December 22, 2024

เปิดเคล็ดลับเลี้ยงหมู-ไก่ “5 หัวใจการผลิต” ได้สัตว์ปลอดโรค-ปลอดภัย สูตรซีพีเอฟ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ถ่ายทอดเคล็ดลับการเลี้ยงสัตว์ด้วยหลักการ 5 หัวใจการผลิต พันธุ์ดี-อาหารดี-โรงเรือนดี-การจัดการดี-ป้องกันโรคเข้มงวด ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทุกประเภทสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อให้ได้ผลผลิตสัตว์ที่ปลอดโรคและปลอดภัย สู่ผู้บริโภค

น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ศูนย์วินิจฉัยโรคสัตว์บก ซีพีเอฟ
น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ศูนย์วินิจฉัยโรคสัตว์บก ซีพีเอฟ

น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ศูนย์วินิจฉัยโรคสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์ตลอดห่วงโซ่ เพื่อให้ได้ผลผลิตสัตว์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดสาร ปลอดภัย และปลอดจากโรคระบาด โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับ 5 หัวใจของการเลี้ยงสัตว์ นับตั้งแต่ การพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์สัตว์ โดยทีมงานนักวิชาการด้านปรับปรุงพันธุ์ ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ขณะเดียวกันสัตว์ต้องได้รับอาหารที่ดี จากการที่คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารสัตว์ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาสูตรอาหารสำหรับสุกรและไก่ พร้อมคัดสรรวัตถุดิบชั้นดีผ่านการตรวจสอบว่าปลอดภัย ทำให้ได้อาหารที่มีคุณภาพมาตรฐานสม่ำเสมอ และตรงกับความต้องการของสัตว์ในแต่ละช่วงอายุ ควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ดี ภายใต้เทคโนโลยีโรงเรือนปิดระบบปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ (Evaporative Cooling System) หรืออีแวป ที่สามาถควบคุมสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม สัตว์จึงอยู่อย่างสบาย ไม่เครียด กินอาหารได้มาก และเจริญเติบโตดี ไม่ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา
ขณะเดียวกัน ต้องมีการจัดการฟาร์มและสภาพแวดล้อมที่ดี โดยยึดหลักมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์เพื่อการผลิตสัตว์ที่เป็นมาตรฐาน นอกจากนี้ซีพีเอฟยังได้ได้ริเริ่มนำเทคโนโลยีระบบโรงเรือนปิดควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์มาใช้กับการเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก ผู้เลี้ยงสามารถตรวจสอบและติดตามการเจริญเติบโตของสัตว์ในฟาร์มได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องเข้าโรงเรือนช่วยป้องกันโรคได้อีกทางหนึ่ง

ผลผลิตสัตว์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดสาร ปลอดภัย และปลอดจากโรคระบาด
ผลผลิตสัตว์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดสาร ปลอดภัย และปลอดจากโรคระบาด
 

“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลิตสัตว์มีประสิทธิภาพคือ การป้องกันโรคที่ดี โดยแยกพื้นที่ภายในฟาร์มและภายนอกให้ชัดเจน บุคลากรที่จะเข้าไปภายในฟาร์ม จะต้องผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนชุดที่ฟาร์มจัดไว้ ยานพาหนะที่จำเป็นต้องเข้าไปภายในฟาร์มจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อ และมีระบบการตรวจติดตามสุขภาพสุกรอย่างสม่ำเสมอ ในห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันโรค รวมถึงนำระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) มาใช้ และสื่อสารให้ฟาร์มของบริษัทและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์ ทั้ง 5 หัวใจการผลิต ทำให้สัตว์ในฟาร์มของทั้งซีพีเอฟและของเกษตรกรทุกแห่ง มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดจากโรคระบาด และปลอดสาร” น.สพ.นรินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ หลักการ 5 หัวใจทั้งพันธุ์ที่ดี อาหารดี โรงเรือนดี การจัดการดี และการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด เป็นหลักพื้นฐานของการเลี้ยงสัตว์ที่มีมาตรฐาน ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับฟาร์มของตนเองได้ตามความเหมาะสม ทั้งฟาร์มที่เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด หรือในโรงเรือนแบบปิดที่เกษตรกรใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตสัตว์ที่มีคุณภาพ อัตราเสียหายต่ำ ต้นทุนการผลิตสัตว์ต่อหน่วยลดลง จากจำนวนสัตว์ที่จับออกได้มากขึ้น และสุดท้ายผู้บริโภคก็จะได้รับอาหารจากเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง.

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Saturday, 20 October 2018 14:59

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM