January 22, 2025

เปลี่ยนภาพลักษณ์หลอดไฟเป็นนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ความท้าทายครั้งใหญ่ของ “ฟิลิปส์”

แจ้งเกิดจากหลอดไฟ สู่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน วันนี้ “ฟิลิปส์” แบรนด์จากเนเธอร์แลนด์ขอสร้างจุดยืนใหม่ ล้างภาพบริษัทหลอดไฟ แต่เป็นบริษัทนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ที่มีสินค้าตอบโจทย์สุขภาพครบวงจร

จากบริษัทหลอดไฟ สู่ Health Tech

ฟิลิปส์เป็นอีกหนึ่งแบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเก่าแก่ มีอายุร่วม 130 ปีแล้ว ในประเทศไทยฟิลิปส์ได้เข้ามาทำตลาดร่วม 65 ปี ตั้งแต่ปี 2495 ได้ใช้ชื่อว่า บริษัท ไฟฟ้า ฟิลิปส์ จำกัด สินค้าที่ขึ้นชื่อเป็นกลุ่มให้แสงสว่าง หรือหลอดไฟต่างๆ และมีเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเครื่องมือแพทย์เสริมทัพ

แต่ด้วยเทรนด์เรื่องสุขภาพที่มีการเติบโตต่อเนื่องทุกปี และเป็นเทรนด์ระดับโลกที่ทุกคนสัมผัสได้อย่างเห็นได้ชัด ทางบริษัทแม่ “รอยัลฟิลิปส์” ที่เนเธอร์แลนด์ได้มอนิเตอร์มาหลายปีแล้ว พร้อมกับธุรกิจในส่วนของเครื่องมือแพทย์มีการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นธุรกิจหลัก รวมทั้งมีการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพมาตลอด

Philips Sonicare แปรงสีฟันไฟฟ้า

จนทำให้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ทางบริษัทแม่ได้กำหนดนโยบายในการแยกธุรกิจส่วน Health Tech ออกมาตั้งบริษัทใหม่โดยเฉพาะ เพื่อในการบริหารจัดการได้ง่าย ส่วนในประเทศไทยได้แยกธุรกิจออกมาเช่นกัน และได้จัดตั้งเป็นบริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด วางจุดยืนเป็นดูแลธุรกิจ Health Tech นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ และเครื่องมือแพทย์ ส่วนธุรกิจโซลูชั่นด้านแสงสว่างได้อยู่ภายใต้ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

วิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าให้ฟังว่า

“แต่เดิมฟิลิปส์แข็งแกร่งด้านหลอดไฟ และทีวีสี ทุกคนรู้จักหลอดไฟฟิลิปส์ แต่ในตอนนี้ได้วางจุดยืนใหม่เป็นนวัตกรรมเพื่อสุขภาพครบวงจร มีสินค้าที่ตอบโจทย์เรื่องสุขภาพทัง้ที่บ้าน และที่โรงพยาบาล ความท้าทายที่สุดคือต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ว่าไม่ใช่บริษัทหลอดไฟ หรือทีวีอีกต่อไป แต่ต้องทำให้คนเห็นแบรนด์และนึกถึงนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ตั้งเป้าว่าภายใน 10 ปีต้องเปลี่ยนภาพนี้ให้ได้”

และอีกเป้าหมายหนึ่งของฟิลิปส์ก็คือภายในปี 2563 ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพของมนุษย์ได้ครอบคลุม 3,000 ล้านคนทั่วโลก นั่นก็คือต้องมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา

สุขภาพไม่ใช่แค่ที่โรงพยาบาล แต่ต้องครอบคลุมทุกอย่าง

สินค้าเพื่อสุขภาพของฟิลิปส์ครอบคลุมทั้งกลุ่มเครื่องมือแพทย์ที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ B2B แต่ได้มีการพัฒนาสินค้ากลุ่ม B2C มากขึ้น เจาะกลุ่มลุกค้าองค์กรต่างๆ เช่น เครื่องฟื้นคลื่นหัวใจแบบอัตโนมัติ หรือ AED เป็นเครื่องปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่สามารถมีติดไว้ที่บริษัทได้ ซึ่งฟิลิปส์พยายามเจาะกลุ่มนี้มากขึ้น

Philips PerfectCare Elite Plus เตารีดแรงดันไอน้ำอัจฉริยะ

อีกกลุ่มสินค้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก แต่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น หม้อทอดไร้น้ำมัน เครื่องปั่น เตารีด ไดร์เป่าผม มีนวัตกรรมที่ทำให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น

“คำว่า Health หลายคนจะนึกถึงแต่ภาพโรงพยาบาล แต่เทรนด์ผู้สูงอายุมากขึ้น มองเห็นภาพไม่ต่ำกว่า 20 ปีแล้ว ฉะนั้น Health ของฟิลิปส์ต้องเริ่มทุก Ecosystem ต้องเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน ตั้งแต่การป้องกัน มีสินค้าที่ตอบโจทย์การใช้งานในบ้านทั้ง หม้อทอดไร้น้ำมัน เตารีดที่จับอุณหภูมิคนจับ ดีไซน์เครื่องเป่าผมแบบออโต้เพื่อถนอมผม เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้บริโภคให้ดีขึ้น ซึ่งนวัตกรรมไม่ได้เกิดจากห้อง R&D แต่ต้อง Outside In ต้องออกไปดูตลาดข้างนอกเพื่อตอบสนองความต้องการ”

โดยที่การที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้เป็น Health Tech ทำให้ฟิลิปส์มีนโยบายในการดูแลสุขภาพที่เริ่มจากพนักงานก่อน เป็นการจัดกิจกรรมเสริมสุขภาพ มีชมรมวิ่ง ฟุตบอล แบดมินตัน ออกกำลังกาย และร่วมกับฟิตเนสเฟิร์สในการทำกิจกรรมต่างๆ

เครื่องใช้ไฟฟ้าแข่งเดือด เตรียมรับมือ AI

วิโรจน์เป็นผู้บริหารที่ถือว่าเป็นลูกหม้อของฟิลิปส์มานานกว่า 18 ปีแล้ว ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากตั้งแต่ในอดีต ได้มีการประเมินตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีผู้เล่นเยอะ และมีหลายเซ็กเมนต์ มีการแข่งขันดุเดือด แข่งขันกันที่นวัตกรรและบริการหลังการขาย และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ค่อยเติบโต เพราะกำลังซื้อหด แต่กลุ่มเครื่องมือแพทย์มีการเติบโตได้ดี

Philips Lumify โซลูชั่นอัลตราซาวน์แบบพกพา

“ผมอยู่กับฟิลิปส์มา 18 ปี ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมากมาย ในตอนแรกธุรกิจเครื่องมือแพทย์เป็นแผนกเล็กที่สุด จนตอนนี้เป็นแผนกที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งตอนนี้ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ขายสินค้าเป็นชิ้นๆ ไม่ได้แล้ว และเทคดนโลยีมีบทบาทอย่างมาก เครื่องจักรเริ่มพูดจากกันเองแล้ว ต้องเตรียมเสริมทัพด้วย Big Data, IoT และ AI ต้องปรับตัวไม่อย่างนั้นจะตกงานแน่นอน ต้องเลือกว่าจะเป็นเจ้านาย AI หรือให้ AI เป็นเจ้านาย”

ปัจจุบันฟิลิปส์ (ประเทศไทย) มีสัดส่วนรายได้จกาเครื่องมือแพทย์ 60% และเครื่องใช้ไฟฟ้า 40% โดยที่ในแต่ละปีมีการออกสินค้าใหม่อยู่ตลอด ขึ้นอยู่กับเทรนด์ของตลาดว่าไปในทิศทางใดด้วย

สรุป

  • การปรับภาพลักษณ์ และจุดยืนของฟิลิปส์เหมือนเป็นการปรับตัวในระยะยาว เพรามองเห็นเทรนด์เรื่องสุขภาพที่จะอยู่ไปยาวนาน มีการใส่นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ดูแลสุขภาพครบวงจร
  • ถือเป็นการหลีกจากตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการแข่งขันสูง มีผู้เล่นหลายแบรนด์ โดยที่มาโฟกัสกลุ่มเครื่องมือแพทย์ และกลุ่มที่ดูแลสุขภาพ

ที่มา : brandinside.asia

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 18 March 2021 07:09
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion จัดงานมินิโรดโชว์ลำปาง 18-22 ธันวาคม 2567 พร้อมโปรโมชันดีส่งท้ายปี

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM