Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

กทปส. ตรวจสอบความคืบหน้าเน็ตชายขอบ พื้นที่ Zone C+ ให้พร้อมใช้งานอย่างทั่วถึงในปี 2561

กทปส. ตรวจสอบความคืบหน้าเน็ตชายขอบ พื้นที่ Zone C+ ให้พร้อมใช้งานอย่างทั่วถึงในปี 2561 หวังให้ประชาชนในพื้นที่กว่า 3,920 หมู่บ้านสามารถใช้อินเทอร์เน็ตรองรับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ

กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เดินหน้าติดตามผลการดำเนินงานจากโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ หรือ หมู่บ้านในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) หวังให้แผนการดำเนินงานติดตั้งเป็นไปตามเป้าหมายระยะเวลาที่รัฐบาลวางไว้ คือ ครอบคลุม 75,000 หมู่บ้าน และหนึ่งในพื้นที่ที่ สำนักงาน กสทช. ร่วมด้วย USO และ กทปส. รับผิดชอบกับพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) จำนวน 3,920 หมู่บ้าน ตั้งเป้าพร้อมใช้งานในปลายปี 2561 และเตรียมตรวจความคืบหน้ากว่าร้อยละ 67 ถึงร้อยละ 97 ในภาพรวมจากรายงานการดำเนินงานที่ผ่านมา

นายนิพนธ์ จงวิชิต รักษาการผู้จัดการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินงานการพัฒนาประเทศด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมการให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสู่การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่ชายขอบให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม ดังนั้น โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อวางเป้าให้สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมทุกหมู่บ้านของประเทศไทย และได้เริ่มต้นลงนามการพัฒนาในส่วนของพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) คือ พื้นที่ขอบนอกของจังหวัด พื้นที่ทุรกันดาร

จำแนกกลุ่มพื้นที่ชายขอบเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มหมู่บ้านพื้นที่ชายขอบภาคเหนือ 1 กลุ่มหมู่บ้านพื้นที่ชายขอบภาคเหนือ 2 กลุ่มหมู่บ้านพื้นที่ชายขอบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มหมู่บ้านพื้นที่ชายขอบภาคกลาง-ภาคใต้ และกลุ่มหมู่บ้านพื้นที่ชายขอบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (รวม 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา) จำนวน 3,920 หมู่บ้าน

ซึ่งเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 ได้เดินหน้าพัฒนาในระยะที่ 1 ไปแล้ว ภายใต้กรอบงบประมาณ 12,900 ล้านบาท โดย สำนักงาน กสทช. USO และ กทปส. ซึ่งปัจจุบัน กทปส. ได้เตรียมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานจากที่ได้รับรายงานความคืบหน้าที่แล้วเสร็จไปแล้วกว่าร้อยละร้อยละ 67 ถึงร้อยละ 97 ในภาพรวมของแผนงานดำเนินโครงการ และตั้งเป้าให้พร้อมใช้งานภายในปลายปี 2561

นายนิพนธ์ กล่าวอีกว่า การติดตามผลการดำเนินงานความคืบหน้า ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของ กทปส. ซึ่งเราให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามเป้าหมายในระยะเวลา โดยเฉพาะให้ความสำคัญในพื้นที่ชายขอบที่ต้องการการพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อหวังให้เกิดความเท่าเทียมในประเทศ สำนักงาน กสทช. และ กทปส. ตระหนักเสมอถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เกิดความเท่าเทียม โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยีการสื่อสารเท่านั้น หากแต่เป็นอนาคตของประเทศอนาคตของประชาชนทุกคน ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากเกิดเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสู่พื้นที่ชายขอบ (Zone C+) จะเกิดการพัฒนาหลายภาคส่วน อาทิ การศึกษาที่จะสามารถเชื่อมโลกให้เด็ก เยาวชนเกิดการใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาหาความรู้หรือสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพได้ ในด้านการแพทย์ก็สามารถทำให้หน่วยแพทย์ พยาบาลเชื่อมต่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที การพัฒนาด้านการส่งเสริมสินค้า ภาคธุรกิจชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นในการให้ชุมชนและประชาชนในพื้นที่สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรืออาจเกิดกลุ่ม SMEs ขนาดย่อมในชุมชน การเชื่อมโยงระหว่างชุมชนใกล้เคียง หากมีการวางระบบสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ การเชื่อมโยงระหว่างชุมชนใกล้เคียงถือเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งด้านการสื่อสารระหว่างผู้นำชุมชน การค้าขายในพื้นที่ใกล้เคียง การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย เป็นต้น ซึ่งหากพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) วางระบบครบถ้วน จำนวน 3,920 หมู่บ้านสำเร็จเชื่อมั่นว่าจะเกิดการพัฒนา และลดความเลื่อมล้ำในด้านคุณภาพชีวิตได้อย่างแน่นอน

"ในการดำเนินโครงการแยกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การติดตั้ง 365 วัน ครบกำหนด 27 กันยายน 2561 ระยะที่ 2 สนับสนุน 5 ปี สิ้นสุด 27 กันยายน 2566 ระยะที่ 3 คือส่งมอบงาน อีก 60 วัน ณ ปัจจุบันการดำเนินงานอยู่ในระยะที่ 1 การส่งมอบงานติดตั้งซึ่งภาคเอกชนที่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินโครงการรายงานถึงความคืบหน้ากว่าร้อยละ 67 ถึงร้อยละ 97 ตามรายงานความคืบหน้าที่ผ่านมา โดยนับจากวันนี้ ถึง ธันวาคม 2561 ทาง กทปส. ได้จัดเตรียมแผนงานในการลงพื้นที่สำรวจความคืบหน้า เตรียมการส่งมอบอาคาร อุปกรณ์การติดตั้ง พร้อมตรวจสอบระบบสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในการเชื่อมต่อให้สมบูรณ์พร้อมใช้งาน มุ่งหวังให้พื้นที่ชายขอบ (Zone C+) จำนวน 3,920 หมู่บ้านได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายในปลายปี 2561 ตามระยะเวลาที่กำหนด

พร้อมมุ่งหวังว่าการเริ่มต้นในครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดพัฒนาโครงข่ายในอนาคต เพื่อให้ทุกพื้นที่ในประเทศไทยมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ลดไม่เท่าเทียมในด้านต่าง ๆ สร้างโอกาสให้กับพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร เติมเต็มศักยภาพให้กับประชาชนผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศและเป็นการสร้างอนาคตใหม่ให้กับประเทศไทย" นายนิพนธ์ กล่าวสรุป

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 17:33
ยศธน ธนธรรม

Author : เกาะติดข่าวเทคโนโลยี, นวัตกรรม, ไอที, Gadget, หุ่นยนต์, ดิจิทัล, Software, AI, Big Data, ปัญญาประดิษฐ์, Internet of Things (IoT), Blockchain, EV, 3D, Clean Energy, Drone, ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM