December 18, 2024

ไทยฟู้ดส์ฯ ดัน 3 ธุรกิจ ลุยส่งออก

ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG)  มั่นใจตลาดส่งออกโตต่อเนื่อง เตรียมดัน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ไก่ สุกร และอาหารสัตว์ รุกตลาดทั่วโลก เน้นยุโรป,ญี่ปุ่น และจีน รับอานิสงค์ราคาไก่ส่งออกปรับตัวขึ้น และบราซิลถูกระงับส่งไก่เข้ายุโรป ตั้งเป้าสู่เบอร์ 1 ผู้ส่งออกไก่ดิบแช่แข็ง คาดปี 2562 รายได้โต 10,000 ล้านบาท

นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัทไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TFG เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เตรียมขยายการกำลังการผลิตรองรับตลาดส่งออก จากภาพรวมธุรกิจของบริษัทที่โตขึ้นในปีนี้ จากกำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นในไตรมาส 3-4 ของปี 2561 นี้ จึงได้ตั้งเป้าหมายส่งออกรวมเป็น 60,000 ล้านต่อปี โดยเน้นตลาดส่งออกไปยังโซนยุโรป และญี่ปุ่น รวมถึงตลาดใหม่คือประเทศจีน ซี่งมีความต้องการชิ้นส่วนไก่ดิบแช่แข็งเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสินค้าไก่ปรุงสุกอีกด้วย เนื่งองจากราคาไก่ในตลาดในประเทศ ยังไม่ขยับตัวสูงขึ้น และมีผู้ประกอบการในประเทศบางรายถูกระงับห้ามไม่ให้ส่งออกไก่ดิบแช่แข็งไปยุโรป รวมถึงผู้ประกอบการในประเทศบราซิล ถูกระงับการส่งออกไปยุโรปหลายราย ทำให้เกิดภาวะซัปพลายลดต่ำลงอย่างเฉียบพลัน บริษัทฯ จึงมองเห็นโอกาสส่งออกในตอนนี้ 

โดยปี 2561 นี้ ในไตรมาสแรก บริษัทฯ มีรายได้ 6,675 ล้านบาท  ผลประกอบการโดยรวมขาดทุน 107 ล้านบาท แต่ว่าไตรมาส 2 พลิกนรกมาทำกำไร 222 ล้านบาท บริษัทฯ มีรายได้รวม 6,712 ล้านบาท จากไตรมาสแรกซึ่งมีรายได้ 6,675 ล้านบาท และหากเปรียบเทียบกับไตรมาส 2  เมื่อปีที่ผ่านมา

ไตรมาส 2 /60 มีรายได้น้อยกว่านี้ที่ 6,214 ล้านบาท เราเติบโตขึ้น 8 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปรับพอร์ตการขายไก่หัน เน้นส่งออก ขณะที่ราคาเฉลี่ยสุกรสูงขึ้นส่งผลให้ความสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้น

ส่วนตัวเลขรายได้ครึ่งปีแรก มีรายได้ 13,367 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนที่อยู่ที่ 12,160 ล้านบาท มั่นใจครึ่งปีหลัง 3 ธุรกิจหลักทั้งไก่-สุกร และอาหารสัตว์ เติบโตได้ต่อเนื่องโดยเฉพาะไก่ปรุงสุกเริ่มผลิตขายให้ญี่ปุ่น

 

สาเหตุหลัก ของรายได้เพิ่มขึ้น แต่กำไรลดลงเนื่องจากราคาเฉลี่ยของไก่ ที่ลดลง 13.65% จาก 42.2 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 36.4 บาทต่อกิโล เป็นผลมาจากราคาไก่ในประเทศลดต่ำลง และราคาสุกร เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.84% จาก 60.93 บาทต่อกิโลในปีที่แล้ว เป็น 63..27 บาทต่อกิโลกรัม ในไตรมาส 2/61

ขณะเดียวกัน ณ สิ้นไตรมาส 2/61 บริษัทฯ ได้ลงบัญชี ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 83 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการขาดทุนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง และ บริษัทฯได้ซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ารองรับไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อเกิดขึ้นจริงในไตรมาส 3 /61 ในส่วนนี้จะกลับมามีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 61 ล้านบาท

หากประเมินรายได้ ในรอบครึ่งปีแรกของปีนี้ บริษัทฯมีรายได้ 13,367 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน 12,160 ล้านบาท

สำหรับในภาพธุรกิจโดยรวม มีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ โดยธุรกิจไก่ บริษัทฯ ได้เร่งปรับพอร์ตการขาย เข้าสู่ตลาดส่งออก ที่มีกำไร ขั้นต้นสูงขึ้น เพื่อเพิ่มราคาขายเฉลี่ยให้สูงขึ้นอีก โดยเพิ่มพอร์ตการผลิตและการขาย โดยมีเป้าหมายรวมส่งออก 60,000 ตัน ต่อปี ประกอบด้วย ตลาดส่งออกใหม่ที่บริษัทฯได้รับอนุญาตให้ส่งออกได้ คือ ประเทศจีน ซึ่งมีความต้องการสินค้าประเภท ขาไก่ และ ปีก เข้ามาสูงมาก ถึงสิ้นปี น่าจะทำได้เพิ่มอีกประมาณ 7,000 ตัน ในราคาสูงกว่า ราคาในประเทศ เป็นส่วนที่ได้เพิ่มเข้ามาอย่างชัดเจนรวมถึงมีตลาดส่งออกเพิ่มเติมทั้ง ยุโรป และญี่ปุ่น ยังเติบโตต่อเนื่อง ตามเป้าหมายเดิม 50,000 ตัน ภายในสิ้นปี เพื่อสร้างกำไรให้สูงกว่าการขายในประเทศ และ เร่งปรับเปลี่ยนสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะสินค้า by-products เป็นสินค้าปรุงสุก ส่งออกและอุตสาหกรรม และ ลดการขายสินค้าไก่ภายในประเทศลง

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เริ่มผลิตไก่ปรุงสุก เพื่อส่งออก จากโรงงานใหม่ ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยผลิตให้กับ ลูกค้ารายใหญ่จากญี่ปุ่นเป็นอันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นการส่งสินค้าปรุงสุกเข้า เครือข่ายร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ มีออร์เดอร์กลุ่มแรก เป้าหมาย 1,500 ตัน มูลค่าประมาณ 290 ล้านบาท ซึ่งมีราคาเฉลี่ยสูงกว่า การส่งออกไก่ดิบแช่แข็ง และ จะเป็นคำสั่งซื้อระยะยาวต่อเนื่อง มีราคาเสถียรกว่า ทำให้ธุรกิจยั่งยืนกว่า ซึ่งจะช่วยลดการขายไก่ในประเทศ และ ป้อนชิ้นส่วนไก่เป็นวัตถุดิบ สู่โรงงานปรุงสุก มากขึ้นเป็นการเพิ่มราคาไก่เฉลี่ยให้สูงขึ้น อีกทางหนึ่ง

ส่วนธุรกิจ สุกร ในประเทศ ราคาตลาดเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จากระดับต่ำสุด ในไตรมาสแรก ราคาสุกรเป็นที่ 40 บาทต่อกิโล ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมายังได้รับผลกระทบบางส่วนจากราคาเฉลี่ยที่ต่ำ ปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 58 บาทต่อกิโล ทำให้ ธุรกิจ สุกร สามารถสร้าง รายได้สูงขึ้นมาก จึงเร่งขยาย การเลี้ยงและขาย จากในครึ่งปีแรกเดือนละ 70,000 ตัว เพิ่มอีก 14% เป็น 80,000 ตัวต่อเดือน เพื่อรับการตอบรับดีมานด์และราคาตลาดในครึ่งปีหลังและ ต้นปีหน้า

 อีกทั้งได้มีการปรับสัดส่วน การขายสุกรเป็น กับ สุกรชำแหละ เพื่อสร้างกำไรขั้นต้นให้สูงขึ้น เพื่อรองรับ ตลาดที่ฟื้นตัว และ ขยายกำลังการผลิต ของโรงชำแหละสุกร ที่พนัสนิคม ชลบุรี เพิ่มอีก 25% เป็น 1,000 ตัวต่อวัน โดยลดการผลิต สุกรชำแหละ จากโรงชำแหละที่เช่าอยู่ที่ กบินทร์บุรีลงในไตรมาส 3 โดยธุรกิจ สุกร โดยรวมน่าจะทำรายได้รวมประมาณ 6,000 ล้านบาทในปีนี้

 

 

 ส่วนตลาดสุกรในเวียตนาม ราคาปรับตัวสูงขึ้นสูงกว่าในประเทศไทย ราคาตลาดปัจจุบัน อยู่ที่ ประมาณ 70 บาทต่อกิโลกรัม โดยบริษัทฯ ส่งสุกรเข้าตลาดเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 7,000 ตัวต่อเดือน เป็นเดือนละ 8,000 ตัว ในครึ่งปีหลัง ธุรกิจอาหารสัตว์ ครึ่งปีแรก มีการขยายตัวต่อเนื่อง จากปีที่แล้ว รายได้ขยายตัวต่อเนื่อง ในปีนี้ยอดขายภายในเครือ ประมาณ 10,000 ล้านบาท และ มีเป้าหมายการขายนอกเครืออยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ทั้งปีหรือ ขยายตัวกว่า 35% จากปีที่แล้ว และสามารถทำกำไรขั้นต้นได้ต่อเนื่อง 

บริษัทฯ มั่น่ใจว่า ธุรกิจทั้ง 3 กลุ่มทั้ง ไก่ สุกร และอาหารสัตว์ ยังมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่องในระยะยาว อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังต้องบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ราคาตลาดของไก่ และสุกร ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าและในประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงป้องกันโรคระบาดของไก่และสุกรอย่างระมัดระวังขั้นสูงสุด โดยจะเริ่มผลิตสินค้าไก่ปรุงสุก แช่แข็ง เพื่อส่งออก จากโรงงานใหม่ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตชั้นนำของโลกภายในเดือนหน้า โรงงานใหม่มีกำลังการผลิต 30,000 ตันต่อปี หรือเดือนละ 2,550 ตัน เพื่อผลิตสำหรับการส่งออกโดยตรง

 



ซึ่งภายในสิ้นปี 2561 บริษัทประเมินว่าน่าจะผลิตเพื่อส่งออกได้ประมาณ 10,000 ตัน หรือสร้างรายได้ 1,500 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้มีลูกค้า ทั้งญี่ปุ่น และยุโรป ได้เข้าร่วมพัฒนาสินค้าใหม่เป็นจำนวนมาก ตลาดไก่ปรุงสุก เพื่อส่งออกนี้ มีขนาด 560,000 ตันต่อปี มูลค่า 81,200 ล้านบาท ในปี 2562

ส่วนในปีหน้า 2562 บริษัทฯ ได้วางเป้าหมายการผลิตไก่ปรุงสุก เพื่อส่งออกไว้ 85 เปอร์เซ็นต์ ของกำลังการผลิต ประมาณ 2,160 ตันต่อเดือน หรือ 25,920 ตันต่อปี โดยน่าจะสร้างรายได้เพิ่มปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท เมื่อรวมการส่งออกทั้งไก่ดิบ และไก่สุก จะส่งผลให้ปี 2562 บริษัทฯ จะสามารถสร้างรายได้จากสินค้าส่งออกทั้งปี 10,000 ล้านบาท แน่นอน

 

 

โดย บล.เคจีไอ วิเคราะห์ว่า บริษัท ไทยฟู้ดส์ กร๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TFG ในไตรมาสนี้ธุรกิจปศุสัตว์ฟ้นตัวเด่น ราคาหุ้น Laggard แนะซื้อเป้าที่ 4.80 บาท จากราคาเฉลี่ยไก่และหมูฟื้นตัว ในขณะที่ราคาเฉลี่ยวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างข้าวโพดและถั่วเหลืองลดลงประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อหน้า จากสงครามการค้า สหรัฐและจีนลดการนำเข้า

 

Rate this item
(4 votes)
Last modified on Thursday, 23 January 2020 03:15
อนุทิพย์ ก่อเกิดทรัพย์ทวี

Author : เกาะติด รวบรวมข่าวและองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตร สาระน่ารู้เรื่องเกษตรทุกด้าน นับตั้งแต่ด้านพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต การอารักขา เครื่องจักรกลการเกษตร ตลอดถึงด้านการแปรรูป

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM