November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

กรมการข้าว ขานรับแก้ปัญหา ข้าวหอมพวง

รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการข้าว พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ประชุมร่วมกับสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว นำโดยนายเกษม ผลจันทร์ นายกสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวหอมพวงที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง

นายประสงค์ ประไพตระกูล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า กรมการข้าวไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการทำความเข้าใจ ตลอดจนขอความร่วมมือทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกวดขันสถานที่รวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมข้าวเปลือกและร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 ล่าสุดเก็บตัวอย่างข้าวจากท่าข้าวในจังหวัดนครสวรรค์มาทำการวิเคราะห์และตรวจสอบตามหลักวิชาการ ในเบื้องต้นนั้นยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นข้าวพันธุ์ใดกันแน่ แม้ตามความเข้าใจของเกษตรกรจะเรียกว่า "ข้าวหอมพวง" ซึ่งหมายถึงข้าวจัสมิน 85 ตามชื่อที่โรงสีใช้เรียกข้าวพันธุ์นี้ แต่ข้อเท็จจริงตามหลักวิชาการนั้น ทั้งข้าวหอมพวงและข้าวจัสมิน 85 เป็นข้าวคนละพันธุ์กัน

ในประเทศไทยมีข้าวที่ใช้ชื่อหอมพวงอยู่จริง แต่เป็นข้าวที่มีการเก็บรักษาพันธุ์อยู่ในธนาคารเชื้อพันธุ์ข้าว ส่วนข้าวจัสมิน 85 นั้น เป็นพันธุ์ข้าวจากสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute : IRRI)

ซึ่งเวียดนามได้ขอเมล็ดพันธุ์มาพัฒนาพันธุ์เพื่อการค้าจนเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยได้ขอเมล็ดพันธุ์เพื่อทำการศึกษาเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดความกระจ่าง กรมการข้าวจึงดำเนินตรวจสอบเพื่อหาพันธุ์ที่แท้จริงใน 2 แนวทาง คือ 1) การประเมินทางสัณฐานวิทยาด้วยการปลูกเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์หอมพวงในธนาคารเชื้อพันธุ์และข้าวจัสมิน 85 ประมาณ 5-6เดือน และ 2) การประเมินทางพันธุศาสตร์ด้วยการตรวจสอบ DNA ซึ่งการตรวจสอบตัวอย่างทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 3 เดือน" นายประสงค์กล่าว

กรมการข้าวมีความเป็นห่วงทุกฝ่ายที่ยังคงปลูกและมีการซื้อขายข้าวพันธุ์นี้ เนื่องจากยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชจากกรมวิชาการเกษตร ดังนั้น หากเกษตรกรมีความต้องการปลูกข้าวพื้นนุ่ม ควรเลือกพันธุ์ที่ภาครัฐส่งเสริม เช่น กข21 กข31 กข39 กข43 กข53 กข77เป็นต้น ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์มีคุณภาพตามหลักวิชาการ และมีเมล็ดพันธุ์คุณภาพจำหน่ายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้รวบรวมฯ ได้เสนอให้กรมการข้าวเร่งรัดพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นนุ่มเพื่อตอบโจทย์ความต้องการข้าวพื้นนุ่มที่มีคุณภาพและราคาถูกกว่าข้าวหอมมะลิซึ่งมีราคาสูงในรอบหลายปี กรมการข้าวได้ตอบรับข้อเสนอนี้ จึงเร่งรัดให้มีการประชุมคณะกรรมการรับรองพันธุ์ข้าวในวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อรับรองพันธุ์ข้าวพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่ที่มีความโดดเด่นที่ให้ผลผลิตสูงประมาณ 1 ตัน/ไร่ และมีความต้านทานต่อโรคและแมลงกว่าพันธุ์อื่น โดยกำหนดเป็นพันธุ์ กข79 พร้อมทั้งเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์และวางแผนการกระจายพันธุ์ไปสู่พื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เพาะปลูกได้โดยเร็วที่สุด พร้อมเชื่อมโยงกับตลาดรับซื้อไว้ด้วย

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Saturday, 23 February 2019 02:13
ชนารดี ชัยศิริเมฆินทร์

Author : เกาะติดข่าวเกษตร วิถีของเกษตรพอเพียงแนวทางสู่ความยั่งยืน เกษตรผสมผสาน ทฤษฎีแห่งการใช้น้ำ การเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธ์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เครื่องมือเครื่องจักรเกษตร ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM