January 22, 2025

“กลุ่มบริษัทสามารถ” ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างโอกาสทางธุรกิจ

กลุ่มสามารถสรุปผลงานเด่นในไตรมาส 2 พร้อมชูโครงการ Backlog จาก “บมจ.สามารถเทลคอม” ลงนามสัญญามูลค่า 1,037.79 ล้านบาท และ “บมจ.สามารถดิจิตอล” จับมือกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด ให้บริการวิทยุคมนาคมระบบดิจิตอล Digital Trunk Radio ขยายฐานผู้ใช้บริการ DTRS ภาครัฐ ซึ่งอยู่ระหว่างรอผลประมูล มูลค่า 3-4 พันล้านบาท

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหาร บมจ. สามารถคอร์ป เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสสองที่ผ่านมาของปีนี้ บริษัทยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อธุรกิจควบคุมการจราจรทางอากาศที่ประเทศกัมพูชา ภายใต้บริษัท CATS ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำให้แก่กลุ่มสามารถอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2563 พบว่า กลุ่มสามารถมีรายได้รวม 1,936 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.61 เปอร์เซนต์ และมีผลขาดทุนสุทธิ 113 ล้านบาท ลดลงกว่า 43 เปอร์เซนต์จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ผลประกอบการดังกล่าวสะท้อนว่า แม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิดระลอกสามที่ทวีความรุนแรง มาตั้งแต่ช่วงต้นไตรมาสสอง บริษัทยังคงสามารถสร้างรายได้เพิ่มและบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพิจารณาโอกาสในการประมูลงานและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว คาดว่าผลประกอบการรวมของกลุ่มสามารถจะขยับไปในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยจะมีการรับรู้รายได้จากโครงการใหม่เพิ่มเติม อาทิ โครงการ Direct Coding (โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าประเภทสุราแช่ชนิดเบียร์ ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย) ซึ่งขณะนี้ บริษัทได้ติดตั้งระบบรหัสควบคุมบนบรรจุภัณฑ์ในโรงงานผลิตเครื่องดื่มไปแล้วกว่า 90 เปอร์เซนต์ และจะเริ่มทยอยรับรู้รายได้ในไตรมาส 4 นี้

สำหรับสายธุรกิจ ICT ภายใต้ บมจ. สามารถเทลคอม มีรายได้เฉพาะไตรมาส 2 รวม 1,608 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 515 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47 และมีกำไรสุทธิ 30.8 ล้านบาท พลิกฟื้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รวมครึ่งปีแรกมีการลงนามสัญญาไปแล้วกว่า 1,900 ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นไตรมาส 2 มีมูลค่างานในมือ (Backlog) รวมกว่า 5,600 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่างการประมูลงานหลายโครงการ มูลค่ารวมมากกว่า 5 พันล้านบาท เช่น โครงการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง การนิคมอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น และจะมีการต่อยอดโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ภายในปีนี้อีกประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าในสิ้นปี 2564 จะมี Backlog ไม่ต่ำกว่า 9,000 ล้านบาท

ด้านธุรกิจ Digital Services ซึ่งจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของบมจ. สามารถดิจิตอล ก็มีความคืบหน้าในการขยายฐานผู้ใช้บริการระบบโทรคมนาคม Digital Trunk Radio อย่างชัดเจน โดยนอกจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะเป็นผู้ใช้บริการนำร่องแล้ว ยังมีอีกหลายองค์กรที่ให้ความสนใจในการใช้ระบบการสื่อสาร Digital Trunk Radio เพื่อเสริมประสิทธิภาพการสื่อสารเฉพาะกิจ ยิ่งไปกว่านั้น สามารถดิจิตอลยังเตรียมยกเครื่องบริการ Horoworld ให้สามารถตอบสนองและเข้าถึงผู้ใช้บริการในยุคดิจิตอลมากขึ้น เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนเปิดตัว Mobile Application ใหม่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อเสริมสร้างรายได้ประจำให้แก่บริษัทในอนาคต

เนื่องจากกลุ่มสามารถมีพอร์ตธุรกิจที่หลากหลาย และมีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน จึงสามารถประคับประคองธุรกิจในภาวะวิกฤตที่กำลังเผชิญ

 

“โดยบริษัทมีความมั่นใจว่าเมื่อเราสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติหลังสถาณการณ์โควิดคลี่คลาย ผลการดำเนินงานของกลุ่มสามารถจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับการเดินทาง ดังนั้นในช่วงเวลานี้ สิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญ คือ การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อเวลามาถึง” นายวัฒน์ชัยกล่าว

สำหรับโอกาสทางธุรกิจของกลุ่มสามารถ จากการศึกษาถึงความจำเป็นและความต้องการของหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาคุณภาพบริการประชาชน ตลอดจนข้อจำกัดในการลงทุนของแต่ละหน่วยงาน จึงเป็นที่มาของการนำเสนอรูปแบบความร่วมมือทางธุรกิจ B2G2C โดยบริษัทจะเป็นผู้ลงทุนพัฒนาและติดตั้งระบบให้ก่อน จากนั้นค่อยทยอยรับรู้รายได้จากส่วนแบ่งค่าบริการที่เกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งรูปแบบธุรกิจนี้ได้นำไปใช้แล้วในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสินค้าเบียร์ที่ผลิตในประเทศของกรมสรรพสามิต หรือ Direct Coding ที่บริษัทได้เซ็นต์สัญญาไปเมื่อปีที่ผ่านมา มูลค่ากว่า 8 พันล้านบาท เป็นระยะสัญญา 7 ปี โดยจะเริ่มใช้งานในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 พันล้านบาท โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษีเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป นอกจากนี้ เทคโนโลยี Direct Coding ที่ใช้ในโครงการนี้ ยังสามารถต่อยอดไปใช้กับการเก็บภาษีสินค้าประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสุรา น้ำผลไม้ จนถึงน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

โดยธุรกิจ ICT Solution เซ็นต์สัญญาโครงการใหม่เฉพาะไตรมาสแรกของปีนี้รวมมูลค่า 1,331 ล้านบาท อาทิ โครงการติดตั้งอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมูลค่า 380 ล้านบาท และสัญญาซื้อขายชุดเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Cyber Intelligence มูลค่า 189 ล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบันมีมูลค่าโครงการในมือรวม 6,872 ล้านบาท โดยตั้งเป้าทั้งปีในการเซ็นต์สัญญาโครงการใหม่อีกราว 8 พันล้านบาท ซึ่งหนึ่งในโครงการเป้าหมายหลัก คือ โครงการระบบ AMI (Advance Metering Infrastructure) หรือ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการวัดค่าพลังงานไฟฟ้าขั้นสูง ซึ่งจะช่วยบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและพัฒนาธุรกิจใหม่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น และนายรัฐนันท์ วิไลลักษณ์ Brand & Marketing Executive ของ “Pokpong Mobile Application" เปิดตัว Application “ปกป้อง” อย่างเป็นทางการ ผ่าน Live Streaming

ธุรกิจ Samart Digital นอกจากธุรกิจการให้บริการดิจิทัลทรังก์เรดิโอ (Digital Trunked Radio System) ซึ่งอยู่ระหว่างการขยายฐานลูกค้าในครอบคลุมมากขึ้น ผ่านความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐหลายแห่ง ล่าสุด บริษัทยังได้เปิดตัวบริการใหม่ ด้าน Mobile Security Application ในนาม “ปกป้อง” ทั้งนี้ เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนในยุคดิจิตอล อีกทั้ง ยังเตรียมการเปิดตัว HoroWorld บริการโหราพยากรณ์ครบวงจรออนไลน์เต็มรูปแบบผ่าน Mobile Application ในเร็วๆนี้

สำหรับธุรกิจที่ต้องรอให้การเดินทางและการท่องเที่ยวฟื้นตัว คือ สายธุรกิจ Samart U-Trans โดยบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด หรือ (CATS) ที่ทำธุรกิจด้านการจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชา ซึ่งจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบินลดลง ทำให้ได้รับผลกระทบค่อนข้างสูง แต่เชื่อว่าเมื่อสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลายและการเดินทางท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง กลุ่มธุรกิจนี้จะกลับมาสร้างรายได้หลักให้แก่กลุ่มสามารถอย่างแน่นอน ซึ่งไม่เพียงเท่านั้นในประเทศกัมพูชาเองก็มีการเตรียมพร้อมด้านการท่องเที่ยว โดยมีการปรับปรุงสนามบินเก่าและสร้างสนามบินใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ Darasakor , New Siem Reap และ New Phompenh Airport ซึ่งจะมีสนามบินที่ทันสมัยติด 1 ใน 10 ของโลกด้วย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 5 ปี ที่สำคัญ คือ CATS จะเป็นผู้ให้บริการระบบวิทยุการบินในทุกสนามบินอีกด้วย

อนึ่ง กลุ่มบริษัทสามารถ มีความห่วงใยและพร้อมส่งกำลังใจให้ทุกคนสู้ภัยโควิด-19 นายวัฒน์ชัย เปิดเผยว่า “ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน รวมถึงความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การระบาด กลุ่มบริษัทสามารถในฐานะที่เป็นภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีครบวงจร ที่ผ่านมาได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อต่างๆอย่างเคร่งครัด รวมถึงบริษัทได้ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคส่วนต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในด้านการรองรับผู้ป่วย COVID-19 ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ โดยพนักงานได้ร่วมกันระดมกล่องและลังกระดาษที่ไม่ใช้แล้วบริจาคให้แก่ SCGP เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นเตียงสนาม กระจายให้กับโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ พร้อมกับมอบโทรศัพท์มือถือให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในส่วนของชุมชน จ.นนทบุรี บริษัทได้ร่วมบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และ แอลกอฮอล์ ให้กับโรงพยาบาลสนามในจ.นนทบุรี จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลบางบัวทอง 1-2 โรงพยาบาลบางใหญ่ โรงพยาบาลบางกรวย ศูนย์การแพทย์ และนนทบุรีวิทยาลัย กลุ่มบริษัทสามารถ ขอส่งมอบกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ผู้เสียสละ และร่วมเป็นหนึ่งในพลังให้เราก้าวผ่านวิกฤตนี้อย่างเข้มแข็งไปด้วยกัน

กลุ่มบริษัทสามารถ ร่วมสนับสนุนโครงการ “เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนาม SCGP” โดยพนักงานบริษัทในเครือได้ร่วมกันระดมกล่องและลังกระดาษที่ไม่ใช้แล้วบริจาคให้แก่ SCGP เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นเตียงสนาม กระจายให้กับโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ

“บริษัทใช้เวลาหลายปีในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยเน้นที่การพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจหลังโควิด ซึ่งผมเชื่อว่าหลังวิกฤตครั้งนี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ซึ่งจะส่งผลบวกต่อการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง” นายวัฒน์ชัย กล่าวทิ้งท้าย



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 30 September 2021 12:07
อดิพันธ์ อภิชาติทนงกุล

Author : เกาะติดข่าวในอุตสาหกรรมยานยนต์ Automotive อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์

รวมถึงเทคโนโลยีในด้านนั้นๆ

Latest from อดิพันธ์ อภิชาติทนงกุล

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion จัดงานมินิโรดโชว์ลำปาง 18-22 ธันวาคม 2567 พร้อมโปรโมชันดีส่งท้ายปี

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM