November 17, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

Viettel เทคโนโลยีใหม่ ถูกกฎหมาย เพื่อเรือประมง

Viettel เผยโฉมเทคโนโลยีใหม่ ช่วยยกระดับความปลอดภัย และความสอดคล้องกฎหมายในอุตสาหกรรมอาหารทะเล

บาร์เซโลนาสเปน : ที่งาน 2019 Mobile World Congress บริษัท Viettel Group ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ได้เปิดเผยโซลูชั่นเทคโนโลยีใหม่ 3 แบบ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลสามารถรับมือกับความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ โดยปัจจุบัน ชาวประมงกำลังเผชิญกับปัญหาทุกรูปแบบในสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งรวมถึงสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้ และกฎหมายประมงสากลที่ซับซ้อน

Nguyen Dinh Chien รองผู้อำนวยการใหญ่ของ Viettel Group 

Viettel ได้ใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นพัฒนาโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับชาวประมง โดยโซลูชั่นใหม่เหล่านี้ ได้แก่ อุปกรณ์ S-Tracking Device, ระบบ Automatic Identification System และเครื่องวิทยุสื่อสารย่านความถี่สูง HF Communication Transceiver

ผู้ใช้อุปกรณ์ S-Tracking Device จะได้รับข้อมูลอัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับสภาพอากาศ ซึ่งจะช่วยให้ชาวประมงหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่รุนแรง พร้อมทั้งส่งคำเตือนไปยังเรือที่อาจประสบอันตราย

โดยข้อมูลบนเรือจะถูกบันทึกไว้แบบเรียลไทม์ และจะถูกส่งไปยังฐานข้อมูลในทุก ๆ ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากเรือประมงเข้าสู่พื้นที่อันตราย ก็จะมีการส่งคำเตือนไปยังลูกเรือ โดยคำเตือนทั้งหมดที่ส่งถึงชาวประมงจะถูกเก็บเป็นความลับ

ขณะที่ระบบ Automatic Identification System จะช่วยป้องกันการปะทะด้วยระบบแจ้งเตือนสุดไฮเทคที่จะเตือนลูกเรือให้ระวังการชนและการข้ามเขตแดน ผ่านทางอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้ ระบบ AIS ยังสามารถเชื่อมต่อดาวเทียมและ GSM เพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับเรือและการแจ้งเตือนปัญหา เมื่อชาวประมงตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจะสามารถส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ SOS จากบนเรือได้ ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในตลาดที่ลูกเรือจะต้องอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งจึงจะส่งสัญญาณได้

อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ Viettel นำมาโชว์ในงานนี้ คือ HF Communication Transceiver ซึ่งติดตั้งมากับเทคโนโลยี Software Defined Radio (SDR) แบบชิป พร้อมด้วยโมดูล GPS และ GSM/GPRS ที่ทำให้ลูกเรือสามารถโทรออกได้ด้วยค่าโทรที่มีถูกกว่า เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในตลาดที่จะใช้โทรศัพท์ได้ก็ต่อเมื่อเชื่อมต่อสัญญาณดาวเทียม ขณะเดียวกัน หากประสบปัญหาสัญญาณอับ อุปกรณ์อันล้ำสมัยนี้จะยังคงทำงานได้ต่อเนื่องตามปกติ โดยพิกัดของเรือจะถูกส่งไปยังฐานผ่านย่านความถี่สูง (HF) หรือคลื่นดาวเทียม

 

"เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้นำเสนอความสามารถของ Viettel ในการผลิตอุปกรณ์ส่งสัญญาณคลื่นสั้นให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ โดยอุปกรณ์สำหรับชาวประมงนี้ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เนื่องจากเบื้องหลังความสำเร็จของผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ ความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีหลักของ Viettel เช่น วิทยุสื่อสาร การส่งข้อมูลแบบเข้ารหัส และเทคโนโลยีความปลอดภัย" คุณ Nguyen Dinh Chien รองผู้อำนวยการใหญ่ของ Viettel Group กล่าว

 

Viettel หวังว่า ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีทั้งสามผลิตภัณฑ์นี้จะสามารถช่วยเหลือชาวประมงเวียดนามกว่าล้านคนในการปฏิบัติงานทั้งในและนอกชายฝั่งได้เป็นลำดับแรก และ Viettel จะเดินหน้าต่อไปเพื่อขยายโซลูชั่นเหล่านี้ไปยังกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น กัมพูชา เมียนมา ติมอร์ตะวันออก และแทนซาเนีย ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการพัฒนาโทรคมนาคมตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลยกระดับความปลอดภัยและความสอดคล้องกฎหมาย

เกี่ยวกับ Viettel Group

 Viettel เป็นกลุ่มบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุดในเอเชีย บริษัทเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังความนิยมของบรอดแบนด์มือถือ ไม่เฉพาะในเวียดนาม แต่ยังรวมไปถึงอีก 10 ประเทศทั่วโลก ทั้งในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา นอกจากนี้ Viettel ยังเป็นบริษัทโทรคมนาคมเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่มีส่วนร่วมในการวิจัยและผลิตโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อรับรองความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล สำหรับในงานมหกรรม Mobile World Congress (MWC) 2019 ทาง Viettel มุ่งเน้นนำเสนอโซลูชั่นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น ระบบ Evoled Packet Core System (EPC), ระบบชาร์จไฟออนไลน์ (OCS), ระบบการจัดการแคมเปญระบบปฎิบัติการความปลอดภัยการระบุพิกัด และการพลิกโฉมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการจอดรถอัจฉริยะ ศูนย์ปฎิบัติการอัจฉริยะ และระบบสื่อสารสำหรับเรือ

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Saturday, 02 March 2019 05:50
ภูวิศ ภูสิทธิ์อุดมรัตน์

Author : เด็กช่าง เจ๋งที่สุด เกาะติดข่าวโรงงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร โมดูล อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์ ราวๆ นี้

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM