![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im02_2024/CP_Group_01.jpg)
กล่าวได้ว่าเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมในมิติด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งยังได้คะแนนสูงสุดมากถึง 7 หัวข้อ ถือเป็นเอกชนไทยรายเดียวที่ติดอันดับในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวร่วมกับ SK Inc ธุรกิจโทรคมนาคมจากสาธารณรัฐเกาหลี Siemens AG บริษัทเทคโนโลยีของเยอรมัน Keppel Corporation Ltd. ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจนอกชายฝั่งและทางทะเลของสิงค์โปร์ และ Samsung C&T Corporation บริษัทชั้นนำด้านวิศวกรรมและการก่อสร้างระดับโลกจากสาธารณรัฐเกาหลี
คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า การที่เครือซีพีได้รับการคัดเลือกติดอันดับองค์กรชั้นนำใน The Sustainability Yearbook 2024 ด้วยคะแนนติด hTOP 5% ในกลุ่มอุตสาหกรรม Industrial Conglomerates ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จาก S&P Global สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของซีพีในการเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนใน 3 เป้าหมายหลัก คือ
- ตั้งเป้าหมายนำองค์กรสู่ Carbon Neutral ( Scope 1 และ 2) ในปี 2030 เพื่อมุ่งสู่ Net Zero ในปี 2050
- ของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบต้องเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)
- สนับสนุนผู้คน 50 ล้านคนให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
โดย CP Group ติดอันดับ Top 5% ได้คะแนนความยั่งยืนรวมจาก S&P Global อยู่ที่ 79% โดยได้รับคะแนนสูงสุดใน 7 หัวข้อสำคัญ ได้แก่
- การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
- การบริหารจัดการนวัตกรรม
- ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการหมุนเวียน
- กลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศ
- ความหลากหลายทางชีวภาพ
- การบริหารจัดการความเสี่ยง
- จริยธรรมทางธุรกิจ
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_20.jpg)
ปัจจุบันเครือซีพีและบริษัทในเครือฯ ได้ดำเนินการปรับโมเดลธุรกิจมุ่งส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำองค์กรสู่ Net Zero และ Zero Waste to Landfill อาทิ ได้มีการจัดการของเสีย ด้วยการนำมูลสัตว์ไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไปแล้วกว่า 5.8 แสนตัน มีการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดยเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้ 94% การผลิตไฟฟ้าจาก Solar PV ฟาร์มสุกร การติดตั้ง Solar Rooftop ที่ห้างค้าปลีกค้าส่งซึ่งในตอนนี้มีการติดตั้งไปแล้ว 4,950 แห่ง ในขณะเดียวกันมีการใช้ไบโอแก๊สทดแทนการใช้ไฟฟ้าของฟาร์มสุกร และฟาร์มไก่ไข่ไปแล้ว 55% ทำให้ลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึงกว่า 1.7 แสนตันคาร์บอน นอกจากนี้ยังได้มีการร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เช่น ความร่วมมือกับโตโยต้าและซีเจพีที ในการผลิตไฮโดรเจนจากไบโอแก๊สที่ได้จากมูลไก่ของฟาร์มซีพีเอฟ พร้อมทั้งมีการทดลองใช้ไฮโดรเจนในรถขนส่งกลุ่มค้าปลีก และโดรนการเกษตรด้วย พร้อมทั้งสนับสนุนให้พนักงานในเครือฯ คู่ค้า เกษตรกรร่วมกันปลูกต้นไม้ ปัจจุบันปลูกไปแล้ว 8.2 ล้านต้น เทียบเท่าการดูดซับก๊าซเรือนกระจก 7.8 แสนตันคาร์บอน
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_17.jpg)
นอกจากนี้เครือฯ ได้มีการวางแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 แบ่งเป็น Scope 1 และ 2 เน้นไปที่การใช้พลังงานหมุนเวียน 50%ด้วยการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล โซลาร์พีวี ก๊าซชีวภาพ รวมไปถึงมีการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน 20% และลดขยะของเสียสู่หลุมฝังกลบให้เป็นศูนย์ ทั้งในเรื่องของการผลิตปุ๋ย การส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก และในส่วนของ Scope 3 เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก แต่เครือฯ ต้องทำให้สำเร็จ ด้วยการร่วมมือกับคู่ค้าในการลดคาร์บอน 25% ลดคาร์บอนจากเกษตรกรรม 30% และการลดคาร์บอนจากการขนส่ง 25% ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เช่น การใช้รถยนต์ EV ในการขนส่งสินค้า และการบริหารจัดการ Logistics เป็นต้น
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_18.jpg)
สำหรับการประเมินความยั่งยืนองค์กรของ S&P Global ถือเป็นดัชนีที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทชั้นนำระดับโลก เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียว่า บริษัทมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในทุกมิติของความยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจและการกำกับดูแล สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนและสร้างคุณค่าระยะยาวให้กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน
โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา มีบริษัทเข้าร่วมการประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนกว่า 9,400 บริษัททั่วโลก และมีเพียง 759 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกจัดอันดับใน The Sustainability Yearbook 2024 โดยมีบริษัทจากประเทศไทยเพียง 47 บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับ ซึ่งนอกจากเครือซีพียังมีบริษัทในเครือฯ ที่ได้เข้าร่วมการประเมินความยั่งยืนองค์กรของ S&P Global ได้แก่ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บมจ. ซีพี ออลล์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ. ซีพี แอ็กซ์ตร้า
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/DMP_01.jpg)
“เนื้อหมูจากฟาร์มเกษตรกรรายย่อย” สู่ร้านค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ ซีพีเอฟ ช่วยหาตลาดรองรับ
อุตสาหกรรมหมูไทยที่ถูกหมูเถื่อนเข้ามาตีตลาด กระทบกับอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บางรายต้องเลิกเลี้ยงเพราะทนแบกรับภาวะขาดทุนไม่ไหว แต่เรื่องนี้กลุ่มเกษตรกรรายย่อย ร่วม 5,000 ราย ในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรกับ ซีพีเอฟ ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีบริษัทรับหน้าที่ช่วยหาตลาดรับซื้อผลผลิตหมูของเกษตรกรทั้งหมด เพื่อนำมาเข้ากระบวนการผลิตเป็นเนื้อหมูคุณภาพ จำหน่ายในร้านค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ (โมเดิร์นเทรด) อาทิ แม็คโคร โลตัส ตอกย้ำความมั่นใจแก่เกษตรกรว่าเป็นผู้ผลิตที่มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็มั่นใจได้ว่าได้บริโภคเนื้อหมูคุณภาพมาตรฐาน และยังมีส่วนร่วมสนับสนุนเกษตรกรไทยมีอาชีพที่ยั่งยืน
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_14.jpg)
คุณสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาราคาหมูผันผวนมาก จากหมูเถื่อนที่มาตีตลาดหมูไทย ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกร ในรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ปัจจุบันมีเกษตรกรย่อยอยู่ในโครงการนี้ 5,000 ราย ถือเป็นเกราะป้องกันสำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องเผชิญปัญหาความผันผวนของราคาหมู เนื่องจากเกษตรกรและบริษัทฯ ทำสัญญาตกลงราคากันไว้ โดยบริษัทฯ รับซื้อผลผลิตทั้งหมด เกษตรกรจึงไม่ต้องกังวลว่าผลิตแล้วจะไม่มีตลาดรองรับ ทำให้มีอาชีพที่ไร้ความเสี่ยงทั้งด้านราคาและการตลาด มีหลักประกันรายได้ที่มั่นคง
ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกร ในรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ปัจจุบันมีเกษตรกรย่อยอยู่ในโครงการนี้ 5,000 ราย ถือเป็นเกราะป้องกันสำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องเผชิญปัญหาความผันผวนของราคาหมู เนื่องจากเกษตรกรและบริษัทฯ ทำสัญญาตกลงราคากันไว้ โดยบริษัทฯ รับซื้อผลผลิตทั้งหมด
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_15.jpg)
ที่สำคัญ ผลผลิตหมูจากฝีมือเกษตรกรไทย ถูกส่งเข้าโรงงานเชือดชำแหละที่ได้มาตรฐานของ ซีพีเอฟ ผลิตเป็นเนื้อหมูคุณภาพจำหน่ายผ่านตลาดสด ร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ ร้านค้าปลีก และโมเดิร์นเทรดต่างๆ ส่งตรงถึงมือผู้บริโภค
นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์ สนับสนุนด้านการตลาดให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายกลาง 500 ราย ถือเป็นการสร้างห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภคชาวไทย
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_16.jpg)
การรับบท ‘ผู้ช่วยหาตลาดรองรับผลผลิต’ จากเกษตรกรรายย่อย ที่ ซีพีเอฟ ทำมากว่า 50 ปี จึงมีส่วนช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลเรื่องตลาดผันผวน ตัดวงจรเสี่ยงด้านราคา และเป็น “ตัวกลาง” ส่งต่อเนื้อหมูที่ผลิตจากฝีมือคนไทยเพื่อผู้บริโภคชาวไทยอย่างแท้จริง
![](/images/Xcustomer_year4/Xcustomer_im05_2022/PROJECT_FORCE-article_resize.jpg)
เกษตรกร ปลื้ม‼️ "ซีพีเอฟ ปันน้ำปุ๋ย” ช่วยลดต้นทุน-ผ่านพ้นวิกฤตแล้ง
CPF เดินหน้า “โครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร” แบ่งปันน้ำปุ๋ยจากระบบบำบัดของฟาร์มสุกรและคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ ส่งให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชในชุมชนรอบสถานประกอบการ บรรเทาผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เพิ่มรายได้
คุณสมคิด วรรณลุกขี ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจไก่ไข่ CPF เปิดเผยว่า คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ของ CPF ดำเนินโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ตั้งแต่ปี 2564 ด้วยการนำน้ำจากระบบไบโอแก๊ส (Biogas) ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ส่งให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน ไร่แตงโม ฟักทอง อ้อย ข้าวโพด และหญ้าเนเปียร์ ในปี 2566 คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ 5 แห่ง ได้แก่ ฟาร์มสันกำแพง ฟาร์มจักราช ฟาร์มหนองข้อง ฟาร์มอุดร และฟาร์มจะนะ แบ่งปันน้ำปุ๋ยไปกว่า 181,000 ลูกบาศก์เมตร มากกว่า 145 ไร่ ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งแก่พี่น้องเกษตรกร และมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำให้ชุมชน
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_10.jpg)
“CPF มีเป้าหมายไม่ปล่อยน้ำทิ้งออกภายนอกฟาร์ม หรือ Zero Discharge โดยน้ำหลังการบำบัดด้วย Biogas ยังคงมีแร่ธาตุที่เหมาะสมกับพืช ที่เรียกว่า “น้ำปุ๋ย” นำกลับมาใช้ประโยชน์ในฟาร์ม ทั้งรดต้นไม้ สนามหญ้า และแปลงผักปลอดภัยที่บุคลากรปลูกในพื้นที่ว่างของฟาร์ม เมื่อเกษตรกรรอบฟาร์มเห็นผลสำเร็จ พืชพันธุ์เติบโตดี จึงติดต่อขอรับน้ำไปใช้รดพืชผลในช่วงแล้งและช่วงปกติตลอดปี ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนค่าปุ๋ย ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี” คุณสมคิด กล่าว
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_11.jpg)
ด้าน คุณหล๊ะ ดุไหน ต้นแบบเกษตรกรที่รับน้ำปุ๋ยจากฟาร์มจะนะ จ.สงขลา กล่าวว่า ใช้น้ำปุ๋ยรดสวนปาล์ม 10 ไร่ และแปลงปลูกฟักทอง 10 ไร่ รอบการผลิตที่ผ่านมา น้ำปุ๋ยซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี ช่วยให้ได้ผลผลิตฟักทองมากถึง 20,000 กิโลกรัม มีกำไร 200,000 บาท ส่วนรอบผลิตปัจจุบัน คาดว่า ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 20% ล่าสุด ยังไปใช้กับไร่แตงโมอีก 10 ไร่ ผลผลิตดีมาก เถาแตงแข็งแรง มีดอกมาก ติดผลดก แตงลูกใหญ่น้ำหนักดี น่าจะสร้างกำไรได้อย่างแน่นอน โดยจะขยายการผลิตในพืชชนิดอื่นๆ ต่อไป
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_13.jpg)
ขณะที่ คุณวิโรจน์ ใจด้วง เกษตรกรปลูกหญ้าเนเปียร์ ที่รับน้ำปุ๋ยจากฟาร์มสันกำแพง จ.เชียงใหม่ ใช้น้ำปุ๋ย 720 ลูกบาศก์เมตรต่อรอบการผลิต ในการรดหญ้าเนเปียร์ 6 ไร่ ใช้เทคนิคผสมน้ำปุ๋ยกับน้ำคลอง ในอัตราส่วน 1:1 สามารถปลูกหญ้าเนเปียร์ได้ 4 รอบต่อปี ช่วยลดค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 16,000 บาทต่อปี หลังจากที่ได้ใช้น้ำปุ๋ย พบว่าต้นหญ้าโตเร็วกว่าปุ๋ยเคมี ต้นอวบแน่น ใบใหญ่ ได้ผลผลิตที่ดีมาก ปัจจุบันไม่มีภาระต้นทุนค่าปุ๋ยอีกเลย ขอบคุณ CPF ที่จัดโครงการฯ นี้ ช่วยให้ผ่านพ้นภัยแล้งและเพิ่มผลผลิตแก่เกษตรกร
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_12.jpg)
CPF เดินหน้า “โครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร” สู่ปีที่ 23 ทั้งในฟาร์มสุกรและคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ ภายใต้การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิต มุ่งใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยยึดหลัก 3Rs ลดปริมาณการใช้น้ำดิบจากธรรมชาติอย่างเป็นรูปธรรม (Reduce) นำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามกลยุทธ์และเป้าหมายความยั่งยืน “CPF 2030 Sustainability in Action” สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs)
![](/images/Xcustomer_im/SURACHAInew_samll.jpg)
ทีมนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ CPF' คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวด DTN Smart Labelling Contest 2023 จาก ก.พาณิชย์
CPF รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบบรรจุภัณฑ์และฉลากอัจฉริยะ จาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ก.พาณิชย์ ในงาน DTN Smart Labelling Contest 2023 ด้วยการออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ฉลากอัจฉริยะ ที่ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ผสานข้อมูลดิจิทัลเข้ากับโลกความเป็นจริง สามารถใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_07.jpg)
โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธานมอบรางวัลชนะเลิศ ให้กับ ทีมออกแบบบรรจุภัณฑ์ CPF RD Center ประกอบด้วย คุณวรยศ สุขแช่ม และ คุณพรพิมล ตปนียะพงศ์ จากการนำเสนอโครงการต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ผสานกับเทคโนโลยีทันสมัย ภายใต้แนวคิด “อาหารที่ดีจะส่งมอบความรู้สึกที่ดีให้กับผู้บริโภค” ติด “ฉลากอัจฉริยะ”
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_08.jpg)
CPF ในฐานะเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลกร่วมขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหาร ให้ความสำคัญกับการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่แสดงฉลากผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า เป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการจากต้นทางและกระบวนการผลิตที่รับผิดชอบ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค![](/images/Xcustomer_year4/Xcustomer_im05_2022/MN_resizes.jpg)
งาน DTN Smart Labelling Contest 2023 จัดโดย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจการทำฉลากอัจฉริยะแก่ผู้ประกอบการไทย พร้อมพัฒนานักออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้ารุ่นใหม่ให้ปรับตัวสอดรับกับกฎระเบียบ การเปลี่ยนแปลง และแนวปฏิบัติใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้สามารถรับมือกับการแข่งขันตลาดโลกได้
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_09.jpg)
โดยงานดังกล่าว จัดมอบรางวัลเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00 น. ณ กระทรวงพาณิชย์ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล DTN Smart Labelling Contest 2023 แก่ผู้ชนะการประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์และฉลากอัจฉริยะ เพื่อรับเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ในตลาดโลก ที่เน้นสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ให้สินค้าไทยเติบโตในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_05.jpg)
ผู้เชี่ยวชาญ TPM จากญี่ปุ่น ยกย่อง ‘ธุรกิจอาหารสัตว์บก CPF’ เป็นเลิศด้านการผลิต-บุคลากร
CPF ธุรกิจผลิตอาหารสัตว์บก ได้รับการตรวจประเมินเพื่อยืนยันความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้นในการดำเนินระบบการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม หรือ Total Productive Maintenance : TPM 2023 จากสถาบัน JIPM ประเทศญี่ปุ่น โดยมี Prof.Dr.Hirokazu KONO และ Mr. Zensuke MATSUDA เป็นผู้ตรวจประเมิน รวม 2 โรงงาน ใน จ.ขอนแก่น และ ศรีราชา จ.ชลบุรี พร้อมกล่าวชื่นชม CPF เป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และมี คุณบุญเสริม เจริญวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านบริหารกระบวนการ ธุรกิจอาหารสัตว์บก และผู้บริหาร CPF ร่วมให้การต้อนรับ
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_06.jpg)
จากการตรวจประเมิน ผลปรากฏว่า CPF คว้า 2 รางวัลระดับโลก ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกขอนแก่น ประเภท Award for TPM Excellence, Category A และ โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกศรีราชา ประเภท Award for Excellence in Consistent TPM Commitment
สะท้อนการนำระบบ TPM พัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านโครงการต่างๆ ตลอดจนยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ให้มีเสถียรภาพพร้อมใช้งานเสมอ เพื่อลดต้นทุนการดูแลรักษาและซ่อมแซมเครื่องจักร-อุปกรณ์ ขจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ ตลอดจนเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร CPF จะเดินทางร่วมพิธีมอบรางวัล ณ แดนปลาดิบ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567 นี้
![](/images/Xcustomer_im/surachai_rezies.gif)
CPF มอบประกาศนียบัตร Smart IA รุ่นที่ 1 ตอกย้ำกระบวนการผลิตอาหาร ‘คุณภาพ-ความปลอดภัย
คุณสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บก CPF เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรให้แก่ SMART IA ในโครงการ "SMART IA -Internal Audit ทีมเก่ง งานแกร่ง" พัฒนาบุคลากรและสร้างผู้ตรวจประเมินภายในที่มีความสามารถตรงตามมาตรฐานสากล ISO 19011:2018 เป็นแนวทางการตรวจประเมินระบบการจัดการสู่การพัฒนาและปรับปรุงด้านคุณภาพความปลอดภัยอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_03.jpg)
CPF โดยสำนักระบบมาตรฐานสากล คิกออฟโครงการ SMART IA : Pilot Project ในธุรกิจไก่เนื้อครบวงจรโคราช เป็นต้นแบบ "Korat model" ตั้งแต่ปี 2565 และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมธุรกิจไก่เนื้อ เป็ดเนื้อครบวงจรสระบุรี มีนบุรี และบางนา ปัจจุบัน มี SMART IA ที่มีศักยภาพและปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินภายในตามหลักเกณฑ์ของโครงการฯ 55 คน ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า (CPF Value Chain) ภายในงาน คุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก พร้อมด้วย คุณนิธิวัชร์ จิรายุธัญวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจไก่เนื้อ คุณธีรยุทธ พัชรมณีปกรณ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจเป็ดเนื้อ และ คุณอรพรรณ มั่งมีศรี ผู้อำนวยการ สำนักระบบมาตรฐานสากล CPF ร่วมยินดี ณ CP Tower สีลม
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im09_2023/CPF_04.jpg)
"CPF มีวิสัยทัศน์เป็นครัวของโลกที่ยั่งยืน ตระหนักและให้ความสำคัญกับพัฒนาศักยภาพบุคลากรทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินภายใน เพื่อพัฒนาปรับปรุงองค์กรในเชิงลึกด้วยกิจกรรมการตรวจประเมินภายใน ให้เป็นทีมที่เก่งและทำงานในทิศทางเดียวกันตามหลักสากล ขอบคุณ Smart IA ทุกท่าน ที่มุ่งมั่นทำหน้าที่จนสำเร็จ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนระบบ พัฒนาองค์กร และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างยั่งยืน" คุณสิริพงศ์ กล่าว
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im12_2023/SSELETRICAL_resize.jpg)
ด้าน คุณเรวัติ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค ทำงานภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ (CPF Food Standard) และมาตรฐานสากลตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ Feed Farm Food เพื่อเป็นที่ยอมรับในระดับโลก วันนี้ เรามี Smart IA รุ่นที่ 1 แล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะเป็นพลังสำคัญขับเคลื่อนธุรกิจของเรา และผลักดันสู่บุคลากรรุ่นต่อๆ ไปในอนาคต
ขณะที่ คุณอรพรรณ กล่าวว่า Smart IA ทีมเก่ง งานแกร่ง เป็นการยกระดับบุคลากรในองค์กรให้สามารถตรวจประเมินได้อย่างมืออาชีพ เก่งในการค้นหาความสอดคล้องหรือจุดที่ต้องปรับปรุงการจัดทำระบบมาตรฐาน เมื่อเรามีกิจกรรม Internal Audit ที่เข้มแข็ง ก็จะลดข้อบกพร่องที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามระบบมาตรฐานสากลได้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหาร CPF ได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าและผู้บริโภคทั่วโลก
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im02_2024/CPF_02.jpg)
เปิดภารกิจ 'CPF' ลดก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบภาวะโลกร้อน
CPF มุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี 2050 เดินหน้าภารกิจหลัก 4 ด้านสำคัญ ดังนี้
1. ห่วงโซ่อุปทาน ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
- การจัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างรับผิดชอบ
- การตัดไม้ทำลายป่าเป็นศูนย์ อาทิ ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง
- ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เทคโนโลยี Blockhain และภาพถ่ายดาวเทียม
- ไม่รับและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่า และพื้นที่ที่มาจากการเผา ตามนโยบายเครือซีพี
2. เทคโนโลยีเศรษฐกิจหมุนเวียน
- ผลิตพลังงานทดแทน และใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิต เช่น พลังงานชีวมวล พลังงานก๊าซชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์
- ลดปริมาณขยะอาหารให้เป็นศูนย์ และ 100% ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหาร สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้
![](/images/Xcustomer_year6/Xcustomer_im02_2024/CPF_01.jpg)
3. เทคโนโลยีดิจิทัล
- ใช้ ‘ระบบข้อมูลอัจฉริยะ’ ’โรงงานผลิตอาหารสัตว์อัจฉริยะ‘ ‘ฟาร์มอัจฉริยะ’ และ โรงงานผลิตอาหารอัจฉริยะ เพื่อผลิตอาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และการบริโภคอย่างยั่งยืน
4. เทคโนโลยีด้านสภาพภูมิอากาศ
- ส่งเสริมอาคารสีเขียว (Green Building) การขนส่งด้วยยานยนต์ จากพลังงานไฟฟ้า
- ศึกษาพลังงานไฮโดรเจน จากมูลสัตว์ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในอนาคต ที่เป็นพลังงานสะอาด 100% มาผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงานในกระบวนการผลิตของโรงงาน
โดย CPF เชื่อว่า...การเปลี่ยนแปลงของทุกพลังเล็กๆ จะสามารถขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน : Small Actions, Million Impact เพื่อพรุ่งนี้...ที่ดีกว่า
![](/images/Xcustomer_year4/Xcustomer_im08_2022/SKCB_resize.jpg)
รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
![เพิ่มเพื่อน](https://scdn.line-apps.com/n/line_add_friends/btn/th.png)