IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
“เจน นำชัยศิริ” ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า จากผลวิจัยถือว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลของ ส.อ.ท. ดังนั้นจึงมีข้อเสนอร่วมกันว่า 5 ปีต่อจากนี้ไป ภาครัฐควรมุ่งเน้นสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็ก ควบคู่กัน 3 ด้าน ได้แก่ 1.การให้ข้อเสนอจูงใจผู้ประกอบการลงทุนเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น 2.การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม 4.0 อย่างจริงจัง และ 3.สนับสนุนการพัฒนาฝึกอบรมด้านสะเต็มและเทคนิค เพื่อเร่งพัฒนาทักษะแรงงานให้ทันกับเทคโนโลยี
ดังจะเห็นว่าบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งมีการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อผลิตบุคลากรให้มีทักษะตรงความต้องการมากที่สุด และสิ่งที่โครงการ Chevron Enjoy Science ทำอยู่ ถือเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูวิทยาลัยเทคนิคกับภาคอุตสาหกรรม
เจน นำชัยศิริ, ดร.ประชาคม จันทรชิต, อาทิตย์ กริชพิพรรธ
อีกทั้งการส่งเสริมสะเต็มศึกษาแบบบูรณาการให้แก่นักเรียนในระดับอาชีวะ ที่ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจด้านสะเต็มที่สามารถแก้โจทย์ปัญหาพัฒนาโครงงานได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะยังถือเป็นอุปสรรคสำคัญ ตรงนี้หากยังไม่สามารถก้าวผ่านความท้าทายนี้ไปได้ อาจส่งผลทำให้เกิดการชะลอการลงทุน
“ดังนั้นภาครัฐจึงต้องประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนในการเร่งปฏิรูประบบการศึกษา โดยเฉพาะการผลิตแรงงานวิชาชีพรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบาย เพื่อให้เท่าทันและเพียงพอความต้องการ”
“ดร.ประชาคม จันทรชิต” รองเลขาธิการ สอศ. กล่าวว่า สิ่งที่ สอศ.ทำเพื่อตอบโจทย์ความต้องการแรงงานของภาคอุตสาหกรรม คือ การจัดการศึกษาทวิภาคี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษากับภาคผู้ใช้ที่เป็นภาคอุตสาหกรรม
“โดยปี 2560 มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการทวิภาคี เป็น 32,800 แห่ง ส่วนปี 2561 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 40,000 แห่ง ส่วนจำนวนของผู้เรียนในระบบทวิภาคี ปี 2560 อยู่ที่ 125,000 คน และปี 2561 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 188,000 คน ตรงนี้ต้องขอบคุณในความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรม”
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการแรงงานในตำแหน่งงานต่าง ๆ และความต้องการในสมรรถนะของผู้จบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเฟ้นหาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการ
“สิ่งที่ สอศ.และภาคอุตสาหกรรมต้องทำร่วมกัน คือ การพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ อีกทั้งยังต้องมีการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน เพราะต้องบอกตามตรงว่าเราตามภาคอุตสาหกรรมไม่ทันจริง ๆ รวมถึงการวัดและประเมินผลร่วมกัน”
ที่สำคัญ ต้องมีการสร้าง career path ร่วมกัน เพื่อสร้างความมั่นคงในแง่รายได้ให้แก่ผู้จบการศึกษาที่จะเข้าสู่อาชีพจริง ๆ เพื่อให้เห็นช่องทางความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ ทั้งหมดนี้ถ้าทำได้จริง เชื่อว่าการจัดการภาคอาชีวศึกษาจะสามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการ และภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจากนี้ไปในอีก 4 ปีข้างหน้า เราจะผลิตบุคลากรในระดับ ปวช.-ปวส.ได้ราว 2 แสนคน
ขณะที่ “อาทิตย์ กริชพิพรรธ” ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหา-ความท้าทายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย 4.0 จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงปัญหา และอุปสรรค รวมถึงแนวทางแก้ไข นำเสนอต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล โดยได้ให้ Chisholm Institute Australia ทำการวิจัยในรูปแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งในและต่างประเทศถึงแนวทางดังกล่าว
งานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chevron Enjoy Science ซึ่งขณะนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 โดยจะมุ่งพัฒนาครูผู้สอนและบุคลากรสายอาชีพ ด้วยการเติมพื้นฐานด้านสะเต็มผ่านศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ (TVET Hub) ที่ถูกตั้งขึ้นใน 4 แห่งทั่วประเทศ และจะมีการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ