IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. เป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ปี 2559 และเดือนมกราคม 2560 ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าฟื้นตัวช้าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในส่วนของการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของภาคเอกชน
กนง. คาดหวังว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะช่วยกระตุ้นให้บรรยากาศการจับจ่ายและการลงทุนดีขึ้นแม้ว่าอาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างน้อย ในภาวะกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวอื่นทำงานได้ไม่เต็มที่
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยให้ทัศนะว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. สะท้อนให้เห็นว่า คณะกรรมการมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยมากกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับปัจจัยอื่นที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก หรือการเบิกจ่ายภาครัฐ ล้วนแต่มีโจทย์ที่ท้าทายอยู่จึงไม่สามารถมาเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดภาระหนี้หรือต้นทุนได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องรอการส่งต่อไปยังระบบธนาคารพาณิชย์อีกระยะหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าแรงกระตุ้นที่จะเกิดจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้จะยังไม่เห็นผลในทันที ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการบริโภคภายในประเทศหรือการส่งออกก็ตาม แม้ว่าโดยหลักการแล้วการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงก็ตาม
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การปรับลดอกเบี้ยนโยบายลง เพียงช่วยสร้างบรรยากาศทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่จะไม่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนให้ดีขึ้น เพราะภาคครัวเรือน ยังมีปัญหาหนี้สินสูงคิดเป็นร้อยละ 85 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขณะที่รายได้ประชาชนในต่างจังหวัดยังไม่ดีขึ้นจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรยังตกต่ำ
หลายฝ่ายเชื่อกันว่า กระทรวงการคลังน่าจะประกาศทบทวนตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 ใหม่ในเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน และตัวเลขคาดการณ์การเติบโต 4 เปอร์เซ็นต์ที่เคยตั้งเป้าหมายไว้ก่อนหน้านี้ ก็คงต้องปรับลดลงอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
ภายใต้สภาพแวดล้อมเช่นนี้ ความหวังที่ยังพอมีเหลืออยู่คงหนีไม่พ้นการลงทุนของภาครัฐเพื่อจะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น รอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นที่น่าวิตกกังวลว่า การลงทุนภาครัฐนั้นไม่สามารถดำเนินการให้เห็นผลได้ในระยะสั้น เนื่องจากมีกระบวนการในการกำหนดมาตรการและการเบิกจ่ายงบประมาณที่ค่อนข้างจะซับซ้อนยุ่งยาก
เว้นเสียแต่ว่าคณะรัฐมนตรีจะมีหนทางใหม่ ๆ ในการกระตุ้นการเบิกจ่ายงบประมาณให้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้โครงการลงทุนต่าง ๆ สามารถขับเคลื่อนได้รวดเร็วทันกับสถานการณ์ “ขาดพลังขับเคลื่อน”ที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้
ไอเอ็ม
"กระชับ ฉับใว ให้ประโยชน์ ตอบโจทย์ทุกกลุ่มอุตสากรรม"
ทีมบรรณาธิการ
สื่ออุตสาหกรรม พันธมิตรของผู้ประกอบการ
Industry Media IM สื่ออุตสาหกรรม