IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
ซึ่งในแง่หนึ่งมีนักทฤษฎีสมคบคิดเชื่อว่า สื่อต่างๆ ของจีนพยายามชูกระแสการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินก็เพื่อสร้างแรงกดดันและจิตวิทยาส่งต่อไปถึง “โบอิ้ง” สายการบินสหรัฐฯ ชื่อดัง และเป็นผู้ที่ส่งออกเครื่องบินไปยังประเทศจีนมากที่สุดอีกด้วย หมายความว่า “โบอิ้ง” มีประเทศจีนเป็นลูกค้าชั้นหนึ่ง
ข้อมูลจากบริษัทประกันภัย “Allianz” แสดงปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นในอัตราทวีคูณ เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สะท้อนว่า หุ้นกลุ่มสายการบิน อาจยังมีอนาคตต่อไปเรื่อยๆ
ประเด็นเรื่องการ สมคบคิดพุ่งเป้าไปที่ เหตุการณ์ที่ “จีน” เคยขึ้นภาษีตอบโต้นโยบายของสหรัฐฯ โดยการขึ้นภาษีเครื่องบินที่น้ำหนักไม่เกิน 4.5 ตัน อันถือเป็นคำเตือนจากจีน เพราะเครื่องบินน้ำหนักดังกล่าว ถือเป็นรุ่นเล็กๆ ที่ไม่ใช่รายได้หลักของ “โบอิ้ง”
หรือก็คือ “จีน” สามารถใช้กำแพงภาษีกับเครื่องบินรุ่นที่ขายดีของโบอิ้งเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งจะสร้างปัญหาให้อุตสาหกรรมการบินของสหรัฐฯ นอกจากนี้ สำนักข่าว Xinhua อ้างว่า มีรายงานจากกบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินโบอิ้ง ที่ระบุว่า สายการบินจีนยังต้องการเครื่องบินโบอิ้งอีกกว่า 7,690 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า
ข้อมูลจาก Yahoo แสดงรายละเอียดหุ้น “Boeing” (โบอิ้ง) ที่วันนี้ก็บวกไปกว่า 2 %
ทั้งนี้จำนวนเครื่องบินกว่า 7 พันลำดังกล่าว คาดว่าจะสร้างรายได้ราวๆ 1.2 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแม้จีนจะมีปัญหาเรื่องหนี้ภาคครัวเรือน แถมยังเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเกี่ยวกับนโยบายการเงิน แต่ต้องยอมรับว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายปีที่ผ่านมา ทำให้รายได้ของกลุ่มชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้นจนฉุดภาพรวมขึ้นมาได้ และหมายถึง ลูกค้าของสายการบินก็เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ที่มา : thinvest