January 23, 2025
THAI AAJ-Mechanics-Strip-Head

อุปสงค์เครื่องจักรไทย สัญญาณการพัฒนาสู่ยุคอัตโนมัติจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ธุรกิจด้านเครื่องจักรเครือญี่ปุ่นในประเทศไทยเริ่มจับสัญญาณได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ โดยอุปสงค์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นจากการนำไปใช้ปรับเปลี่ยนการผลิตแบบเดิมให้เป็นแบบอัตโนมัติ

สืบเนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลงจนนำมาซึ่งการขาดแคลนแรงงาน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไทยเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ภายใต้มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรม “ไทยแลนด์ 4.0”  แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้น ปริมาณการผลิตรถยนต์ของบริษัทเครือญี่ปุ่นในปี 2017 กลับมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จนทำให้ภาพการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเกิดเครื่องหมายคำถามว่า จะเติบโตต่อไปอีกครั้งหรือไม่ อย่างไร

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ประกาศยกเว้นภาษีให้แก่อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นเวลา 15 ปี อาทิเช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ซึ่งรัฐบาลได้ผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหุ่นยนต์ เพื่อตอบสนองต่ออัตราการเกิดที่ลดลง และการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุ

โดย Mitsubishi Electric ได้เสนอวิธีการเพิ่มกำลังผลิต ด้วยการรวมระบบหุ่นยนต์และระบบควบคุมการผลิตเข้าด้วยกัน โดย มร.คาวาซากิ ยูทากะ ประธานสาขาได้กล่าวว่า

ความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้นมีมากกว่าความต้องการเพิ่มปริมาณการผลิต ซึ่งนอกจากบริษัทในเครือญี่ปุ่นแล้ว ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในไทยเองก็ได้ให้ความเห็นไว้ในทิศทางเดียวกัน

Sankyo Manufacturing (Kita-ku, Tokyo) ได้จัดเตรียมชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนทางตรงสำหรับขนส่งวัตถุน้ำหนักมากด้วยความเร็วสูง ผู้อำนวยการฟุคุชิมะ มาซากิ กล่าวว่า “นอกจากความต้องการด้านระบบอัตโนมัติแล้ว อุตสาหกรรมในไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มกำลังการผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์  อีกทั้งจำนวนลูกค้าก็มีมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากยอดขายในปี 2017 ที่เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า”

ส่วนทางด้าน Omron นั้น ได้มีการขยายการผลิตไปยังอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพ เนื่องจากมีความต้องการในการตรวจสอบคุณภาพการผลิตแบบอัตโนมัติควบคู่ไปในขั้นตอนการผลิต  ซึ่งท่านประธานคิตะอุระ โคเฮย์ ได้ให้ความเห็นว่า “เริ่มจะมองเห็นความหวังขึ้นมาบ้าง หากเทียบกับเมื่อปี 2016 ที่สถานการณ์ทางธุรกิจไม่ค่อยสู้ดีนัก”

ในขณะเดียวกันเอง Japanese Chamber of Commerce and Industry: JCCI คาดการณ์ว่าผู้ผลิตรถยนต์ในเครือญี่ปุ่นของไทยจะมีปริมาณการผลิตในปี 2017 ลดลง 4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว  นอกจากนี้ ยังมีเสียงร้องจากบริษัทจัดซื้อเครื่องมือกลและหุ่นยนต์ให้กับโรงงานรถยนต์ในเครือญี่ปุ่นว่า “ยังไม่มีวี่แววการสั่งซื้อที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์เลย”

อย่างไรก็ตาม ความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และบริษัทในเครือญี่ปุ่นที่มองว่า “ภาพรวมของธุรกิจจะดีขึ้นกว่าปี 2016” ก็มีไม่น้อยเช่นกัน

สภาพตลาดของไทยยังคงซบเซาจากผลกระทบความไม่แน่นอนทางการเมืองและการส่งออกที่ทรุดตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 11:30
ภูวิศ ภูสิทธิ์อุดมรัตน์

Author : เด็กช่าง เจ๋งที่สุด เกาะติดข่าวโรงงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร โมดูล อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์ ราวๆ นี้

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion จัดงานมินิโรดโชว์ลำปาง 18-22 ธันวาคม 2567 พร้อมโปรโมชันดีส่งท้ายปี

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM