IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญและมีบทบาทร่วมบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่การผลิต มุ่งเน้นสร้างสมดุลระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิตลง 25% ในปี 2568 เทียบกับปีฐาน 2558
ซึ่งปัจจุบัน CPF มีสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพ และพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 575,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากต้นไม้ถึง 60 ล้านต้น (300,000 ไร่) และในปีนี้ มีแผนยกเลิกการใช้ถ่านหินสำหรับกิจการในประเทศไทยทั้งหมด โดยใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลทดแทน ส่งผลให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกมากกว่า 70,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
การใช้พลังงานและการจัดการของเสีย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซีพีเอฟ จึงได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
“การจัดการมูลสัตว์และน้ำเสีย และการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพและแสงอาทิตย์ เพี่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง สอดรับตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs)” นายประสิทธิ์ กล่าว
ปัจจุบันโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟ 37 แห่ง มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตทั้งหมด 20 เมกะวัตต์ ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ 13,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ฟาร์มสุกรและคอมเพล็กซ์ไก่ไข่มากกว่า 100 แห่ง ใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากสายส่งได้ถึง 69 ล้านหน่วย ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 492,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และในปีนี้ มีเป้าหมายลดการใช้ถ่านหินเป็นศูนย์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการในอีก 3 โรงงาน ที่จะทดแทนด้วยพลังงานชีวมวล ทำให้ลดก๊าซเรือนกระจกได้จากเดิมอีกมากกว่า 70,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการก๊าซเรือนกระจก และส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัล หุ่นยนต์ (Robotics) ระบบอัตโนมัติ (Automation) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในกระบวนการผลิตและขนส่ง เพื่อให้มีการใช้วัตถุดิบ น้ำ พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ในราคาที่เข้าถึงได้ สร้างความมั่นคงทางอาหารและสร้างระบบผลิตอาหารที่ยั่งยืน ขณะเดียวกัน ได้ประกาศนโยบายลดปริมาณขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯให้เป็นศูนย์ ในปี 2573
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low – Carbon Products) ของบริษัท เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากลดโลกร้อนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ประกอบด้วย อาหารไก่เนื้อ ไก่มีชีวิต เป็ดมีชีวิต สุกรขุน เนื้อไก่สด เนื้อเป็ดสด และเนื้อหมูสด ซึ่งผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำทั้งหมด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,483,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยในปีที่ผ่านมา ซีพีเอฟมีสัดส่วนรายได้ที่มาจากผลิตภัณฑ์สีเขียวอยู่ที่ 33% และคาดว่าในปี 2573 จะมีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สีเขียวอยู่ที่ 40% สำหรับกิจการในประเทศไทย รวมถึงยังมีส่วนร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยได้ประกาศความมุ่งมั่นว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า ด้วยการสร้างความร่วมมือกับคู่ค้า ผ่านนโยบายที่บริษัทได้ประกาศไว้ รวมถึงกำหนดเป้าหมายในการจัดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรหลักที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ปลาป่น น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง โดย 100% ของการจัดหาทั่วโลกของซีพีเอฟจะต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และมาจากพื้นที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า ภายในปี 2573 อีกด้วย
CPF ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้ง ปะทิว ผนึกกำลัง ชาวชุมพร "สร้างฝายชะลอน้ำ สานประโยชน์สู่ชุมชน" คืนความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนป่า
สำหรับด้านการมีส่วนร่วมรักษาสมดุลระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวรวม 20,000 ไร่ ผ่านการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ เช่น โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี และ โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ซึ่งจะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสม 200,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ และในส่วนของธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัทฯ มุ่งมั่นปกป้องทะเลโลก ผ่านการดำเนินโครงการขยะทะเล (Ocean Trash Project) ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการ “ขยะคืนฝั่ง ทะเลสวยด้วยมือเรา” นำโดยกรมประมงและสมาคมประมงแห่งประเทศไทย ที่ส่งเสริมและรณรงค์ให้ชาวประมงลดการทิ้งขยะลงสู่ทะเล และเก็บขยะจากกิจกรรมประมงขึ้นฝั่ง
โดยในปี 2564 ได้ร่วมกับโรงงานปลาป่นเจดีพีในจังหวัดตรัง และชาวประมง ต่อยอดโครงการด้วยการนำขยะพลาสติกจากขวด PET ที่เก็บจากทะเล แปรรูปเป็นเส้นใยพลาสติก ผลิตเป็นเสื้อโปโล รีไซเคิล แจกให้พนักงานซีพีเอฟ และในปีนี้มีแผนจะผลิตเพิ่มอีก นอกจากนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ป่าชายเลน ได้ริเริ่มโครงการกับดักขยะทะเล (Trap The Sea Trash Project) นำร่องพื้นที่ ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร เพื่อลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่ทะเล และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการจัดการขยะทะเล สร้างมูลค่าเพิ่มของขยะทะเลและปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศน์ ซีพีเอฟ ขับเคลื่อนนโยบายลดปริมาณการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่า เดินหน้าการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน
ด้าน นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ประธานคณะทำงานด้านการสูญเสียอาหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟตระหนักถึงความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร จึงมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยบริษัทได้ประกาศนโยบายด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Policy) เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ส่งเสริมการลดการสูญเสียอาหารในห่วงโซ่คุณค่า ลดปริมาณอาหารส่วนเกินและขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นศูนย์ ในปี 2030 (พ.ศ. 2573) โดยเริ่มต้นดำเนินการในกิจการประเทศไทย สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) เรื่องการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
“การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร เป็นปัญหาเร่งด่วนที่มีผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และการลดการสูญเสียอาหารยังสามารถช่วยแก้ปัญหาความอดอยากและขาดแคลนอาหารทั่วโลกได้ ซึ่งสอดรับกับเป้าหมาย SDGs ทั้งในเรื่องการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน” นายไพโรจน์ กล่าว
นางสาวกุหลาบ กิมศรี รองกรรมการผู้จัดการ สำนักระบบมาตรฐานสากล กล่าวว่า หน่วยธุรกิจต่างๆ ได้ร่วมมือผลักดันการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ อาทิ โครงการระบบลำเลียงไข่อัจฉริยะ นำระบบอัตโนมัติเข้ามาควบคุมการลำเลียงไข่ เพื่อลดความเสียหายจากการลำเลียงไข่จากฟาร์มไปสู่โรงคัดไข่ และความเสียหายที่เกิดจากกระบวนการคัดไข่ การนำอาหารสูญเสียมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น การนำเครื่องในไก่ ขนสัตว์ปีก และไข่ไก่ที่เสียหายในระหว่างการผลิต แปรรูปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ช่วยลดปริมาณของเสียจากกระบวนการผลิตได้เฉลี่ย 120,000 ตันต่อปี และช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการกำจัดของเสียได้มากกว่า 300,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
บริษัทฯ จึงได้ลงทุนสร้างระบบบำบัดน้ำทิ้งที่เป็นระบบปิดของโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ ฟาร์ม และโรงคัดไข่ เช่น เลือดไก่ ไขมันไก่ และไข่เสียหาย เพื่อนำอินทรียวัตถุที่เจือปนในน้ำทิ้งไปผลิตเป็นพลังงานชีวภาพเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 14,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 231,000 ต้น ในช่วงระยะเวลา 10 ปี เป็นต้น รวมทั้งยังช่วยลดการบำบัดของเสียที่ต้องการกำจัดอีกด้วย รวมถึงได้เริ่มศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลการสูญเสียอาหาร ตามแนวทางการเก็บข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มาตั้งแต่ปี 2020 เพื่อประเมินการสูญเสียอาหารและหามาตรการลดการสูญเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า มีโครงการนำร่องในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่และไข่ไก่ และในปี 2021 ได้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการสูญเสียอาหารของผลิตภัณฑ์เนื้อไก่และไข่ไก่ ในแต่ละกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของซีพีเอฟอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาจุดวิกฤตของการสูญเสียอาหาร นำไปสู่การจัดทำโครงการเพื่อป้องกันและลดการสูญเสียอาหารให้น้อยลง
“บริษัทฯ ติดตามและเก็บข้อมูลปริมาณการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิต ซึ่งปัจจุบัน ดำเนินการและเก็บข้อมูลครอบคลุมฟาร์มไก่เนื้อ ฟาร์มไก่ไข่ โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ และโรงคัดและบรรจุไข่ ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การผลิต และการจัดเก็บตามแนวทางขององค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง (ตั้งแต่ปี 2560-2564) ในขณะเดียวกัน ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่นำไปใช้ประโยชน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สะท้อนประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้นจากการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้” นางสาวกุหลาบ กล่าว
ล่าสุดบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ได้คว้า 4 รางวัลใหญ่ บนเวทีรายงานความยั่งยืนยอดเยี่ยมระดับเอเชีย Asia Sustainability Reporting Awards (ASRA) 2021 โดยสามารถคว้าระดับ Gold Class ซึ่งเป็นรางวัลระดับสูงสุด ในประเภท Asia’s Best Sustainability Report (Human Rights) ถือเป็นการตอกย้ำการรายงานความยั่งยืนด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าที่รอบด้านและโปร่งใส จนได้รับอีก 3 รางวัลจากงานเดียวกัน ประกอบด้วย รางวัลระดับ Silver ประเภท Asia’s Best Sustainability Report (Design) ส่วนอีก 2 รางวัล ในระดับ Bronze ได้แก่ Asia’s Best Environmental Impact Reporting และ Asia’s Best Supply Chain Reporting แสดงให้ถึงความมุ่งมั่นการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการเติบโตที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วยความโปร่งใส
นอกจากนี้ ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง ในเครือ CPF ยังได้รับ 2 รางวัลสุดยอดผู้ส่งออกอาหารแห่งปี 2021 (The Asian Export Awards 2021) จากเวที The Asian Export Awards 2021 จัดโดย Manufacturing Asia สื่อชั้นนำด้านการส่งออกระดับภูมิภาคเอเชีย ประกอบด้วย รางวัลผู้ส่งออกด้านนวัตกรรมอาหารแห่งปี 2021 (The Export Initiative of the Year - Food) จากผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช Meat Zero และ รางวัลผู้ส่งออกด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนแห่งปี 2021 (The Product Exporter of the Year – Food) จากนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์กล่องสินค้าผลิตภัณฑ์ไก่ที่ลดการใช้กระดาษ ตอกย้ำการเป็นบริษัทผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากห่วงโซ่การผลิตที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมดิจิทัล การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจในทุกกระบวนการ Feed Farm Food ซึ่งบริษัทฯ ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ภายใต้เป้าหมายความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ตามแนวทาง 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และ ดินน้ำป่าคงอยู่ มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่สร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก ดูแลคุณภาพชีวิตและส่งเสริมเกษตรกร คู่ค้าธุรกิจ และสังคมให้เติบโตไปด้วยกัน รวมทั้งดูแลความปลอดภัยของพนักงานอย่างสูงสุดอีกด้วย
นอกจากนี้ยัง CPF คว้าคว้า 2 รางวัล No.1 Brand Thailand Marketeer 2021-2022 ใน 2 หมวด ได้แก่ Frozen Food ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งทั้งหมด และ Chilled Food ผลิตภัณฑ์อาหารอุ่นร้อนด้วยไมโครเวฟพร้อมทาน โดยสินค้าที่เป็นฮีโร่ คือ "ไส้กรอก CP“ ที่ครองใจผู้บริโภคติดต่อกันถึง 2 ปีซ้อน
คุณอนรรฆวี ชูรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาดกลาง CPF กล่าวว่า เป็นเกียรติมากสำหรับรางวัล No.1 Brand Thailand ในหมวดสินค้า Frozen Food และ Chilled Food ซึ่งถือเป็นความสำเร็จ ที่สามารถครองตำแหน่งได้เป็นปีที่ 2 และขอขอบคุณผู้บริโภคทุกท่านที่โหวตให้ผลิตภัณฑ์ของ CP ได้เป็น No.1 Brand ครองใจผู้บริโภค
สำหรับ “ไส้กรอก CP“ สินค้าฮีโร่ในหมวด Chilled Food หลังจากปีแรกที่ได้รับรางวัล บริษัทฯ ได้สำรวจข้อมูล พบว่า ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมกินไส้กรอก CP ในมื้อเช้าเป็นประจำ นอกจากรสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังสะดวกรวดเร็วเหมาะกับวิถีของคนในวัยทำงานอีกด้วย โดยขณะนี้ บริษัทฯ จัดแคมเปญ “ไส้กรอก CP กินดีทุกเช้า พร้อมทุกเช้า” เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคนึกถึง “ไส้กรอก CP” เป็นมื้อเช้าดีๆ เตรียมความพร้อมก่อนทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ แบรนด์ CP ยังคงมุ่งมั่นรักษามาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไส้กรอก ด้วยการคัดสรรวัตถุดิบชั้นดี สะอาด ปลอดภัย ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานระดับโลก มุ่งมั่นพัฒนา สร้างมาตรฐานสินค้าคุณภาพและนวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ตอบโจทย์ผู้บริโภค เพื่อให้ยืนหนึ่งครองใจผู้บริโภคต่อไป
ด้านหมวด Frozen Food ได้พัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่องให้มีความหลากหลาย สะดวกพร้อมทาน ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตเร่งรีบในปัจจุบัน ด้วยแบรนด์ "CP WOK" จุดเด่นอยู่ที่ความหอมกลิ่นคั่วกระทะไม่ต่างจากอาหารปรุงสด พร้อมกับแพ็คเกจ WOK BOX ดีไซน์พิเศษเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหมด 3 เมนู ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวคั่วหมูแดง, บะหมี่คั่วไก่ จำหน่ายที่ 7-11 ทุกสาขาทั่วไทย และข้าวผัดหมูแดง ที่ Lotus's เร็วๆ นี้
"CPF จะไม่หยุดพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและความชื่นชอบของผู้บริโภคทุกยุคทุกสมัยต่อไป" คุณอนรรฆวี กล่าวทิ้งท้าย