IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
อันจะเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร รวมถึงดึงดูดการลงทุนของนักธุรกิจจากสหราชอาณาจักรมาสู่ประเทศไทยกิจกรรมการประชุมพบปะนักลงทุน จัดขึ้น ณ ห้องประชุม The Empire โรงแรม Landmark
โดยมีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมาเข้าร่วมงานประมาณ 100 คน ซึ่งในงานมีการบรรยายเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทย สถานการณ์การส่งออกของไทยภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย
มีผู้นำเสนอจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่
- นายวโรทัยฯ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- นางลัษมณ อรรถาพิช รองเลขาธิการสายงานบริหารความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก
- นายรักษ์ วรกิจโภคาทร รองกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และ
- นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย
นายวโรทัยฯ ได้นำเสนอถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนได้จากเศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ในครึ่งปีแรกของปี 2561 โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญจากการส่งออกทั้งสินค้าและบริการ รวมทั้งเริ่มมีสัญญาณการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและรายได้เกษตรกรขยายตัวได้ดี พร้อมทั้งมีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมสูง ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง มีอัตราการว่างงานต่ำ หนี้สาธารณะอยู่ในกรอบที่กำหนด และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพียงพอ จึงทำให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2561 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.5 (ประมาณการ ณ เดือนกรกฎาคม 2561) นอกจากนี้ ยังได้มีการนำเสนอ
นโยบายสนับสนุน การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาล เช่น
-
ยุทธศาสตร์ National e-Payment เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของไทยให้สอดรับกับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล
-
แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อยกระดับศักยภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย
-
นโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตซึ่งจะช่วยจุดประกายการเติบโตเศรษฐกิจรอบใหม่
-
มาตรการส่งเสริมการร่วมลงทุนที่สำคัญ เช่น PPP Fast Track และความคืบหน้าของ Thailand Future Fund รวมถึง
-
โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
-
การประมูลพันธบัตรรัฐบาลในช่วงเดือนกันยายน และ 7) พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งช่วยรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลัง
นางลัษมณฯ นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่ได้เปิดให้เอกชนยื่นประมูลเพื่อพัฒนาโครงการ ซึ่งล่าสุดมีเอกชนทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชน (RFP) ถึง 31 ราย ความก้าวหน้าโครงการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา (TG MRO Campus)
รวมทั้งนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการลงทุนสำคัญ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย การปรับปรุงสิทธิประโยชน์การลงทุนของประเทศไทย และแผนการลงทุนเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ
นายรักษ์ฯ ได้กล่าวถึงบทบาทของการส่งออกที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและการกระจายตัวของตลาดส่งออกและประเภทสินค้าส่งออกของไทย (Well-diversified Markets & Products) อีกทั้งยังมีบทบาทของนโยบายภาครัฐในการผลักดันเศรษฐกิจ เช่น (1) นโยบาย EEC ที่จะช่วยยกระดับการผลิตและการส่งออกของประเทศภายใต้การดึง 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้ลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก (2) นโยบายส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศใน 4 มิติ (2.1) การขยายฐานตลาดส่งออกใหม่ (New Frontiers) (2.2) การส่งเสริมการลงทุนของธุรกิจไทยในประเทศเพื่อนบ้าน (2.3) การส่งเสริมธุรกิจ e-Commerce โดยเฉพาะธุรกิจที่จะเพิ่มโอกาสการส่งออกของประเทศไทย และ (2.4) การเน้นภาคบริการที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศในอนาคต ทั้งนี้ ธสน. จะเป็นองค์กรของรัฐที่ให้การสนับสนุนทางการเงินกับภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนในภูมิภาคต่อไป
นายไพบูลย์ฯ ได้เชิญชวนให้นักลงทุนที่เข้าร่วมสัมมนาพิจารณาขยายการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของไทย โดยกล่าวว่า ในช่วงปี ค.ศ. 2008 – 2017 มูลค่าโดยรวมของตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Market Capitalization) ขยายตัวเฉลี่ยในระดับสูงกว่าร้อยละ 20.4 ต่อปี อันเป็นผลมาจากกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เติมโตได้อย่างต่อเนื่องในช่วงดังกล่าวที่เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 13.6 ต่อปี ประกอบกับมีบริษัทจดทะเบียนใหม่ (IPO) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ตลาดทุนไทยมีมูลค่าใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคอาเซียนและมีสภาพคล่องการซื้อขายสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน นำหน้าประเทศสิงคโปร์นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 ทั้งนี้ ในสภาวะปัจจุบันที่นักลงทุนต่างชาติมีการขายหลักทรัพย์ในกลุ่มตลาดประเทศเกิดใหม่ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของไทยในปัจจุบันที่มีสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดที่ร้อยละ 29 นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจโลกปี ค.ศ. 2008 ท่ามการอัตราการทำกำไรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยในปี ค.ศ. 2019
ทั้งนี้ กิจกรรมการประชุมพบปะนักลงทุนในครั้งนี้ เป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติและทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้าใจถึงทิศทางเศรษฐกิจไทย นโยบายของภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ และโอกาสทางการลงทุนของไทยเป็นอย่างดี