“สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ” (Office of Atoms for Peace : OAP) หรือ ปส. หน่วยงานสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชูแผนยุทธศาสตร์หน่วยงาน ส่งเสริมนโยบายและสร้างสรรค์เทคโนโลยีในและต่างประเทศ พัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสีสู่ความเป็นเลิศในอาเซียน

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลความปลอดภัยการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มการใช้พลังงานด้านนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทาง ปส. ได้พัฒนาสมรรถนะและศักยภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานมาโดยตลอด โดยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ทุก 5 ปี เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้และสอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศ

สำหรับแผนยุทธศาสตร์ฉบับล่าสุด – ปี 2564 นี้ ทาง ปส. ได้นำแนวคิดและทฤษฎีในการจัดทำแผนแบบต่างๆ มาผสมผสาน ปรับปรุง และวิเคราะห์ เพื่อให้ได้แผนที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ตอบสนองต่อความต้องการของทุกฝ่าย และขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังวิสัยทัศน์
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมและเป็นผู้นำ ในการพัฒนาเครือข่ายด้านการกำกับดูแลความปลอดภัย จากการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสีในกลุ่มประเทศอาเซียน
รายละเอียดยุทธศาสตร์ 3 ด้าน มีดังนี้
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาความพร้อมด้านการกำกับดูแลการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยพัฒนาศักยภาพในการวิจัยเป็นสำคัญ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้ประชาชนได้ทราบ รวมถึงร่วมพัฒนากฎหมายอีกทางหนึ่งโดยการ ร่าง พรบ.พลังงานนิวเคลียร์ฉบับใหม่ เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงาน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยการสร้างพันธกรณีกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ต่างๆ เช่น การสร้างเครือข่ายในเชิงของการทำ MOU การสร้างความร่วมมือด้านการเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์และรังสีกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ การสร้างพันธกรณีการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี การปฎิบัติตามกฎของทบวงการพลังงานนิวเคลียร์และรังสีระหว่างประเทศ
- ยุทธศาสตร์การเผยแพร่และการถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์ เช่นการเผยแพร่ให้แก่บุคลากรในสถานพยาบาล และ Outside in คือการนำความรู้จากภายนอกมาเผยแพร่ให้แก่บุคลากรภายใน คือ “การสื่อสารสาธารณะ” ให้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เนื่องจากตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์น้อยมาก การประชาสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ทั้งนี้เมื่อต้นเดือน ปส. ได้มีการจัดประชุมสามัญ The 6th Annual Meeting of ASEANTOM and Technical Security in ASEAN (ASEANTOM) ประจำปี ครั้งที่ 6 โดยมีผู้ว่าฯกระบี่ เป็นประธานเปิดการประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 6 ของเครือข่ายหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณูในภูมิภาคอาเซียน หรือ ASEANTOM ณ จังหวัดกระบี่ โดยมีเครือข่ายนานาชาติทั้งในภูมิภาคอาเซียน เอเชีย อเมริกา และสหภาพยุโรป กว่า 50 คน ระดมความคิด หารือความร่วมมือ รายงานผลกิจกรรมต่าง ๆ มุ่งเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งศักยภาพในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในภูมิภาคอาเซียน พร้อมยกระดับความร่วมมือกับภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อมุ่งสู่ความปลอดภัยอย่างยั่งยืนในอนาคต

(จากซ้ายไปขวา) นางรัชดา เหมปฐวี รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ พันตำรวจโท หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย
พันตำรวจโท หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย นางรัชดา เหมปฐวี รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และ นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ร่วมกัน เปิดการประชุม ในวันที่ 1 – 4 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรม dusitD2 จังหวัดกระบี่ โดยมีผู้แทนจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และหน่วยงานคู่เจรจาจากประเทศต่าง ๆ อาทิ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เข้าร่วมกว่า 50 คน ซึ่งได้รับเกียรติจาก จากนานาประเทศ

พันตำรวจโท หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร ได้กล่าวว่า ทางจังหวัดกระบี่เองมีความภาคภูมิใจ เป็นอย่างมาก ที่การประชุมการประชุมในครั้งนี้ ได้เลือกจังหวัดกระบี่ เป็นสถานที่จัดการประชุม และการประชุมในครั้งนี้จะมีบุคคลสำคัญ จากประเทศต่างๆ เกือบ 20 ประเทศ มาร่วมการประชุม ซึ่งกระบี่เราเป็นเมืองท่องเที่ยว มีความสวยงามทางธรรมชาติ ทั้งชายหาด ทะเล และภูเขา ซึ่งผลพวกจากการประชุมในครั้งนี้ ตนมันใจว่าทุกๆท่านที่ได้เดินทางมากระบี่ แล้วเอาความประทับใจ กลับไป และแน่นอนที่สุด ท่านจะต้องกลับมาเที่ยวกระบี่อีกในโอกาสต่อไป

ทางด้าน นางรัชดา กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2562 ถือเป็นปีสำคัญของประเทศไทยในเวทีระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยการเป็นประธานอาเซียน และ ปส.ได้รับหน้าที่เป็นประธานเครือข่ายหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณูในภูมิภาคอาเซียน โดย ปส. ได้จัดทำแผนกิจกรรมต่าง ๆ ในฐานะเจ้าภาพ ได้แก่ การประชุมและฝึกอบรมเพื่อเสริมศักยภาพ รวมทั้ง ความแข็งแกร่งด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในภูมิภาคอาเซียน และหน่วยงานคู่เจรจา ตลอดในปี พ.ศ. 2562 นี้ การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมนานาชาติในฐานะที่ ปส. เป็นประธาน ASEANTOM 2019 ซึ่งจัดขึ้น ณ จังหวัดกระบี่ โดยความร่วมมือระหว่าง ปส. ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ และกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา ก็เพื่อเปิดเวทีให้ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนทบทวนและรายงานผลการดำเนินงานภายใต้เครือข่ายฯ
ในปี พ.ศ. 2561 ร่วมหารือแผนงานและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในอนาคต รวมถึงการตัดสินใจประเด็นด้านนโยบาย ที่สำคัญและแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในโอกาสนี้ ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมหารือกับหน่วยงานคู่เจรจา จากประเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและขยายขอบเขตความร่วมมือด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีต่อไปในอนาคต

สถานีตรวจเฝ้าระวังฯ
นางรัชดา กล่าวเพิ่มอีกว่า ในรยะห่วงเวลาที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ASEANTOM ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานคู่เจรจาในหลากหลายสาขา ได้เตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี การเฝ้าระวังกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการ ความมั่นคงปลอดภัยด้านการขนส่ง การตอบโต้การก่อการร้ายทางนิวเคลียร์ การติดตั้งระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รวมไปถึงการติดตั้งสถานีตรวจวัดทางรังสี และสถานีตรวจวัดวิเคราะห์นิวไคลด์กัมมันตรังสี เชื่อมั่นว่าการประชุมในครั้งนี้นอกจากจะนำไปสู่การกำหนดทิศทางและนโยบายที่สำคัญซึ่งจะเป็นประโยชน์ และช่วยส่งเสริมการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีภายในภูมิภาคอาเซียน อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว

ยังจะช่วยผลักดันการพัฒนาและขยายผลความร่วมมือระหว่าง 10 ประเทศสมาชิก ในภูมิภาคอาเซียนกับหน่วยงานคู่เจรจาจากประเทศต่าง ๆ นอกภูมิภาคอาเซียนในอนาคตได้อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมประเด็นความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีได้มากยิ่งขึ้น จะส่งผล ให้ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีศักยภาพและความเข้มแข็งในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ให้แก่ประชาชน ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

ปส. เป็นหน่วยงานบังคับใช้พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พศ.2559 และที่แก้ใขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกฎหมายในการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังส่งผลให้ไทยเข้าเป็นภาคีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านนิวเคลียร์ที่สำคัญหลายพันธกรณี อาทิ สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นบทบาทนำของไทยด้านการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประชาคมโลก

โดยปัจจุบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้เข้ามามีบทบาทในงานด้านต่างๆ หลายแขนง เช่น
- ด้านการแพทย์ ใช้ในการปลอดเชื้อผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ตรวจการทำงานของอวัยวะในร่างการ รวมถึงใข้ในการตรวจวินิจฉัน ตลอดจนบำบัดรักษาโรค
- ด้านการเกษตร ใช้ในกระบวนการผลิต ตรวจสอบคุณภาพของสินค้า หรือในอุตสาหกรรมอัญมณีก็สามารถใช้รังสีเปลี่ยนสีของอัญมณีให้เป็นที่ต้องการของตลาด
- ะด้านการศึกษา ใช้ในการศึกษาทางธรณีวิทยา ใช้ในการสำรวจทรัพยากรด้านโบราณคดี หาอายุของโบราณสถาน โบราณวัตถุ

ทุกวันนี้เทคโนโลยีอยู่รอบตัวเราและขยับเข้ามาใกล้กับชีวิตทุกคนมากขึ้นทุกที ในบางครั้งอยู่ใกล้จนไม่รู้ตัวว่า กำลังใช้ประโยชน์จากพลังงานงานนิวเคลียร์อยู่ และเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทางปส. จึงมุ่งมั่นกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและคุ้มครองให้ประชาชนไม่อยู่บนความเสี่ยงที่จะได้รับรังสีนอกเหนือจากได้รับตามธรรมชาติ

การกำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นภารกิจหลักของ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติที่มุ่งกำกับดูแลความปลอดภัยดังกล่าวมากกว่า 58 ปี ตั้งแต่ออกใบอนุญาตฯ ควบคุมดูแลตรวจสอบการใช้จนกระทั่งที่เลิกใช้ ให้เป็นไปอย่างปลอดภัยตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและข้อกำหนดของทบวงการพลังงานงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA)

ปส.พร้อมขับเคลื่อนองค์กรภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและนโยบาย Thailand 4.0 โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาพัฒนางานกำกับดูแลความปลอดภัย ตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมก้าวสู่วิสัยทัศน์ใหม่คู่สังคมไทย
