January 22, 2025

CPF ยกระดับมาตรฐานไก่ไทย ด้วยภารกิจระดับโลก “ไก่ไทยจะไปอวกาศ” พร้อมโชว์ 6 รางวัลอันทรงเกียรติ ตอกย้ำผู้ดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน

CPF ยกระดับมาตรฐานไก่ไทย สู่มาตรฐานระดับอวกาศ ด้วยภารกิจระดับโลก "ไก่ไทยจะไปอวกาศ" อีกความภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ พร้อมชู 6 รางวัลเกียรติยศความเป็นเลิศแห่งภูมิภาคเอเชียประจำปี 2566 จากเวที The 13th Asian Excellence Awards 2023 เร่งเดินหน้ายกระดับกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการการสูญเสียอาหาร ด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน 

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า บริษัทได้ประกาศภารกิจเตรียมส่งไก่ไทยไปพิชิตอวกาศ ในโครงการ Thai food - Mission to Space โดยดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับสองพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศจากสหรัฐอเมริกา NANORACKS LLC และ บจก.มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี หรือ MU Space ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยภารกิจเตรียมส่งไก่ไทยไปพิชิตอวกาศครั้งนี้ ไก่ไทยต้องผ่านการรับรองความปลอดภัยมาตรฐานอวกาศ ซึ่งก็คือมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารขั้นสูงระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศทานได้

การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย สู่มาตรฐานอวกาศครั้งนี้ เกิดจากความเชื่อมั่นว่าเนื้อไก่ของซีพีเป็นหนึ่งในแบรนด์เนื้อสัตว์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดแล้วในโลก จึงตั้งเป้าใหญ่ที่จะพิชิตมาตรฐาน Space Food Safety Standard ให้เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของคนไทยในโครงการ Thai food - Mission to Space โดยความสำเร็จของภารกิจนี้จะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่ามาตรฐานความปลอดภัยของเนื้อไก่แบรนด์ CP ของไทย จะก้าวสู่มาตรฐานความปลอดภัยที่ไม่ใช่แค่ระดับโลก แต่จะเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับอวกาศ (Space Food Safety Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัยด้านอาหารขององค์การ NASA ฝากคนไทยเอาใจช่วย และร่วมภาคภูมิไปกับครั้งแรกของคนไทย ที่ผลิตภัณฑ์ของไทยจะไปพิชิตมาตรฐานอวกาศ มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสุด

CPF ตระหนักและให้ความสำคัญของความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารอย่างที่สุด เมื่อได้พันธมิตรที่เชี่ยวชาญ อย่าง NANORACKS LLC และ MU Space มาร่วมดำเนินโครงการ Thai food - Mission to Space ที่จะปฏิบัติภารกิจร่วมกับ “ศูนย์วิจัยด้านอาหารอวกาศของสหรัฐ” จึงยิ่งมั่นใจว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะพิสูจน์ว่าไก่ของประเทศไทยมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงถึงระดับอวกาศ ซึ่งจะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพด้านอาหาร รวมถึงการตรวจสารตกค้างและเชี้อโรคปนเปื้อนต่างๆตามข้อกำหนดของ NASA มากมายหลายสิบการตรวจสอบ จึงจะได้รับการอนุมัติให้นำไก่ของ CPF ขึ้นไปบนสถานีอวกาศได้

“สิ่งนื้ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยเพราะเป็นครั้งแรกที่อาหารจากประเทศไทยจะได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับนี้ นับเป็นการแสดงศักยภาพขั้นสูงของนวัตกรรมเทคโนโลยีและความปลอดภัยการผลิตเนื้อไก่ของไทย และที่สำคัญคือการยืนยันว่าคนไทยทุกคนได้กินไก่ปลอดภัยในระดับเดียวกับที่องค์กรระดับโลกยอมรับ” นายประสิทธิ์กล่าว

ความสำเร็จของภารกิจนี้จะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่ามาตรฐานความปลอดภัยของเนื้อไก่แบรนด์ CP ของไทย จะก้าวสู่มาตรฐานความปลอดภัยที่ไม่ใช่แค่ระดับโลก แต่จะเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับอวกาศ ซึ่งเป็นมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัยด้านอาหารขององค์การ NASA ฝากคนไทยเอาใจช่วย และร่วมภาคภูมิไปกับครั้งแรกของคนไทย ที่ผลิตภัณฑ์ของไทยจะไปพิชิตมาตรฐานอวกาศ มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสุด

ด้าน Mr. Michael James Massimino อดีตนักบินอวกาศ NASA ร่วมบอกเล่าประสบการณ์การใช้ชีวิตในสภาวะไร้น้ำหนัก และกล่าวว่า อาหารที่นักบินอวกาศต้องรับประทานนั้น ความปลอดภัยไร้สารตกค้างเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะจะส่งผลต่อสุขภาพนักบินอวกาศในระยะยาว และสารอาหารที่เหมาะสมก็มีผลอย่างมากต่อมวลกระดูกและกล้ามเนื้อของนักบินแต่ละคน ดังนั้นอาหารหมวดโปรตีนจึงต้องมีการจัดเตรียมเป็นพิเศษ และที่ผ่านมาอาหารส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบอาหารแห้ง (dehydrate food) ที่ต้องเติมน้ำบนนั้น หรือแบบพร้อมทาน (ready-to-eat) ด้วยเทคโนโลยีรีทอร์ต (Retort) ที่สามารถแกะกินได้ทันที แต่สิ่งที่ต่างกับขณะอยู่บนพื้นโลก คือ ลักษณะของอาหารและซอสต่างๆจะมีความข้นเหนียว เพื่อให้มันติดกับช้อนให้คุณกินได้สะดวก หรือกินจากแพ็คเกจเลย

“อีกสิ่งที่แตกต่าง คือ เรื่องประสาทสัมผัสการรับรสและกลิ่นของอาหารที่ลดลง ทำให้เรารับรู้รสชาติอาหารได้น้อยลง อาหารประเภท สไปซี่ฟู้ดจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักบิน Thaifood Mission to Space เป็นโครงการที่ดี ซึ่งไม่เพียงแต่นักบินอวกาศจะได้บริโภคอาหารที่หลากหลายและปลอดภัย ยังเป็นการยกระดับความปลอดภัยทางอาหารแก่ผู้บริโภคทั่วโลก และเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่เนื้อไก่ของไทยด้วย" Michael กล่าว

ส่วน Miss Vickie Kloeris นักวิทยาศาสตร์อาหารที่เคยทำงานในห้องวิจัยของ NASA มานานกว่า 34 ปี และเป็นผู้จัดการระบบอาหารสำหรับเที่ยวบินแรกสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) กล่าวว่า อาหารที่จะถูกส่งขึ้นไปกับนักบินอวกาศนั้น ต้องครบถ้วนทั้งด้านความปลอดภัยและโภชนาการ โดยมีเกณฑ์กำหนดจาก Nasa ที่เข้มงวดมากกว่าอาหารที่ขายทั่วไป เพราะในอวกาศเป็นสถานที่ห่างไกลโรงพยาบาลและหมอมากที่สุด นักบินอวกาศจึงต้องปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนให้ได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องได้รับสารอาหารที่เหมาะสมอย่างครอบคลุมตรงตามความต้องการของร่างกายของนักบินแต่ละบุคคล

สำหรับโครงการ Thai food - Mission to Space นั้น จากการที่ได้ไปดูงานวิจัยที่ห้องแล็บและวิธีการเลี้ยงดูแลไก่ของ CPF ตัวเธอรู้สึกประทับใจในมาตรฐานการผลิตเนื้อสัตว์ที่สูงมากของไทย ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเนื้อไก่ ซีพี นั้นปลอดสารปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ สารเคมีตกค้างและเชื้อโรคปนเปื้อนใด ที่จะสามารถพิชิตมาตรฐานอวกาศ ตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยในระดับที่ NASA กำหนด และแน่นอนว่าอาหารไทยขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยติดอันดับโลก หากมีการส่งไก่จากไทยในเมนูแบบไทยขึ้นไปบนสถานีอวกาศเป็นครั้งแรกนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีของนักบินอวกาศบนนั้นแน่นอน

"ขอชื่นชมซีพีเอฟ ที่มีความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่นมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะขึ้นไปในอวกาศได้ และในฐานะนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารอวกาศ ก็ตื่นเต้นแทนนักบินที่จะได้ลิ้มลองรสชาติอาหารใหม่ๆ เช่น อาหารไทย" Vickie กล่าว

ทั้งนี้ ซีพีเอฟได้รับมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านอาหารระดับนานาชาติสูงสุดถึง 6 มาตรฐาน โดยล่าสุด ยังเป็นบริษัทรายแรกในอาเซียนที่มีมาตรฐานการผลิตอาหารของตนเอง (CPF Food standard; PS 7818:2018) โดยการสนับสนุนจาก BSI หรือสถาบันมาตรฐานอังกฤษ ซึงเป็นมาตรฐานที่เกิดจากการบูรณาการมาตรฐานสากลหลายๆ มาตรฐานเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย HACCP(CODEX) , ISO 9001, ISO 22000 รวมถึง กฎระเบียบภายในและต่างประเทศ ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยอาหารของสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งอังกฤษ (BRC) การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (GHP) ระบบการจัดการสวัสดิภาพสัตว์เพื่อส่งออก และสามารถตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่การผลิตได้ 100% ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ขณะที่มาตรฐานอวกาศ จะต้องผ่านกระบวนการตรวจเชื้อโรค สารตกค้าง ความปลอดภัย และคุณภาพด้านอาหารต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ของ Space Food Lab อีกถึงมากกว่า 40 การตรวจสอบ

โดยล่าสุด CPF ได้รับ 6 รางวัลเกียรติยศความเป็นเลิศแห่งภูมิภาคเอเชียประจำปี 2566 จากเวที The 13th Asian Excellence Awards 2023 โดย นิตยสาร Corporate Governance Asia สื่อชั้นนำด้านการเงินของฮ่องกงและเอเชีย สะท้อนการเป็นองค์กรธุรกิจที่ยึดมั่นหลักธรรมาภิบาลที่ดี ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืนให้กับผู้บริโภคทั่วโลก ผ่านการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

โดยรางวัลที่ซีพีเอฟได้รับในปี 2566 นี้รวมทั้งหมด 6 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลประเภทบุคคล จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล CEO ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย (Asia’s Best CEO) มอบให้แก่ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร, รางวัล CFO ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย (Asia’s Best CFO) มอบให้แก่ นายไพศาล จิระกิจเจริญ ประธานผู้บริหารฝ่ายการเงิน, และรางวัลนักลงทุนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม Best Investor Relations Professional มอบให้กับ นางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุดสายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ นอกจากนี้ รับรางวัลประเภทองค์กร 3 รางวัล ประกอบด้วย รางวัล Best Investor Relations Company (Thailand) รางวัล Asia's Best CSR  และรางวัล Best Environmental Responsibility อีกด้วย

รางวัลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของซีพีเอฟในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามวิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” ที่ยั่งยืน ส่งเสริมทุกคนเข้าถึงอาหาร และโภชนาการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ส่วนรางวัล Asian Excellence Award เพื่อยกย่องผู้นำและองค์กรที่ความสำเร็จและความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และนักลงทุนสัมพันธ์ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้บริโภคทั่วโลก

บริษัทฯนำของเสียจากกระบวนการผลิตกลับมาสร้างประโยชน์ต่อ อาทิ เปลี่ยนของเสียเป็นพลังงาน  (Waste to Energy) โดยการนำเศษของเสีย เช่น ไขมัน ไปผลิตก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) นำน้ำมันพืชใช้แล้วสู่การผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทฯ ดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการการสูญเสียอาหารและลดปริมาณขยะอาหาร ตลอดจนการขยายผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการระบบลำเลียงไข่อัจฉริยะ ที่มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ควบคุมการลำเลียงไข่ เพื่อลดความเสียหายจากการลำเลียงไข่จากฟาร์มสู่โรงคัดไข่และจากกระบวนการคัดไข่ ในปี 2565 สามารถลดจำนวนไข่เสียหายได้มากกว่า 1 ล้านฟอง และภายในปี 2566 จะมีการติดตั้งระบบอัตโนมัติกับคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ของซีพีเอฟทั้ง 7 แห่ง โครงการนำเครื่องใน ขนสัตว์ปีก และไข่ไก่ที่เสียหายในระหว่างการผลิตแปรรูปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ นำชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่างๆ ของสัตว์ เช่น เครื่องในสัตว์ หน้ากากหมู เศษตัดแต่ง ไปจำหน่ายสดหรือแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สู่การบริโภคที่ปลอดภัย

โดย นางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุดสายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ภายใต้กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าสูงสุด มุ่งมั่นยกระดับการจัดการการสูญเสียอาหารและลดปริมาณขยะอาหารสู่หลุมฝังกลบ  โดยได้ประกาศนโยบายการจัดการอาหารสูญเสียและขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Policy) ในกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน  กำหนดเป้าหมายสำคัญในการลดปริมาณอาหารส่วนเกินและขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจ
ของบริษัทฯให้เป็นศูนย์ในปี 2030 (พ.ศ.2573) สอดรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals :SDGs)ที่ต้องการลดปริมาณขยะอาหารทั่วโลกลงกว่าครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค

“ซีพีเอฟ นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างความยั่งยืนในการผลิตและการบริโภค สนับสนุนเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)นางกอบบุญ กล่าว
บริษัทฯ ดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการการสูญเสียอาหาร และลดปริมาณขยะอาหาร ตลอดจนการขยายผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการระบบลำเลียงไข่อัจฉริยะ ที่มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ควบคุมการลำเลียงไข่ เพื่อลดความเสียหายจากการลำเลียงไข่จากฟาร์มสู่โรงคัดไข่และจากกระบวนการคัดไข่ ในปี 2565 สามารถลดจำนวนไข่เสียหายได้มากกว่า 1 ล้านฟอง และภายใน ปี 2566 จะมีการติดตั้งระบบอัตโนมัติกับคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ของซีพีเอฟทั้ง 7 แห่ง โครงการนำเครื่องใน ขนสัตว์ปีก และไข่ไก่ที่เสียหายในระหว่างการผลิตแปรรูปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ นำชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่างๆ ของสัตว์ เช่น เครื่องในสัตว์ หน้ากากหมู เศษตัดแต่ง ไปจำหน่ายสดหรือแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สู่การบริโภคที่ปลอดภัย

ในขณะเดียวกัน ซีพีเอฟเดินหน้าขับเคลื่อนการลดอาหารส่วนเกิน (Surplus Food)โดยสานต่อความร่วมมือกับมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (มูลนิธิ SOS สาขาประเทศไทย) และ บริษัท เก็บ สะอาด จำกัด (GEPP) เปลี่ยนอาหารส่วนเกิน เป็นเมนูพร้อมรับประทานที่อร่อย สะอาด ปลอดภัย ในโครงการ "Circular Meal มื้อนี้เปลี่ยนโลก” ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินและการจัดการบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร ซึ่งเป็นความร่วมมือกันมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2563 จนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 3  ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม 2564  –  พฤษภาคม 2566 สามารถส่งมอบอาหารให้แก่กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ครอบครัวรายได้น้อย ในชุมชน ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปแล้วมากกว่า 130,000 มื้อ

CPF ได้ส่งมอบอาหารที่มีโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย สารอาหารครบถ้วน และเป็นโปรตีนมากถึง 92.5% ของปริมาณทั้งหมด ให้พลังงานเพื่อสุขภาพที่ดีกับผู้บริโภค ซึ่งภายใต้การดำเนินโครงการดังกล่าว สามารถลดขยะอาหารได้รวม 31.19 ตัน และลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 23.84 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า รวมทั้งมีการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์สู่การจัดการ  7,000 ชิ้น  เป็นการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์สู่การจัดการแบบ Closed loop เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการจัดการรีไซเคิล และส่วนของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการจัดการที่เหมาะสม ตอกย้ำกลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Monday, 04 December 2023 09:40
สมิตา ตั้งชินคุปต์

Author : ติดตามและเขียนข่าวด้าน Consumer Product ความเคลื่อนไหว การตลาด ธุรกิจ เทรนด์ หรือเรื่องราวของคนในวงการการตลาดฯ ตลอดจนงานสร้างสรรสินค้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

Latest from สมิตา ตั้งชินคุปต์

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM