Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ปส. รับโล่“อาคารราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย” ชูแผนยุทธศาสตร์ปี 64 พัฒนาเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืน

“สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ” รับรางวัล “อาคารราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย” พร้อมชูแผนยุทธศาสตร์ปีหน้า เป็นหน่วยงานส่งเสริมนโยบายและสร้างสรรค์เทคโนโลยีในและต่างประเทศ พัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสีสู่ความเป็นเลิศในอาเซียน เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชน

นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (Office of Atoms for Peace : OAP) หรือ ปส. เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมการจัดทำความเสี่ยงโครงการและการบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และการบริหารความเสียงองค์กร ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ผู้รับผิดชอบโครงการที่จะเสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และที่เกี่ยวข้อง จำนวน 76 คน โดยมี รศ.ดร. อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะ จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคาร 1 ปส.

รศ.ดร. อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี ขณะบรรยายเรื่อง "การแปลงนโยบายยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ"

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกลางให้การเสนอแนะนโยบาย แนวทางและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูในทางสันติ กำกับให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชน โดยการบริหารจัดการด้านพลังงานปรมาณู กำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี กำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู เพื่อให้มีนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูในทางสันติให้เป็นไปตามพันธกรณีและมาตรฐานสากล สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนและให้มีการพัฒนาและใช้พลังงานปรมาณูให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชน ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ มีแนวโน้มการใช้พลังงานด้านนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทาง ปส. ได้พัฒนาสมรรถนะและศักยภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานมาโดยตลอด โดยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ทุก 5 ปี เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้และสอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศ

สำหรับแผนยุทธศาสตร์ปี 2564 ได้นำแนวคิดและทฤษฎีในการจัดทำแผนแบบต่างๆ มาผสมผสาน ปรับปรุง และวิเคราะห์ เพื่อให้ได้แผนที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ตอบสนองต่อความต้องการของทุกฝ่าย และขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย

ปส. มุ่งเน้นนโยบายเพื่อเป็นผู้นำด้านนิวเคลียร์ใน AEC ดังวิสัยทัศน์ “สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมและเป็นผู้นำในการพัฒนาเครือข่ายด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสีในกลุ่มประเทศอาเซียน”

รายละเอียดยุทธศาสตร์

  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาความพร้อมด้านการกำกับดูแลการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยพัฒนาศักยภาพในการวิจัยเป็นสำคัญ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้ประชาชนได้ทราบ รวมถึงร่วมพัฒนากฎหมายอีกทางหนึ่งโดยการ ร่าง พรบ.พลังงานนิวเคลียร์ฉบับใหม่ เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงาน
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยการสร้างพันธกรณีกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ต่างๆ เช่น การสร้างเครือข่ายในเชิงของการทำ MOU การสร้างความร่วมมือด้านการเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์และรังสีกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ การสร้างพันธกรณีการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี การปฎิบัติตามกฎของทบวงการพลังงานนิวเคลียร์และรังสีระหว่างประเทศ
  • ยุทธศาสตร์การเผยแพร่และการถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์ เช่นการเผยแพร่ให้แก่บุคลากรในสถานพยาบาล และ Outside in คือการนำความรู้จากภายนอกมาเผยแพร่ให้แก่บุคลากรภายใน คือ “การสื่อสารสาธารณะ” ให้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เนื่องจากตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์น้อยมาก การประชาสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ปส. เป็นหน่วยงานบังคับใช้พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พศ.2559 และที่แก้ใขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกฎหมายในการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังส่งผลให้ไทยเข้าเป็นภาคีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านนิวเคลียร์ที่สำคัญหลายพันธกรณี อาทิ สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นบทบาทนำของไทยด้านการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประชาคมโลก

โดยปัจจุบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้เข้ามามีบทบาทในงานด้านต่างๆ หลายแขนง เช่น ด้านการแพทย์ ใช้ในการปลอดเชื้อผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ตรวจการทำงานของอวัยวะในร่างการ รวมถึงใข้ในการตรวจวินิจฉัน ตลอดจนบำบัดรักษาโรค

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำลังช่วยผู้เชี่ยวชาญในประเทศคอสตาริกา โดยใช้รังสีเพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อแมลงวันที่เหลือออกมาจากดักแด้จะเป็นหมันและไม่สามารถสืบพันธุ์ได้

ด้านการเกษตร ใช้ในการการกำจัดศัตรูพืช ด้านการผลิตใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า หรือในอุตสาหกรรมอัญมณีก็สามารถใช้รังสีเปลี่ยนสีของอัญมณีให้เป็นที่ต้องการของตลาด และด้านการศึกษา ใช้ในการศึกษาทางธรณีวิทยา ใช้ในการสำรวจทรัพยากรด้านโบราณคดี หาอายุของโบราณสถาน โบราณวัตถุ

ทุกวันนี้เทคโนโลยีอยู่รอบตัวเราและขยับเข้ามาใกล้กับชีวิตทุกคนมากขึ้นทุกที ในบางครั้งอยู่ใกล้จนไม่รู้ตัวว่า กำลังใช้ประโยชน์จากพลังงานงานนิวเคลียร์อยู่ และเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทางปส. จึงมุ่งมั่นกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและคุ้มครองให้ประชาชนไม่อยู่บนความเสี่ยงที่จะได้รับรังสีนอกเหนือจากได้รับตามธรรมชาติ

การกำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นภารกิจหลักของ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติที่มุ่งกำกับดูแลความปลอดภัยดังกล่าวมากกว่า 58 ปี ตั้งแต่ออกใบอนุญาตฯ ควบคุมดูแลตรวจสอบการใช้จนกระทั่งที่เลิกใช้ ให้เป็นไปอย่างปลอดภัยตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและข้อกำหนดของทบวงการพลังงานงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA)

ทั้งนี้ ปส.พร้อมขับเคลื่อนองค์กรภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและนโยบาย Thailand 4.0 โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาพัฒนางานกำกับดูแลความปลอดภัย ตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมก้าวสู่วิสัยทัศน์ใหม่คู่สังคมไทย

อนึ่ง ปส. มุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในภาระกิจขององค์กร ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้ารับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่ผ่านการประเมินโครงการ “อาคารราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย” จากนายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

“ปส. ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้การจัดการน้ำเสียจากอาคารและระบายน้ำทิ้งเป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม และขอร่วมเป็นแบบอย่างที่ดีในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อไป”

 



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Tuesday, 06 October 2020 09:24
ฐิตตา ธิติโรจธนกุล

Author : เกาะติดข่าวสุขภาพและความงาม แฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องประดับ การท่องเที่ยว ร้านอาหารและโรงแรม ไลฟ์สไตล์ การออกกำลังกาย การปั่นจักรยาน สินค้าไอที วิทยาศาสตร์ Innovation ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM