IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (16 - 20 ต.ค. 61)
ราคาน้ำมันดิบคาดว่าจะทรงตัวในระดับสูง หลังตลาดยังคงกังวลเรื่องสภาวะอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว จากอิหร่านที่ถูกสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตร ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาคาดจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย หลังพายุเฮอร์ริเคน Michael เคลื่อนตัวผ่านบริเวณอ่าวเม็กซิโก ส่งผลให้ผู้ผลิตต้องหยุดการดำเนินการผลิตชั่วคราว อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะกดดันเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอุปสงค์น้ำมันที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:
- ภาวะตลาดน้ำมันดิบยังคงตึงตัวต่อเนื่อง หลังปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ต.ค. ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนับเป็นการปรับลดลงค่อนข้างมากจากเดือน เม.ย. ที่ราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังประเทศหลักๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และยุโรป หยุดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน ขณะที่ อินเดียซึ่งเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบรายหลักก็มีแนวโน้มปรับลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านลงเช่นกัน
- ผู้ผลิตน้ำมันดิบในบริเวณอ่าวเม็กซิโกตัองหยุดดำเนินการผลิตลงราว 718,877 บาร์เรลต่อวัน ในวันที่ 9 ต.ค. 18 เพื่อเตรียมตัวสำหรับพายุเฮอร์ริเคน Michael ที่พัฒนาเป็นเฮอร์ริเคนระดับ 4 และเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งฟลอริดา อย่างไรก็ตาม พายุเฮอร์ริเคน Michael ได้ลดระดับลงสู่เฮอร์ริเคนระดับ 1 หลังได้ขึ้นสู่ชายฝั่งฟลอริดาและเคลื่อนตัวสู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐจอร์เจียด้วยความเร็ว 90 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งปริมาณการผลิตจากสหรัฐฯ คาดจะฟื้นตัวกลับมาสู่ระดับปกติได้ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากแท่นขุดเจาะไม่ได้รับความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น
- ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเจริญเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมากมีแนวโน้มส่งผลกดดันต่อความต้องการใช้น้ำมัน โดยล่าสุด IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ซึ่งคิดเป็นการปรับลดลงกว่าร้อยละ 0.2 จากรายงานครั้งก่อนหน้า เนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เริ่มส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกยังเผชิญความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและสภาวะในตลาดการเงินที่มีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดมีการคาดการณ์ไว้
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดิบปรับตัวลดลงในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นน้ำมันดิบในสหรัฐฯ โดยในสัปดาห์ล่าสุด สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 6 ต.ค. 61 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 410 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นที่ราว 2.6 ล้านบาร์เรล โดยสาเหตุหลักมาจากความต้องการใช้ที่ปรับลดลง
- ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ GDP ไตรมาส 3/61 ของจีน ยอดค้าปลีกจีน และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน
สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (8 - 12 ต.ค. 61)
- ภาวะตลาดน้ำมันดิบยังคงตึงตัวต่อเนื่อง หลังปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ต.ค. ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนับเป็นการปรับลดลงค่อนข้างมากจากเดือน เม.ย. ที่ราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังประเทศหลักๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และยุโรป หยุดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน ขณะที่ อินเดียซึ่งเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบรายหลักก็มีแนวโน้มปรับลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านลงเช่นกัน
- ผู้ผลิตน้ำมันดิบในบริเวณอ่าวเม็กซิโกตัองหยุดดำเนินการผลิตลงราว 718,877 บาร์เรลต่อวัน ในวันที่ 9 ต.ค. 18 เพื่อเตรียมตัวสำหรับพายุเฮอร์ริเคน Michael ที่พัฒนาเป็นเฮอร์ริเคนระดับ 4 และเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งฟลอริดา อย่างไรก็ตาม พายุเฮอร์ริเคน Michael ได้ลดระดับลงสู่เฮอร์ริเคนระดับ 1 หลังได้ขึ้นสู่ชายฝั่งฟลอริดาและเคลื่อนตัวสู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐจอร์เจียด้วยความเร็ว 90 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งปริมาณการผลิตจากสหรัฐฯ คาดจะฟื้นตัวกลับมาสู่ระดับปกติได้ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากแท่นขุดเจาะไม่ได้รับความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น
- ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเจริญเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมากมีแนวโน้มส่งผลกดดันต่อความต้องการใช้น้ำมัน โดยล่าสุด IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ซึ่งคิดเป็นการปรับลดลงกว่าร้อยละ 0.2 จากรายงานครั้งก่อนหน้า เนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เริ่มส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกยังเผชิญความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและสภาวะในตลาดการเงินที่มีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดมีการคาดการณ์ไว้
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดิบปรับตัวลดลงในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นน้ำมันดิบในสหรัฐฯ โดยในสัปดาห์ล่าสุด สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 6 ต.ค. 61 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 410 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นที่ราว 2.6 ล้านบาร์เรล โดยสาเหตุหลักมาจากความต้องการใช้ที่ปรับลดลง
- ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ GDP ไตรมาส 3/61 ของจีน ยอดค้าปลีกจีน และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน
สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (8 - 12 ต.ค. 61)
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง 3.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 71.34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 3.73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 80.43 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 79.2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังนักลงทุนเริ่มทยอยเทขายทำกำไรในสินทรัพย์เสี่ยง เนื่องจากตลาดกังวลธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจเร่งปรับอัตราดอกเบี้ย รวมถึง ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง หลัง IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าลงร้อยละ 0.2 จากการคาดการณ์ครั้งก่อน หลังสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนคาดจะส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 6 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในอ่าวเม็กซิโกที่ปรับลดลงกว่าร้อยละ 42 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบทำการหยุดดำเนินการก่อนเฮอร์ริเคน Michael จะเข้าสู่ชายฝั่ง นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว จากผลกระทบของการคว่ำบาตรอิหร่านโดยสหรัฐฯ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง