November 15, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ไทยเบฟฯ ชู Vision 2020 ลุยตลาดอาเซียน

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เผยนโยบาย Vision 2020 มั่นใจเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เตรียมลงทุนเพิ่มต่อเนื่องระยะยาวถึงปี 2563 เพิ่มงบครั้งใหญ่ราว 5-8 พันล้านบาท ขยายฐานผลิตและปรับปรุง นวัตรกรรมและคลังสินค้าลุยตลาด CLMV พร้อมตั้งเป้าสู่ผู้ผลิตธุรกิจเครื่องดื่ม 1 ใน 5 ของเอเซีย

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง เปิดเผยว่า บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวในปีนี้ คาดว่าหลังจากรัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านทางโครงการต่างๆ ทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล ให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือกระทั่งกลุ่มเอสเอ็มอี จะช่วยผลักดันให้เฟื่อง เศรษฐกิจหมุนทั้งระบบในประเทศได้ บริษัทจึงได้เตรียมเพิ่มลงทุน 5,000-8,000 ล้านบาท ภายใต้แผนลงทุนระยะยาวโดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 และจะต่อเนื่องไปถึงปี 2563 ด้วยงบลงทุนรวม 3 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ในทุก 2-3 ปี บริษัทยังต้องลงทุนเครื่องจักร ระบบกระจายสินค้าอีกประมาณ 1.2-1.5 หมื่นล้านบาท

โดยจะรุกขยายตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของไทยเบพฯ ที่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องเป็น 1 ใน 5 บริษัทยักษ์ใหญ่ธุรกิจเครื่องดื่มของเอเชียให้ได้ภายในในปี 2563

ส่วน Vision 2020 จะเป็นการพัฒนาธุรกิจด้วยกลยุทธ์หลัก 5 ด้าน ได้แก่ Growth คือการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ Diversity ความหลากหลายของสินค้าและตลาด Brand การมีตราสินค้าที่โดนใจ Reach การกระจายสินค้าที่แข็งแกร่ง Professionalism ความเป็นมืออาชีพด้วยการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร

SABECO beer SAIGON

 

Grand Royal Whisky, Myanmar

 

Asiaeuro International Beverage

ทั้งนี้ ในกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บริษัทได้เริ่มไปทำตลาดเบียร์ที่เวียดนามโดยการเข้าซื้อกิจการของ “ซาเบโก้” เจ้าของแบรนด์ไซง่อนเบียร์ และตามด้วยฟิลิปปินส์ เพราะตลาดเบียร์มีขนาดใหญ่ อัตราการบริโภคของประชากรภายในประเทศมีสูง โดยเข้าไปซื้อกิจการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวียดนาม และเข้าไปลงทุนในกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสุรา Grand Royal Whisky ที่เมียนมาร์ในสัดส่วน 75 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงส่งออกเบลนด์ 285 ซิกเนเจอร์ และบรั่นดีเมอริเดียนไปเปิดตลาดอาเซียน รวมถึงลงทุนที่สก็อตแลนด์ และฝรั่งเศสในกลุ่ม Asiaeuro International Beverage ในสัดส่วน 51 เปอร์เซ็นต์ อีกด้วย

“ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเมียนมา คิดเป็นสัดส่วน 85 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยรวมของอาเซียน จึงให้ความสำคัญกับ 4 ประเทศนี้เป็นหลัก ซึ่งในกัมพูชาและเมียนมาตลาดเบียร์กำลังเติบโตสูง โดยวางเป้าหมายจะผลักดันการส่งออกเบียร์ช้างเพิ่มมากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ จากปัจจุบันรายได้หลักมาจากภายในประเทศ 85 เปอร์เซ็นต์" นายฐาปน กล่าว

 

ลุยช่องทางการจัดจำหน่าย ผ่าน 2 บริษัทลูกในไทย

สำหรับกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์จะเน้นทำตลาดมาเลเซีย ได้ส่งออกเครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์ น้ำอัดลมเอส โออิชิ โดยผ่านบริษัทจัดจำหน่ายในไทย คือ “บริษัท โฮเรก้า แมเนจเม้นท์ จำกัด”  ขยายช่องทางจำหน่ายร้านอาหาร โรงแรม เพื่อรองรับกับแผนขยายพอร์ตโฟลิโอกลุ่มวิสกี้ระดับบน 2 แบรนด์ ได้แก่ Old Pulteney และ ancnoc คาดว่าจะผลักดันรายได้สินค้าระดับพรีเมียมเพิ่มจาก 1-2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 12-13 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 2-3 ปีต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้จัดจำหน่ายผ่าน “บริษัทแคชแวน แมนเนจเม้นท์ จำกัด” ยังช่องทางจำหน่ายร้านค้าปลีกรายย่อยให้ครอบคลุม 2.7 แสนร้านค้าทั่วประเทศ จากหน่วยรถรวม 2,000 คัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งผลักดันให้เบียร์ช้างขึ้นเป็นผู้นำตลาดในปี 2563 จากปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยเป้าหมายถึงปี 2563 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10 เปอร์เซ็นต์ ต่อเนื่องทุกปี หรือมีรายได้กว่า 7 แสนล้านบาท ในปี 2563 จากปีที่ผ่านมารายได้ 1.62 แสนล้านบาท โดยยอดขายเบียร์ 9 เดือน มีอัตราเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก ส่วนกลุ่มสุรามีอัตราเติบโต 2-3 เปอร์เซ็นต์

เขตเศรษฐกิจพิเศษ เส้นทางเชื่อมตลาดอาเซียน

กลุ่มไทยเบฟได้ทำการตลาดเพื่อขยายไปยังอาเซียนเป็นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV คือเมียร์มา กัมพูชา ลาว และเวียดนาม เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงมาก โดยคาดการณ์วาในปี 2030 กลุ่มอาเซียนจะเป็นประเทศกลุ่มเศรษฐกิจอันดับที่ 2 –ของโลก จากจำนวนประชากรกว่า 620 คน

โดยบริษัทฯ มองว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษมีความสำคัญในการเป็นเส้นทางเชื่อมต่อสู่ประตูอาเซียน รวมไปถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยว จะมีมากถึง 700-800 ล้านคน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วง 5 ปีจากนี้ จะขยายตัวเพิ่มอีก 50-100 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นโอกาสทองของการทำธุรกิจที่ภาคเอกชนต้องมองให้เห็นเป็นโอกาสเข้าไปทำธุรกิจที่มีความต้องการอีกหลากหลาย

ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญกับการค้าชายแดนและเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะแม่สอด จ.ตาก ที่มีชายดินติดกับเมียนมา อีกทั้งบริษัทได้มีการทำธุรกิจในเมียนมาอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ยังมองชายแดนการค้า จ.มุกดาหาร น่าสนใจเนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก East-West Economic Corridor เชื่อมเส้นทางการคมนาคมขนส่งจากประเทศไทย ไปยังลาว เวียดนามและจีนได้

นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสนใจกับตลาดสินค้าฮาลาล โดยวางแผนให้บริษัทเอฟแอนด์เอ็นในประเทศมาเลเซีย ที่มีชายแดนติดกับจังหวัดสงขลา และสิงคโปร์เป็นฐานในการผลิตสินค้าฮาลาลกลุ่มเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภค-บริโภคส่งออก เนื่องจากมีจุดจำหน่ายสินค้าหลายหมื่นจุดทำให้ง่ายต่อการกระจายสินค้าลงไปยังพื้นที่ท้องถิ่นต่างๆได้ โดยมองระยะยาวหากได้รับการการันตีเป็นสินค้าเครื่องฮาลาลได้แล้ว มองการขยายธุรกิจไปยังประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เพิ่มเติมอีกด้วย

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือไทยเบฟ ก่อตั้งขึ้นในปี 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเบียร์สุราที่มีคนไทยเป็ฯผู้ถือหุ้น ซึ่งได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยสิงคโปร์ในปี 2549 ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 38,000 ล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์ 4 ประเภทได้แก่ เบียร์ สุรา เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกออล์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง โดยไทยเบฟมีศักยภาพการขนส่งสินค้าให้เครือข่ายทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยศูนย์กระจายสินค้า 3 แห่ง ศูนย์ขนส่ง 23 แห่ง และคลังสินค้าอีกกว่า 86 แห่ง ด้วยระบบขนส่งแมนฮัตตัน มาตรฐานนานาชาติ มาบริหารจัดการเพื่อส่งผลผลิตกว่า 1,700 ล้านลิตร ให้ถึงมือลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศพร้อมความสดใหม่อย่างมืออาชีพ

 

 

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Tuesday, 22 January 2019 06:03
อนุทิพย์ ก่อเกิดทรัพย์ทวี

Author : เกาะติด รวบรวมข่าวและองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตร สาระน่ารู้เรื่องเกษตรทุกด้าน นับตั้งแต่ด้านพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต การอารักขา เครื่องจักรกลการเกษตร ตลอดถึงด้านการแปรรูป

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM