IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
นายกิตติศักดิ์ วัธนเวคิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลมายาวมากกว่า 56 ปี ที่ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักแนวคิด Fully Integrated System ด้วยการนำผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายทุกส่วนกลับมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร ได้แก่ ธุรกิจผลิตไฟฟ้า เอทานอล ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี
ให้มีส่วนเหลือทิ้งเป็นศูนย์ หรือ Zero-waste Discharge Systems โดยนำชานอ้อยที่ผ่านกระบวนการหีบอ้อยและก๊าซชีวภาพที่เกิดจากการผลิตเอทานอลมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า
เพื่อจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังได้นำกากน้ำตาลที่เกิดจากกระบวนการหีบอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งนำน้ำกากส่าที่มาจากการขั้นตอนการผลิตเอทานอลมาปรับสภาพเพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ และลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง รวมทั้งนำน้ำที่ออกจากการผลิตก๊าซชีวภาพและกากหม้อกรองที่มาจากการผลิตน้ำตาลมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมี และวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อจำหน่ายให้แก่ชาวไร่อ้อยที่อยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมของบริษัทฯ ทำให้ บมจ.อ้อยและน้ำตาลตะวันออก สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากการกระบวนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย
ลงทุนโครงการโรงานวังสมบูรณ์และวัฒนานคร จ.สระแก้ว
บริษัทฯ ได้ลงทุนอีกกว่า 2,776 ล้านบาท เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ยั่งยืนและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ในธุรกิจผลิตและจ้าหน่ายน้ำตาลทรายและธุรกิจอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจด้านพลังงาน อันได้แก่ การผลิตและจำหน่ายเอทานอล และการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ทั้งจากเชื้อเพลิงชีวมวลคือ ชานอ้อย และจากก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จากน้ำกากส่า โดยโรงงานที่วังสมบูรณ์จังหวัดสระแก้วดำเนินการเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์พร้อมเปิดไลน์ผลิตได้เดือนธันวาคมปี 61 นี้
ปัจจุบันโรงงานน้ำตาลทรายของบริษัทฯ มีกำลังการผลิตสูงสุดอยู่ที่ 32,000 ตันอ้อยต่อวัน โดยบริษัทฯ มีแผนการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยการเปลี่ยนเครื่องจักรหลักซึ่งจะท้าให้มีกำลังการผลิตสูงสุดเพิ่มขึ้นมาเป็น 34,000 ตันอ้อยต่อวัน ในปีฤดูการผลิตปีที่ผ่านมา และยังลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์และยกระดับการผลิตให้มีความต่อเนื่องสมบูรณ์แบบในปี ฤดูการผลิต 2559/2560โครงการขยายกำลังการผลิตของโรงงานน้าตาลทราย
โรงไฟฟ้าชีวมวลโครงการพลังงานทางเลือก
บริษัทฯ ได้มีขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานชีวมวลอีก 35 เมกะวัตต์ โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้จะดำเนินการผลิตเพื่อจ้าหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงได้ลงทุนในโครงการขยายกำลังการผลิตของโรงงานไฟฟ้าชีวมวลของ ใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 1,040 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีโครงการขยายกาลังการผลิตของโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพมีโครงการเพิ่มเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพเพื่อรองรับก๊าซชีวภาพที่เพิ่มขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้กำลังการผลิตเพิ่มจาก 4.8 เมกะวัตต์เป็น 7.0 เมกะวัตต์
เพิ่มรถตัดอ้อยเพื่อรองรับพื้นที่การปลูกที่เพิ่มขึ้น
บริษัทฯมีพื้นที่ปลูกอ้อยที่ทั้งหมด 344,337 ไร่ ทั้งในจังหวัดสระแก้วและในจังหวัดใกล้เคียง บริษัทฯ มีเป้าหมายในการขยายพื้นที่เพาะปลูกให้ได้ไม่น้อยกว่า 470,000 ไร่ เพื่อส่งอ้อยเข้าหีบในปีฤดูการผลิต 2561/2562 โดยการโน้มน้าวและชักจูงให้เกษตรกรเห็นถึงผลตอบแทนที่มั่นคงและสูงกว่าพืชผลเกษตรอื่นๆ ซึ่งฝ่ายส่งเสริมการเกษตรของบริษัทฯ จะคอยสื่อสารข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และให้การสนับสนุนทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านวิชาการ ด้านเครื่องจักรกลการเกษตร และด้านการเงิน แก่เกษตรกร
นอกจากนี้ เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถลดปัญหาด้านแรงงานซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการเพาะปลูกอ้อยตลอดจนทำให้บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้อ้อยที่มีคุณภาพเข้าสู่กระบวนการผลิต บริษัทฯ มีแผนสนับสนุนที่จะจัดให้มีรถตัดอ้อยภายในเขตเพาะปลูกของบริษัทฯ จากปัจจุบันที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของอยู่แล้ว 23 คัน เพิ่มอีก 58 คัน รวมมูลค่าสำหรับรถตัดอ้อยที่เพิ่มข้นประมาณ 696 ล้านบาท เป็นรถตัดอ้อยรวมทั้งสิ้น 81 คัน โดยบริษัทฯ จะพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนและทยอยลงทุนเพิ่มจำนวนรถตัดอ้อยตามกำลังการผลิตและพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่เพิ่มขึ้น
เดินหน้าปรับปรุงกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี
ESIA มีโครงการขยายกำลังการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีเพื่อรองรับการขยายของพื้นที่ปลูกอ้อยและปริมาณอ้อยที่จะเพิ่มขึ้นตามแผนการขยายกำลังการผลิตน้ำตาลทราย โดยมีเป้าหมายจะขยายกำลังการผลิตให้ได้ 30,000 ตันต่อปีในสิ้นปี 2561 นี้ จากกำลังการผลิตปัจจุบัน 21,000 ตันต่อปี
นโยบายการลงทุนในโครงการในอนาคตที่กล่าวมาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจ อุปสงค์และอุปทานของน้ำตาลทราย ราคาน้ำตาลทราย และการสนับสนุนจากภาครัฐซึ่งอาจท้าให้กลุ่มบริษัทฯ เลือกที่จะไม่ดำเนินการตามนโยบายที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น ในบางส่วนหรือทั้งหมด แต่อย่างไรก็ดี กลุ่มบริษัทฯ จะดำเนินการทุกอย่างสำหรับการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ยั่งยืนที่สุดต่อกลุ่มบริษัทฯ