX) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายมิเตอร์ไฟฟ้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยมูลค่าทั้งสิ้น 25.55 ล้านบาท
ทั้งนี้ การซื้อหุ้นใน EMAX จะเป็นการซื้อหุ้นจาก บริษัท เอแอลที โฮลดิ้ง จำกัด (ALTH) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 50.69% ในบริษัท อีกทั้งมีผู้ถือหุ้นร่วมและกรรมการร่วมที่เป็นบุคคลธรรมดาอีก 3 รายการเข้าซื้อหุ้นใน EMAX ถือเป็นบูรณาการหน่วยธุรกิจของบริษัทให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อรองรับโอกาสที่เติบโตสูงของเทคโนโลยี Smart Grid ต่อไป