December 22, 2024

TU อัดงบ 7.2 พันล้าน วางเป้าลงทุนถึงปี 2573 พร้อมประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 พลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารทะเล ด้วยการดูแลคนและโลกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ทุ่มงบประมาณครั้งใหญ่กว่า 7,200 ล้านบาท สร้างแผนดำเนินธุรกิจระยะยาวถึงปี 2573 เพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารทะเล ด้วยการดูแลคนและโลกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายมาเป็นวาระเร่งด่วนของมนุษยชาติ

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ซึ่งเป็นช่วงต่อจากกลยุทธ์เดียวกันที่ประกาศเมื่อปี 2559 เพื่อช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารทะเล ด้วยการดูแลคนและโลกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายมาเป็นวาระเร่งด่วนของมนุษยชาติ ระบบนิเวศที่สำคัญตกอยู่ในความเสี่ยง ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่า ประชากรโลกกว่า 600 ล้านคนพึ่งพามหาสมุทรเป็นแหล่งอาหารและใช้ในการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เปิดเผยว่า “ณ วันนี้ไทยยูเนี่ยนมองว่าความยั่งยืนคือหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจและ SeaChange® เปรียบเสมือนใบอนุญาตที่จะทำให้เราดำเนินธุรกิจได้ในโลกปัจจุบัน เราเชื่อว่าการดูแลทรัพยากรของเราด้วยความรับผิดชอบเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเป็นแหล่งอาหารและอาชีพให้กับประชากรโลกในรุ่นต่อไป ด้วยวิสัยทัศน์ของบริษัทในการที่จะก้าวไปเป็นบริษัทอาหารทะเลที่ผู้คนทั่วโลกเชื่อถือมากที่สุด SeaChange® 2030 จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เราบรรลุวิสัยทัศน์นี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เราช่วยกันผลักดัน จะเกิดประโยชน์ไม่เพียงแต่กับบริษัทเท่านั้น แต่คือความยั่งยืนเพื่อพวกเราทุกคน”

ความยั่งยืนคือหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจและ SeaChange® เปรียบเสมือนใบอนุญาตที่จะทำให้เราดำเนินธุรกิจได้ในโลกปัจจุบัน เราเชื่อว่าการดูแลทรัพยากรของเราด้วยความรับผิดชอบเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเป็นแหล่งอาหารและอาชีพให้กับประชากรโลกในรุ่นต่อไป

 

SeaChange® 2030 เป็นการต่อยอดและก้าวกระโดดจากกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัทที่ประกาศครั้งแรกในปี 2559 และครั้งนี้ไทยยูเนี่ยนประกาศพันธกิจเพื่อความยั่งยืนทั้งสิ้น 11 ข้อ ที่ครอบคลุมการดูแลทั้งผู้คนและโลก โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติถึง 10 ประการด้วยกัน

ไทยยูเนี่ยนตระหนักถึงสถานการณ์และความเร่งด่วนที่จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงตั้งงบประมาณ 7,200 ล้านบาท หรือกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเท่ากับกำไรสุทธิที่บริษัทได้รับในปี 2565 ทุ่มให้กับการทำกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® ไปถึงปี 2573 พร้อมตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเพื่อมุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับห่วงโซ่มูลค่าธุรกิจอาหารทะเล

อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้านนายอดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “วันนี้ อุตสาหกรรมอาหารทะเลต้องลุกขึ้นมาเดินหน้าดูแลผู้คน ดูแลโลก และมหาสมุทร เราต้องลงมือทำตั้งแต่วันนี้ และด้วยกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® เรามุ่งมั่นผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลของโลกดีขึ้น พันธกิจที่ท้าทายขนาดนี้ต้องอาศัยพลังและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์กร รวมไปถึงภาคประชาชน ที่จะช่วยกันทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจริง วันนี้บริษัทกับพันธมิตรพร้อมแล้วที่จะขอให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลกหันมาร่วมกันทำให้โลกของเรายั่งยืน”

SeaChange® 2030 เป็นการต่อยอดและก้าวกระโดดจากกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัทที่ประกาศครั้งแรกในปี 2559 และครั้งนี้ไทยยูเนี่ยนประกาศพันธกิจเพื่อความยั่งยืนทั้งสิ้น 11 ข้อ ที่ครอบคลุมการดูแลทั้งผู้คนและโลก โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติถึง 10 ประการด้วยกัน โดยพันธกิจทั้ง 11 ข้อของไทยยูเนี่ยน ได้แก่

  • เส้นทางสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์: ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42 เปอร์เซ็นต์ในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ภายในปี 2573 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593
  • การทำประมงอย่างรับผิดชอบ: 100 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทะเลที่จับจากธรรมชาติจะผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ หรือมาจากโครงการปรับปรุงการประมง โดยมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงาน และขยายขอบเขตการทำงานมากกว่าวัตถุดิบปลาทูน่าไปยังสัตว์น้ำอื่น ๆ
  • การเพาะเลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบ: กุ้งเพาะเลี้ยงทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ของเรา จะต้องผลิตขึ้นโดยส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านสวัสดิการและสภาพการทำงานของอุตสาหกรรมอาหาร
  • การฟื้นฟูระบบนิเวศ: ไทยยูเนี่ยนจะสนับสนุนงบประมาณ 250 ล้านบาท (มากกว่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศสำคัญ
  • เกษตรกรรมที่มีความรับผิดชอบ: 100 เปอร์เซ็นต์ของวัตถุดิบถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มจะได้รับการรับรองว่าปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนวัตถุดิบไก่จะได้รับการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ
  • กระบวนการผลิตที่เป็นเลิศ: ไทยยูเนี่ยนจะปรับปรุงระบบภายในโรงงานเพื่อลดการปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์ ลดของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ และลดการสูญเสียอาหารเป็นศูนย์ ในโรงงานหลักห้าแห่งทั้งในและต่างประเทศ
  • งานที่ปลอดภัย มีคุณค่า และเท่าเทียม: ไทยยูเนี่ยนยังคงเดินหน้าสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย มีคุณค่า ยอมรับความแตกต่างและหลากหลาย มีความเท่าเทียม ให้กับพนักงานทุกคนและยังขยายผลให้ครอบคลุม:
    • 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารองค์กรเป็นผู้หญิง
    • 100 เปอร์เซ็นต์ของเรือประมงที่จัดหาวัตถุดิบให้บริษัทจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และไม่มีแรงงานทาสสมัยใหม่
    • 100 เปอร์เซ็นต์ของฟาร์มสัตว์น้ำที่จัดหาวัตถุดิบให้บริษัทจะต้องดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงาน
  • การลดขยะพลาสติกในทะเล: ไทยยูเนี่ยนจะจัดการขยะพลาสติก 1,500 ตันไม่ให้ปนเปื้อนสู่แม่น้ำลำคลองและทะเล
  • โภชนาการและสุขภาพ: 100 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่เก็บได้ในอุณหภูมิห้อง (เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุกระป๋อง) ภายใต้แบรนด์ของบริษัทจะต้องยึดตามแนวทางด้านโภชนาการ และ 100 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่เก็บได้ในอุณหภูมิห้องที่ออกใหม่ทั้งหมดภายใต้แบรนด์ของบริษัท จะต้องส่งเสริมโภชนาการเชิงบวกเพื่อสุขภาพที่ดี
  • บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน: ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์สินค้าของบริษัท 100 เปอร์เซ็นต์จะต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนภายในปี 2568 และไทยยูเนี่ยนจะสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ผลิตให้กับคู่ค้าอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
  • การเป็นพลเมืองดีของสังคม: ไทยยูเนี่ยนจะสนับสนุนงบประมาณจำนวน 250 ล้านบาท (มากกว่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อช่วยเหลือและตอบแทนชุมชนในพื้นที่ที่เราดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีงานบรรเทาสาธารณภัยในช่วงเวลาวิกฤตอีกด้วย

การบรรลุเป้าหมายต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยลดปริมาณคาร์บอน จำกัดปริมาณของเสียให้น้อยที่สุด รวมถึงป้องกันและฟื้นฟูระบบนิเวศ และเพื่อให้มั่นใจว่าจะทำให้เกิดงานที่ปลอดภัย มีคุณค่าและเท่าเทียม ให้เกิดขึ้นจริงตลอดห่วงโซ่มูลค่า ซึ่งจะทำให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้น

ไทยยูเนี่ยนได้ร่วมมือกับองค์กรด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมระดับโลกในการประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืนในครั้งนี้ ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม พร้อมผนึกภาคีกับผู้ประกอบการหลายพันรายในภาคประมงและภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเรือประมงและฟาร์มสัตว์น้ำ องค์กรพันธมิตร ได้แก่ Sustainable Fisheries PartnershipAquaculture Stewardship CouncilThe Nature ConservancyIDH – the Sustainable Trade Initiative,และ The Global Ghost Gear Initiative

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แสดงความมุ่งมั่นในการดูแลมหาสมุทรให้อุดมสมบูรณ์ ร่วมกับบริษัทเอกชน 150 แห่ง เพื่อลงนามใน UN Global Compact Sustainable Ocean Principles หรือหลักการมหาสมุทรที่ยั่งยืนโดยข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ

นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้สอดคล้องกับแนวทางขององค์กร Science Based Targets initiative (SBTi) และจะเริ่มใช้การเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ไทยยูเนี่ยนเป็นบริษัทอาหารทะเลระดับโลกบริษัทแรกที่กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยได้รับการรับรองจากองค์กร SBTi นับเป็นก้าวสำคัญเพื่อช่วยอุตสาหกรรมให้เกิดความยั่งยืน

นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้สอดคล้องกับแนวทางขององค์กร Science Based Targets initiative (SBTi) และจะเริ่มใช้การเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ไทยยูเนี่ยนเป็นบริษัทอาหารทะเลระดับโลกบริษัทแรกที่กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยได้รับการรับรองจากองค์กร SBTi นับเป็นก้าวสำคัญเพื่อช่วยอุตสาหกรรมให้เกิดความยั่งยืน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ seachangesustainability.org.

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลกที่นำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ อร่อย และสร้างสรรค์ มาสู่ลูกค้าทั่วโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520

ปัจจุบัน ไทยยูเนี่ยนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำของโลกและเป็นหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่าในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีเกินกว่า 155,586 ล้านบาท (4,438 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และแรงงานทั่วโลกกว่า 44,000 คน ที่ทุ่มเทให้กับการบุกเบิกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

ในฐานะหนึ่งในบริษัทอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไทยยูเนี่ยนตระหนักถึงภัยคุกคามที่มหาสมุทรของเราต้องเผชิญ ซึ่งส่งผลต่อการจัดหาอาหาร การดำรงชีวิต และที่อยู่อาศัยชายฝั่งที่ปลอดภัยแก่ผู้คนหลายพันล้านคน จึงพร้อมดำเนินจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการดำเนินธุรกิจอาหารทะเลอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar, Hawesta และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ OMG MEAT เบลลอตต้า และมาร์โว่ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอาหารภายใต้แบรนด์ UniQ®BONE และ UniQ®DHA และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบรนด์ ZEAvitaTU เป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ OMG MEAT เบลลอตต้า และมาร์โว่ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอาหารภายใต้แบรนด์ UniQ™BONE และ UniQ™DHA และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบรนด์ ZEAvita

ไทยยูเนี่ยนมีความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับมลพิษพลาสติกทางทะเล โดยการร่วมมือกับ Global Ghost Gear Initiative (GGGI) ในการจัดกับพลาสติกในมหาสมุทร การจัดการของเสีย และการสนับสนุนการรีไซเคิลอย่างแข็งขัน ซึ่งสอดคล้องกับ SeaChange® ซึ่งเป็นกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัท เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลก บริษัทกำลังทำงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับมหาสมุทรของเรา

ไทยยูเนี่ยนมีเป้าหมายเพื่อสร้าง "การมีสุขภาพที่ดี และท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์, Healthy Living, Healthy Oceans" โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพผู้คน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ท้องทะเล เราภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) พร้อมทั้งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) และได้รับเกียรติเป็นเป็นประธาน SeaBOS หรือ Seafood Business for Ocean Stewardship ไทยยูเนี่ยนดำเนินงานด้านความยั่งยืนโดยยึดหลักกลยุทธ์ SeaChange® ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จากผลการประเมินงานด้านความยั่งยืนปี 2565 บริษัทได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่เป็นปีที่ 9 ปีติดต่อกันและได้อันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งไทยยูเนี่ยนเคยได้ในปี 2561 และปี 2562 นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน

บริษัทมีความเชี่ยวชาญประสบการณ์กว่า 20 ปี ปัจจุบันมีโรงงานผลิตสินค้า 2 แห่ง คือ โรงงานมหาชัย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และ โรงงานระโนด ในจังหวัดสงขลา กำลังการผลิตอาหารสัตว์รวมเท่ากับ 288,000 ตันต่อปี แบ่งเป็น อาหารกุ้ง 168,000 ตันต่อปี อาหารปลา 90,000 ตันต่อปี และ อาหารสัตว์บก 30,000 ตันต่อปี อัตราการใช้กำลังการผลิต (Utilization Rate) อยู่ในระดับประมาณ 58-80%  โดยบริษัทฯ ยังมีได้ขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซีย โดยเข้าทำความร่วมมือทางการค้ากับพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม PT MSK ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจแปรรูปอาหารแช่แข็งรายใหญ่ และกลุ่ม AVANTI ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำ เพื่อลงทุนและจัดตั้ง TUKL ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซียดังกล่าว โดยบริษัทฯ PT MSK และกลุ่ม AVANTI (ถือหุ้นผ่าน AVANTI และ Srinivasa) มีสัดส่วนการถือหุ้นใน TUKL เท่ากับ 65%, 25% และ 10% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ TUKL ตามลำดับ ส่งผลให้ TUKL ถือเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ

มีพลาสติกจำนวนมหาศาลถึง 21,000 ชิ้นในมหาสมุทรของเรา ขณะที่อัตรามลพิษพลาสติกเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ หกปี จากการศึกษาล่าสุดเผยให้เห็นผลกระทบของวิกฤตมลพิษพลาสติกในมหาสมุทร ชี้ให้เห็นถึงระดับที่น่าตกใจของมลพิษพลาสติกในมหาสมุทรที่มีผลต่อระบบนิเวศทางทะเล เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการ มาร่วมมือกันปกป้องมหาสมุทรของเราจากปัญหาที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นนี้ โดยการร่วมกันสร้างแรงบันดาลใจสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการปรับการใช้ในชีวิตประจำวันของคุณ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องมหาสมุทรของเรา

พร้อมกันนั้น จะขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศปากีสถาน โดยได้เข้าทำความร่วมมือทางการค้ากับ Strategic Partner คือ กลุ่ม AMG ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจอาหารสัตว์น้ำในประเทศปากีสถาน เพื่อลงทุนและจัดตั้ง AMG-TFM สัดส่วนการถือหุ้นเท่ากับ 51% และ 49% ช่วงแรกจะมุ่งเน้นในการผลิตและจำหน่ายอาหารปลาเป็นหลัก คาดว่า AMG-TFM จะต้องใช้เงินลงทุนในช่วงแรกสำหรับผลิตและจำหน่ายอาหารปลา กำลังการผลิตประมาณ 7,000 ตัน รวมประมาณ 340.0 ล้านรูปีปากีสถาน หรือประมาณ 69.6 ล้านบาท เป็นส่วนเงินลงทุนของบริษัทประมาณ 35.5 ล้านบาท โดยหลักจะเป็นเงินลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์และเป็นเงินทุนหมุนเวียน เนื่องจาก AMG-TFM มีแผนในการเช่าที่ดินและโรงงานจากบุคคลภายนอก

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานด้านความยั่งยืนของบริษัทได้ที่ seachangesustainability.org.

#ThaiUnion #SeaChange2030 #HealthyLivingHealthyOceans #SustainableSeafood #SeaChange2030เพื่อเราเพื่อโลก



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Monday, 07 August 2023 11:07
สมิตา ตั้งชินคุปต์

Author : ติดตามและเขียนข่าวด้าน Consumer Product ความเคลื่อนไหว การตลาด ธุรกิจ เทรนด์ หรือเรื่องราวของคนในวงการการตลาดฯ ตลอดจนงานสร้างสรรสินค้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

Latest from สมิตา ตั้งชินคุปต์

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM