IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ภาชนะรับความดัน (Pressure Vessel) เป็นภาชนะที่ออกแบบมาเพื่อเก็บก๊าซหรือของเหลวที่ความดันแตกต่างจากความดันบรรยากาศ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรงได้ หากเกิดการออกแบบและติดตั้งโดยทีมงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วอย่างต่อเนื่องในประวัติศาสตร์ของการพัฒนาและการใช้งานของระบบนี้ ดังนั้นการออกแบบการผลิตและการใช้งานของภาชนะรับแรงดัน จึงจำเป็นต้องถูกควบคุมโดยหน่วยงานด้านวิศวกรรมที่ได้รับการสนับสนุนตามกฎหมาย ด้วยเหตุผลเหล่านี้คำจำกัดความของภาชนะรับความดันจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
การออกแบบเกี่ยวข้องกับพารามิเตอร์เช่นแรงดันและอุณหภูมิในการทำงานสูงสุดอย่างปลอดภัย ปัจจัยด้านความปลอดภัยค่าเผื่อการกัดกร่อนและอุณหภูมิการออกแบบขั้นต่ำ (สำหรับการแตกหักแบบเปราะ) การก่อสร้างได้รับการทดสอบโดยใช้การทดสอบแบบไม่ทำลายถัง เช่นการทดสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงการถ่ายภาพรังสีและการทดสอบแรงดัน การทดสอบอุทกสถิตใช้น้ำ แต่การทดสอบด้วยลมใช้อากาศหรือก๊าซอื่น ควรใช้การทดสอบแบบอุทกสถิตเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าเนื่องจากมีการปล่อยพลังงานน้อยกว่าหากเกิดการแตกหักในระหว่างการทดสอบ (น้ำไม่เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างจากก๊าซเช่นอากาศซึ่งไม่สามารถระเบิดได้)
ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ภาชนะรับความดันที่มีขนาดและความดันที่แน่นอนจะต้องถูกสร้างให้ถูกต้องตามกฏหมาย โดยมาตรฐานการทดสอบจะอิงจากประเทศสหรัฐอเมริกานั้นคือ ASME Boiler และ Pressure Vessel Code (BPVC) ภาชนะรับความดันเหล่านี้ยังต้องการผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาตเพื่อลงนามในทุกถังที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งภาชนะรับแรงดัน ตามความหมายของกฎกระทรวงอุตสาหกรรม คือ "ภาชนะปิดที่มีความกดดันภายในภาชนะและภายนอกภาชนะแตกต่างกันมากกว่า 1 ½ เท่าของความดันบรรยากาศ(ณ ระดับน้ำทะเล)และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 103 มิลลิเมตร(ถ้าเป็นท่อ ประมาณ 4 นิ้วขึ้นไป)" บางท่านอาจสับสนกับภาษากฎหมายว่าต้องตรวจหรือไม่ อย่างไร?
นั่นคือ ความดันบรรยากาศ (แรงกดอากาศ)ณ ระดับน้ำทะเล(ยิ่งสูงอากาศยิ่งเบาบาง)กำหนดให้ เป็น 1 บรรยากาศ หรือ 1 atm ( atmosphere) หรือเรียกว่า 1 บาร์ (barg.) อุปกรณ์ที่ต้องตรวจจึงเป็นภาชนะที่มีแรงดัน 1.5 barg. ขึ้นไป(ประมาณแรงดันลมยางรถเก๋ง 2 Barg.<29 -32 psi>ที่ส่วนใหญ่ใช้กัน)
ภาชนะรับแรงดันส่วนใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่พบ เป็น ถังลม (อุปกรณ์นิวแมติกส์) ถังอ๊อกซิเจน(งานเชื่อม ตัด)ถัง ไนโตรเจน (งานถนอมอาหาร งาน ตัด) ถัง แอมโมเนีย (ระบบทำความเย็น) ถัง ก๊าซ LPG (เชื้อเพลิง) ซึ่งถังเหล่านี้มีอายุการใช้งานเนื่องจากการถูกกัดกร่อนจากแรงดัน ความชื้น เป็นต้น จึงต้องมีการตรวจสอบ (ประกอบการวางแนวทางเลือกจำหน่ายถังตามสภาพการใช้งาน<ไม่ใช่อายุการใช้งาน>)และสนับสนุนงานระบบ เช่น ISO 14001 เป็นต้น
การตรวจสอบถัง(ภาชนะรับแรงดัน)ขั้นแรกทำการวัดความหนาเพื่อคำนวณการรับแรงดันของถังว่าความหนาเหลือเท่าไร กัดกร่อนเท่าไร อายุการใช้งานเหลือเท่าไรต้องกระทำก่อนการอัดน้ำหรือ hydrostatic test เพราะต้องอัดแรงดันไปถึง 1 ½ เท่าของแรงดันใช้งานตรวจสอบ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง safety valve , pressure gauge ถ้าชำรุด(ค่าทำงานเพี้ยนไป)หรือเสียจำเป็นต้องเปลี่ยน ทางทีมงานเข้าตรวจตามโรงงานต่างๆ ก็พบปัญหาทุกที่
ทั้งนี้ ทางทีม AEC มีการตรวจสอบตามกฎหมาย และถูกต้องตามขั้นตอน โดยเราให้บริการด้านงานวิศวกรรมงานออกแบบ งานสร้าง งานผลิต งานตรวจทดสอบ งานติดตั้ง และงานบำรุงรักษา ในสาขางานวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมงานเชื่อม วิศวกรรมกระบวนการผลิต วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเคมีและวิศวกรรมโยธา ดำเนินการโดยวิศวกรระดับสามัญวิศวกร วุฒิวิศวกร มีเป้าหมายที่จะให้การบริการอย่างครบวงจร คลอบคลุมตั้งแต่ งานออกแบบด้านวิศวกรรม จนถึงการสร้างและติดตั้ง ตามความต้องการของลูกค้าเพื่อรองรับการขยายตัวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในภาคอุตสาหกรรม
บริษัท เออีซี อินดัสเตรียล เซอร์วิส จำกัด (AECIS) ได้เริ่มการก่อตั้งบริษัทปี พ.ศ.2556 การจัดตั้งบริษัทฯเพื่อดำเนินการขยายธุรกิจจาก หจก. เอ็ม.พี.ภัณฑ์ (1987) จากประสบการณ์การเป็นผู้ผลิตเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้าง ภาชนะรับแรงดัน (Pressure Vessel) ถังปฏิกิริยา (Reactor Tank) ถังผสม (Mixing Tank) ถังกักเก็บ (Silo Tank) งานโครงสร้าง (Steel Structure) และงานระบบท่อของไหล (Process Piping) เป็นต้น กลุ่มงานอุตสาหกรรมเคมี (Chemical Plant) โรงไฟฟ้า (Power Plant) ปิโตรเคมี (Petrochemical Plant) อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Plant) อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage Plant) และ ระบบบำบัดน้ำ (Water Treatment Plant) ทำให้เรามีความเชี่ยวชาญในการทำงานจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาพร้อมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินงาน
ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทำให้ บริษัท เออีซี อินดัสเตรียล เซอร์วิส จำกัด ขยายการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ครอบคลุมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการบริการงานวิศวกรรม ตั้งแต่ในขั้นตอน งานออกแบบ (Design) งานสร้าง (Construction) งานวางผังโรงงานตามกระบวนการผลิต (Process Layout) งานผลิต (Fabrication) งานตรวจสอบ (Inspection) งานติดตั้ง (Installation) และ งานบำรุงรักษา (Maintenance) ตลอดจนโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey Project) เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บริการของลูกค้าเพื่อสามารถดำเนินการธุรกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่องแบบครบวงจร
Scope of Business:
> บริการงานวิศวกรรม / Engineering Services
> บริการงานสร้างและการผลิต / Construction & Fabrication Services
> บริการงานตรวจทดสอบ / Inspection and Testing Services
> บริการงานซ่อมบำรุงรักษา / Maintenance Services