December 22, 2024

CPF คว้ารางวัลใหญ่ “ไก่ไทยจะไปอวกาศ” รับรางวัลพระราชทาน Thailand Corporate Excellence Awards และติด 11 บริษัทระดับโลกแบบอย่างที่ดี 2 ปีติด "ศุภชัย" โชว์วิสัยทัศน์ “ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน”

ซีพีเอฟ รับรางวัลพระราชทาน Thailand Corporate Excellence Awards 2023 สาขาความเป็นเลิศด้านการตลาด จากโครงการ “ไก่ไทยจะไปอวกาศ” ในพิธีประกาศผลและมอบรางวัลพระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี  คุณประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ซีอีโอ ซีพีเอฟ รับรางวัล สะท้อนความมุ่งมั่นการยกระดับความปลอดภัยอาหารสู่มาตรฐานขั้นสูงระดับอวกาศ ตอกย้ำการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการสู่ผู้บริโภค ควบคู่กับการสร้างคุณค่าแก่สังคม ชุมชน และประเทศ บนพื้นฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืน

คุณประสิทธิ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ “ครัวของโลกที่ยั่งยืน” เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพและดีต่อใจ เป็นที่มาของโครงการ “ไก่ไทยจะไปอวกาศ” ที่มุ่งมั่นยกระดับเนื้อไก่ไทยสู่มาตรฐานความปลอดภัยระดับอวกาศ (Space Food Safety Standard) โดยวิจัยร่วมกับสองพันธมิตรจากสหรัฐอเมริกา NANORACKS LLC และ MU Space ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค นับเป็นครั้งแรกที่ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยก้าวสู่มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงที่ไม่ใช่แค่ระดับโลก แต่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศทานได้

“ซีพีเอฟ มีความภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัลพระราชทานในครั้งนี้ สะท้อนความมุ่งมั่นและความสำเร็จที่แสดงถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ เพื่อนำเสนอสินค้าที่ดีภายใต้แบรนด์ CP สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของเรา เกินกว่าความคาดหมายของลูกค้าในเรื่องของคุณภาพของสินค้าและบริการ เป็นอีกภารกิจที่พิสูจน์ว่าเนื้อไก่ CP เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ช่วยยืนยันว่าคนไทยทุกคนได้ทานไก่ปลอดภัยในระดับเดียวกับนักบินอวกาศทาน” คุณประสิทธิ์ กล่าว

ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย ทุกคำที่บริโภคต้องมีคุณค่าทางโภชนาการในราคาเหมาะสม โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัย ได้แก่ นวัตกรรม (Innovation) สุขภาพ (Wellness) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Planet) ควบคู่กับการศึกษาความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อนำมาต่อยอดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงออกแบบการสื่อสาร สร้างสรรค์แคมเปญที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และเทรนด์ต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพอาหาร เปิดประสบการณ์การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนไทย

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ตั้งแต่กระบวนการการเลี้ยงสัตว์ให้มีสุขภาพแข็งแรง ด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ การเลี้ยงในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่มีระบบการจัดการฟาร์มที่ดี สะอาด มีระบบป้องกันโรค การพัฒนาอาหารสัตว์ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของสัตว์ คิดค้นสูตรอาหารสัตว์จากนวัตกรรมโปรไบโอติก ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่ทำให้ลำไส้สัตว์แข็งแรง โดยร่วมกับสถาบันวิจัยระดับโลก คัดเลือกโปรไบโอติกจาก 125,000 สายพันธุ์ จนได้โปรไบโอติกแข็งแรงที่สุดเพียง 10 สายพันธุ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ทำให้ไก่แข็งแรงตามธรรมชาติ ไม่ป่วย จึงไม่ต้องใช้ยา ทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ปลอดภัย และปลอดสารตกค้าง 100%

ภายใต้ความมุ่งมั่นเป็นครัวของโลก ซีพีเอฟ ยึดมั่นใน “ปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน” ตามดำริของประธานอาวุโสธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน และบริษัท สอดรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) สนับสนุนเป้าหมายระดับโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) สะท้อนความตั้งใจจริงของบริษัทที่มีมาอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างคุณค่าที่ดีให้กับสังคม ชุมชน และโลก

 

CPF รับโล่ประกาศเกียรติคุณ องค์กรผู้นำด้านการจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization: CALO) ประเภทโดดเด่น ตอกย้ำระบบบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยอาหาร และความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์มาตรฐานระดับสากล

นายสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ องค์กรผู้นำด้านการจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization: CALO) ประเภทโดดเด่น จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. โดยมี คุณสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) รับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในงานพิธีปิดการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่ผ่านมา

“ซีพีเอฟรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับรางวัลนี้ โดยเครือซีพีและทุกบริษัทในเครือร่วมกันมุ่งมั่นที่จะช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งวันนี้เครือฯ ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 3 รางวัล โดยได้รับรางวัลในระดับทอง 2 รางวัล คือ การตรวจวัด (Measure) และการลด (Reduce) และได้รับรางวัลในระดับเงิน 1 รางวัล ด้านการชดเชย (Contribute) รางวัลแรกคือการวัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมทั้ง Scope 1 และ 2 ซึ่งเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดภายในการดำเนินงานของเรา”

สนับสนุนให้องค์กรต่างๆ มาร่วมลดก๊าซเรือนกระจกไปด้วยกัน ซึ่งเป็น 3 ส่วนที่ทำให้เราได้รับรางวัลในวันนี้ นับเป็นการประสบความสำเร็จในก้าวแรก และเครือฯ จะมุ่งมั่นที่จะร่วมลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อโลกที่ยั่งยืนต่อไป

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 คือตลอดห่วงโซ่คุณค่าของซีพีเอฟ ในส่วนรางวัลที่ 2 เป็นเรื่องของการลด ซึ่งเกณฑ์การที่จะได้รางวัลในระดับเหรียญทองนั้น ต้องมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้ได้อย่างน้อย 2.5% จากปีก่อนหน้า ส่วนรางวัลที่ 3 ในเรื่องของการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยคาร์บอนเครดิต ต้องมีการสนับสนุนซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยส่วนหนึ่ง และสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ มาร่วมลดก๊าซเรือนกระจกไปด้วยกัน ซึ่งเป็น 3 ส่วนที่ทำให้เราได้รับรางวัลในวันนี้ นับเป็นการประสบความสำเร็จในก้าวแรก และเครือฯ จะมุ่งมั่นที่จะร่วมลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อโลกที่ยั่งยืนต่อไป

ด้าน นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ได้รับใบรับรองมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ PS 7818:2018 ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์และโรงฟัก ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโรงงานแปรรูปอาหาร รวมทั้งสิ้น 117 แห่ง โดยมี นายอุดมศักดิ์ สันทิฐิกวงศ์ ผู้จัดการประเทศ บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนมอบ พร้อมกันนี้ ผู้บริหารธุรกิจไก่เนื้อ-เป็ดเนื้อครบวงจรรับใบรับรองระบบบริหารคุณภาพ (ISO 9001:2015) ใบรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร (ISO 22000:2018) ใบรับรองการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีและระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (GHPs & HACCP) และในโอกาสนี้ มร.ท็อด เรดวู๊ด Managing Director, Global Food and Retail ได้ร่วมแสดงความยินดี ในฐานะพันธมิตรที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของซีพีเอฟในการร่วมสร้างความยั่งยืน

“การที่ซีพีเอฟได้รับรองมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ PS 7818:2018 ใบรับรอง ISO 9001:2015 และใบรับรอง ISO 22000:2018 สะท้อนการบริหารงานที่มีมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง และเป็นบริษัทแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมาตรฐานของตนเอง (Private Standard) ภายใต้คำแนะนำและการสนับสนุนโดย BSI เพื่อมุ่งมั่นส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีสู่ผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ สร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งความร่วมมือกับพันธมิตร BSI UK ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการสร้างมาตรฐานระดับโลกที่มุ่งเน้นสร้างมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ”

ถือเป็นการยกระดับระบบบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยอาหาร และความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวทั่วโลก (One Standard for All) ภายใต้วิสัยทัศน์เป็น “ครัวของโลก” ซีพีเอฟร่วมกับสถาบันมาตรฐานอังกฤษ (British Standards Institution: BSI) ริเริ่มโครงการมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ พัฒนามาตรฐานอาหารของบริษัทในด้านระบบบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยอาหาร และความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเป็นระบบเดียวกันทั่วโลก โดยนำร่องใช้ในธุรกิจไก่เนื้อครบวงจรโคราช (Korat Model) ที่บรรลุเป้าหมายในการตรวจรับรองจากหน่วยงานอิสระภายนอก และขยายผลครอบคลุมธุรกิจไก่เนื้อและเป็ดเนื้อ ซึ่งบริษัทฯ ยังมีเป้าหมายในการขยายผลการรับรองไปยังธุรกิจอื่นๆ ต่อไปในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนและครบวงจร

“การได้รับรองมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ PS 7818:2018 ตอกย้ำความมั่นใจว่าซีพีเอฟมีการควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ครอบคลุมธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ และธุรกิจอาหาร (Feed Farm Food) เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอ” นายสิริพงศ์กล่าว

ทั้งนี้ มาตรฐานอาหารซีพีเอฟ (CPF Food Standard) เป็นการบูรณาการมาตรฐานต่างๆ เช่น GHPs HACCP/CODEX , ISO 9001, ISO 22000 กฎระเบียบอาหารภายในและต่างประเทศ หลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และข้อกำหนดของลูกค้า เช่น BRC สร้างการยอมรับจากลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์ที่ดีสม่ำเสมอตลอดห่วงโซ่การผลิต

และซีพีเอฟยังเดินหน้าพัฒนาศักยภาพคู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง โดย บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับกลุ่ม SMEs เป็นลำดับแรก ผ่านการดำเนินโครงการ “SMEs PLUS” ระดมสรรพกำลังกับหน่วยงานในบริษัทฯ ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอย่างรอบด้านให้กับคู่ค้า SMEs ประมาณ 6,500 ราย โดยในปีนี้ดำเนินรวม 6 โครงการ อาทิ การพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อยที่มีศักยภาพนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ การสนับสนุนให้คู่ค้ามีความรู้การผลิตสินค้าคาร์บอนต่ำ การยกระดับความปลอดภัยของสินค้า เป็นต้น ซึ่งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ตามหลักการ ESG (Environmental, Social, Governance) เพื่อสร้างความสำเร็จและการเติบโตไปด้วยกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงด้านอาหารอีกด้วย

สภาธุรกิจโลก หรือ WBCSD ได้เปิด 11 รายชื่อบริษัทระดับโลกเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดทำรายงานความยั่งยืน โดยเครือซีพีจากประเทศไทยติดอันดับต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ชี้มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน- สร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council on Sustainable Development - WBCSD) องค์กรระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนโดย CEO ของธุรกิจชั้นนำมีสมาชิกทั่วโลกมากกว่า 250 องค์กร ได้เผยแพร่รายงาน Reporting Matters ประจำปี 2023 วิเคราะห์และประเมินผลการจัดทำรายงานความยั่งยืนของบริษัทเอกชนจากทั่วโลกที่เป็นสมาชิก WBCSD โดยในปีนี้ได้เปิดรายชื่อ 11 บริษัทชั้นนำที่จัดรายงานความยั่งยืนดีเด่น โดยมีเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี จากประเทศไทย ติด 1 ใน 11 บริษัทที่ได้รับคะแนนสูงสุดเนื่องจากมีความโดดเด่นในการจัดทำประเด็นสำคัญและมียุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนครอบคลุมทุกมิติ รวมถึงมีการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยซีพีได้รับการประเมินในระดับ Top Performer ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ทั้งนี้ในส่วนของ 11 บริษัทที่ได้รับการประเมินว่าเป็นผู้จัดทำรายงานความยั่งยืนดีเด่นระดับโลกประจำปี 2566 ประกอบด้วย

  1. บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด - ประเทศไทย
  2. DSM - บริษัทข้ามชาติของเนเธอร์แลนด์ที่ดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพ โภชนาการ
  3. EDP - Energias de Portugal - บริษัทสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าของโปรตุเกส
  4. Enel S.p.A. ผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากอิตาลี
  5. Eni S.p.A. บริษัทสัญชาติอิตาลีในธุรกิจน้ำมันและแก๊ส
  6. ERM ที่ปรึกษาด้านธุรกิจและบริการด้านความยั่งยืนจากสหราชอาณาจักร
  7. Mondi Group บริษัทกระดาษและบรรจุภัณฑ์จากออสเตรีย
  8. Novartis บริษัทยาชั้นนำของสวิตเซอร์แลนด์
  9. Philip Morris International SA บริษัทผลิตบุหรี่และยาสูบสัญชาติอเมริกัน
  10. Solvay S.A. ผู้ผลิตและจำหน่ายเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และพลาสติกของเบลเยี่ยม
  11. Stora Enso Oyj ผู้ผลิตเยื่อกระดาษของฟินแลนด์

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่ารายงานความยั่งยืนถือเป็นเสาหลักสำคัญของการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง อันเป็นผลมาจากการสร้างความตระหนักรู้วางเป้าหมายกำหนดตัวชี้วัด การสื่อสารขององค์กรและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นเนื้อเดียวกับการดำเนินธุรกิจ นับเป็นการส่งเสริมความโปร่งใสของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะจะนำไปสู่การเปรียบเทียบผมการดำเนินการปีต่อปี ทั้งของตัวเองและกับผู้อื่นเกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดการตรวจสอบติดตามผล ลดความเสี่ยงของ Green Washing หรือการสร้างภาพลักษณ์ด้านความยั่งยืนเพื่อกลบเกลื่อนการประกอบธุรกิจที่ส่งผลในเชิงลบ ขาดความรับผิดชอบ และสุดท้ายกลไกของความโปร่งใสจะก่อให้เกิดการแข่งขันการทำความดีหรือ Race to the Top

รายงานความยั่งยืนถือเป็นเสาหลักสำคัญของการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง อันเป็นผลมาจากการสร้างความตระหนักรู้วางเป้าหมายกำหนดตัวชี้วัด การสื่อสารขององค์กรและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นเนื้อเดียวกับการดำเนินธุรกิจ นับเป็นการส่งเสริมความโปร่งใสของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

โดยเรื่องนี้ นายสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) เปิดเผยว่า เครือซีพีมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ WBCSD ยกย่องให้เครือฯเป็นแบบอย่างที่ดีติดท็อปองค์กรธุรกิจชั้นนำระดับโลกในการการจัดรายงานความยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยการคัดเลือกรายงานด้านความยั่งยืนทาง WBCSD ได้กำหนดเกณฑ์การประเมิน 3 ด้านหลักคือ Principles Content และ Effectiveness โดยเครือซีพีได้รับการประเมินว่ามีการปรับปรุงและพัฒนาการจัดทำรายงานด้านความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานระดับสากลมาอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดขอบเขตของรายงานที่ครอบคลุมทุกมิติด้านความยั่งยืนทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และได้มีการระบุรายละเอียดของมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงในการจัดทำรายงาน

นายสมเจตนา กล่าวต่ออีกว่า ในปีนี้เครือฯ ได้รับการประเมินผลภาพรวมรายงานความยั่งยืนของเครือฯประจำปี 2022 ที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีความโดดเด่นใน 3 ด้านสำคัญคือ

  1. มีกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality Assessment) ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Double และ Dynamic มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งช่วยให้เครือฯ มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับประเด็นด้านความยั่งยืนและเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตามสถานการณ์และช่วงเวลา
  2. เครือฯ มียุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนที่ชัดเจน รวมถึงแผนการดำเนินงาน มีการแสดงผลกระทบด้านการเงินและหลักฐานการดำเนินงานสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการประกาศเป้าหมายนำองค์กรสู่ Net Zero ในปี 2050 ที่ชัดเจน โดยได้มีการจัดทำแผนกำหนดขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครอบคลุม 3 ขอบเขตสำคัญทั้งระยะสั้นและยาว ถือเป็นสิ่งแสดงความมุ่งมั่นขององค์กรพร้อมสะท้อนความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะชนในวงกว้าง
  3. เครือฯมีการกระบวนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยเครือฯ ดำเนินการสำรวจความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกปีเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลเชิงลึกจากผู้มีส่วนได้เสียของเราโดยตรง อีกทั้งยังเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของเราในการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

สำหรับปีนี้เครือฯ ได้เปิดตัวรายงานความยั่งยืนประจำปี 2022 ภายใต้แนวคิด “ผู้นำด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อพรุ่งนี้ที่ดีกว่า” เพื่อเปิดเผยผลการดำเนินงานที่มุ่งมั่นและตั้งใจในการขับเคลื่อนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนสู่ปี 2030 ของเครือฯ รวมทั้งสิ้น 15 เป้าหมาย ภายใต้กรอบการทำงาน 3 เสาหลัก คือ Heart - Health - Home ที่ครอบคลุมทุกมิติของความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) โดยนำเสนอผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมทั้งในแง่ของความสำเร็จ และในด้านของความท้าทายที่เครือฯ และบริษัทในเครือฯ ต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนแผนงานเพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต โดยในรายงานฉบับนี้เน้นย้ำไปที่การพัฒนาใหม่ ๆ ของเครือซีพี และความก้าวหน้าในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์

รายงานฉบับนี้ยังเปิดเผยผลการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับบริบทการดำเนินงาน และผลกระทบภายนอกที่อาจมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงจัดการความเสี่ยงขององค์กร โดยผลจากการวิเคราะห์ได้รวมเข้าไปในกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแบบ Double และ Dynamic ซึ่งจะช่วยให้เครือฯ มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหัวข้อความยั่งยืนที่มีความสำคัญ ทำให้การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียมีประสิทธิภาพดีขึ้น สามารถจัดการความเสี่ยง ระบุโอกาส ปรับปรุงการรายงาน และสร้างมูลค่าระยะยาวได้ดีขึ้น แนวทางนี้ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบเชิงลบทั้งต่อการดำเนินงานและสังคมในวงกว้าง

นอกจากนี้ เครือซีพี ได้จัดทำรายงานเฉพาะเรื่องเพิ่มเติมอีก 6 ฉบับ ได้แก่

  1. Double and Dynamic Materiality Assessment Report 2022
  2. Stakeholder Engagement Report 2022
  3. Sustainability Performance Report 2022
  4. Sustainable Development Goals (SDGs) Report 2022
  5. Task Force on Climate-related Financial Disclosure (TCFD) Report 2022
  6. Biodiversity (TNFD) Report 2022 โดยปีนี้ถือเป็นปีแรกที่เครือซีพีได้จัดทำ Biodiversity (TNFD) Report 2022 ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานของเครือซีพี

“คุณศุภชัย เจียรวนนท์” ซีอีโอเครือซีพี ร่วมแสดงวิสัยทัศน์บนเวที “TSCN CEO PANEL: ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน” ในงานมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน SUSTAINABILITY EXPO 2023

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ C.P. Group ร่วมแสดงวิสัยทัศน์บนเวทีเสวนา “TSCN CEO PANEL: ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน” ในงานมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน SUSTAINABILITY EXPO 2023 (SX2023) พร้อมผู้บริหารองค์กรชั้นนำ คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี โดยมี คุณสุทธิชัย หยุ่น เป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อนำเสนอแนวทางด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนมาปรับใช้ในการบริหารธุรกิจ รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์จากการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน หวังพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำองค์กรภาคธุรกิจอื่นๆ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ทั้งนี้ภายในงานมีผู้บริหารองค์กรชั้นนำ นักธุรกิจ ผู้ประกอบการหลายหลายสาขาให้ความสนใจเข้าร่วมฟังกว่า 1,000 คน ณ SX GRAND PLENARY HALL ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า แม้ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายเรื่อง แต่เรื่องความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญและมีการขับเคลื่อนเพิ่มขึ้น โดยทาง UN มองว่าประเทศไทยมีศักยภาพเรื่องของความยั่งยืนและเป็นตัวอย่างที่ดีในอาเซียน เพราะแม้จะเจอผลกระทบของโลกในหลายด้าน แต่ก็มีการปรับตัว โดยเฉพาะการให้ความสำคัญในเรื่องของการลดคาร์บอน ซึ่งนโยบายภาครัฐจะต้องสนับสนุนการใช้รถยนต์ EV การใช้พลังงานสะอาด การทำโซลาร์ฟาร์ม การให้อินเซนทีฟกับผู้ประกอบการในเรื่องความรู้และนวัตกรรม เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เครือซีพีได้มีประกาศเป้าหมายและยุทธศาสตร์ความยั่งยืนที่ชัดเจน และได้ประกาศเป้าหมายนำองค์กรสู่ Carbon Neutral ในปี 2030 ซึ่งเครือซีพีได้ดำเนินการลดคาร์บอนไปแล้ว 70% โดยได้ดำเนินการใน scope 1 และ scope 2 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรแล้ว ขณะเดียวกันก็เริ่มดำเนินการใน scope 3 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ใหญ่และท้าทายอย่างมาก แต่เครือซีพีจะไม่ละความพยายามที่จะต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือกับคู่ค้าและภาคส่วนอื่นๆ ด้วย

คุณศุภชัย ได้ให้คำแนะนำในการทำธุรกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืนจำเป็นต้องมีการตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน และต้องมองกลไกการตลาดควบคู่ไปด้วย ในขณะเดียวกันต้องมองความท้าท้ายใน 3 เรื่องใหญ่คือ 1.Inclusive capital ลดความเหลื่อมล้ำ 2.ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และ 3.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมองว่าจะต้องให้ความสำคัญใน 2 ประเด็นคือ 1.ในภาคธุรกิจ ทุกบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องรีพอรต์เป้าหมายความยั่งยืน เช่น รีพอร์ตการลดคาร์บอน และ 2.ในภาคสังคมต้องให้ความสำคัญเรื่องระบบการศึกษา ที่จะต้องมีการเพิ่มเรื่องความยั่งยืนเข้าไปในหลักสูตร ปรับการเรียนการสอนโดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางให้เขาได้เกิดการเรียนรู้จากการได้ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง (Action Base Learning) เรียนรู้จากปัญหา ตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ พัฒนาร่วมกัน รวมไปถึงต้องให้ความสำคัญในเรื่อง Computer Science และการใช้เอไอ ซึ่งจะต้องปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีควบคู่กันไป

ซีอีโอเครือซีพี มองว่าการปรับองค์กรต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนา “คน” โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ต้องมีการทำงานข้ามบียู ข้ามองค์กร ซึ่งซีพีทำ 100% เพื่อให้พนักงานกล้าออกจากคอมฟอร์ทโซนมาเรียนรู้สิ่งใหม่นอกเหนือจากงานที่ทำอยู่ประจำ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน และจะทำให้พวกเขาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้องค์กรเพิ่มขึ้น เพราะถ้าให้คนรุ่นใหม่ทำงานเหมือนเดิม 3 ปีจากคนอัจฉริยะกลายเป็นคนธรรมดา จะต้องให้โอกาสพวกเขาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

“การปรับตัวให้อยู่รอดในยุคที่มีความท้าทายมากมายต้องให้ empowerment คนรุ่นใหม่ เพราะตอนนี้คือยุคของพวกเขา และต้องสร้างความร่วมมือในแบบ Chick to Click to Collaborate สร้างความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เราไม่จำเป็นต้องแข่งทุกเรื่อง แต่ต้องสร้างร่วมมือกันมากขึ้นทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประะชาสังคม เรื่องของความร่วมมือจึงเป็นประเด็นใหญ่และสำคัญในการตอบโจทย์การขับเคลื่อนความยั่งยืนให้ไปถึงเป้าหมาย ถ้าร่วมมือกันก็หักโค้งได้ทัน”

พร้อมเน้นย้ำปิดท้ายว่า ในยุคนี้ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ภาครัฐจะต้องเอาจริงเอาจังกับการวางโครงสร้างด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และต้องมีการวางเป้าหมายความยั่งยืนที่ชัดเจนโปร่งใส มี action plan และเปิดเผยข้อมูลนำเสนอต่อสาธารณะ โดยในยุคนี้ต้องให้คนทำสื่อไม่ว่าจะเป็นสื่อหลัก สื่อออนไลน์ ต้องมาเป็น facilitator ในการร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วย



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Monday, 04 December 2023 10:51
สมิตา ตั้งชินคุปต์

Author : ติดตามและเขียนข่าวด้าน Consumer Product ความเคลื่อนไหว การตลาด ธุรกิจ เทรนด์ หรือเรื่องราวของคนในวงการการตลาดฯ ตลอดจนงานสร้างสรรสินค้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

Latest from สมิตา ตั้งชินคุปต์

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM