IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ประธานกรรมการ Mazda Mr. Kogai Masamichi กล่าวอย่างมั่นใจในงานมอเตอร์โชว์ว่า “เป็นครั้งแรกของโลกที่เทคโนโลยีการจุดระเบิดด้วยการอัด (Compression ignition) โดยการผสมน้ำมันเบนซินแบบเจือจาง (a lean mixture of gasoline)สามารถใช้งานได้จริง”
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ SKYACTIV-X เป็นที่จับตามอง คือวิธีการสันดาปของเครื่องยนต์ชนิดนี้ ด้วยการใช้ HCCI (Homogeneous Charge Compression Ignition) ซึ่งเป็นการจุดระเบิดด้วยการอัดเช่นเดียวกับเครื่องยนต์ดีเซลแทนที่การใช้หัวเทียนตามแบบของเครื่องเบนซิน ซึ่ง HCCI สามารถใช้อัตราส่วนน้ำมันต่ออากาศที่ต่ำในการจุดระเบิดตัวเอง ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงลงอย่างมากและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จนเรียกได้ว่าเป็นเครื่องยนต์สันดาปในอุดมคติ อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาในการรักษาระดับอุณหภูมิ และการเปลี่ยนจากการจุดนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ทำให้ก่อนหน้านี้ไม่สามารถผลิตขึ้นใช้จริงได้
ซึ่งวิธีที่ Mazda ใช้ในเครื่องยนต์รุ่นนี้ เรียกว่า “SPCCI (Spark Controlled Compression Ignition)” ซึ่งใช้แรงจากการขยายตัวของประกายไฟที่ถูกหัวเทียนจุดในการจุดระเบิด หรือการคิดแบบย้อนกลับ ทำให้ SKYACTIV-X ประหยัดเชื้อเพลิงได้ 20 – 30% จากเครื่องยนต์ SKYACTIV รุ่นก่อน และได้ประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนเทียบเท่าเครื่องยนต์ดีเซล
ส่วนเรื่องราคาซึ่งเป็นจุดที่น่าเป็นห่วงนั้น ทาง Mazda ได้ยืนยันว่า “เป็นการติดตั้งอุปกรณ์เสริม 3 รายการ ลงบนเครื่องเบนซินเดิมจำนวน ซึ่งมีราคาไม่แพง ราคาจึงไม่ได้สูงไปจากเดิมมากนัก”
โดยในงานมอเตอร์โชว์ครั้งนี้ ผู้ผลิตยานยนต์ภายในประเทศญี่ปุ่นนอกจาก Mazda ที่เสนอผลิตภัณฑ์เครื่องยนต์แล้ว ก็มีเพียง Lexus และ Suzuki เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับเทคโนโลยีเครื่องยนต์เชื้อเพลิงจะได้เข้าโชว์ตัวภายในงานท่ามกลางการมุ่งสู่ยานยนต์ไฟฟ้าเช่นนี้ ด้วยเหตุเช่นนี้ บูธ Mazda จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะแตกต่างไปจากผู้ผลิตรายอื่น ๆ และเป็นที่น่าจับตามองว่า จนถึงวันออกจำหน่าย เครื่องยนต์รุ่นนี้จะมีคุณภาพมากขึ้นเพียงใด
ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun