IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
นากานิชิ มาซาซุมิ กรรมการผู้จัดการของ Yamazaki Mazak ได้แสดงความมั่นใจต่อเทรนด์งานบริการด้าน IoT ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรปว่า “ยุโรปเป็นพื้นที่ที่ให้ความสนใจใน IoT มากกว่าภูมิภาคอื่นๆ” ซึ่งทางบริษัทได้ร่วมกับ Cisco Systems ประเทศสหรัฐอเมริกา พัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเน็ตเวิร์ค “สมาร์ท บ็อกซ์” และนำเสนอเป็นครั้งแรกที่งานนี้
นอกจากนี้ ทางบริษัทมีแผนในการส่งทีมวิจัยไปยังประเทศอังกฤษ หวังเพิ่มประสิทธิภาพของข้อเสนอต่างๆ ทั้งบริการตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักร และซอฟท์แวร์สำหรับงานวิเคราะห์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละราย
ในส่วนของ JTEKT นั้น ได้เปิดตัว “TOYOPUC-AAA” อุปกรณ์สำหรับรวบรวม เก็บบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องจักรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีแผนติดตั้งอุปกรณ์นี้ให้เป็นมาตรฐานในเครื่องจักร โดยจะเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงนี้เป็นต้นไป และคาดว่าจะมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ด้านรองประธาน อิซากะ มาซาคาซุ ได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของอุปกรณ์ว่า “หากไม่สามารถเก็บข้อมูลจากเครื่องจักรได้ทุกเครื่องก็ไร้ค่า” ซึ่งภายในบูธที่จัดแสดงนั้น ได้มีการสาธิตการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของเครื่องจักรผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อแสดงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งของ IoT ที่กำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ก็ยังมีสิ่งที่น่ากังวล โดยผู้จัดการของ Brother Industries คาวานาเบะ ทาสุคุได้ให้ความเห็นว่า “จำเป็นต้องมีการจัดระบบใหม่เสียก่อนว่าการเชื่อมต่อกับเครื่องจักรนั้นให้ประโยชน์อะไรบ้าง” ซึ่งทางบริษัทเองก็ได้มีการเชื่อมต่อเครื่องจักรที่ใช้กับระบบเน็ตเวิร์ค และยังแสดงความเห็นต่อท้ายว่า “ใช้ในการประเมินความเสียหายได้ดี แต่หลังจากนี้ไปจะใช้ทำอะไรได้อีก”
ซึ่งแม้ว่าจะมีความจำเป็นถึงการคาดการณ์ถึงอนาคต IoT แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินความเสียหายและการเพิ่มความแม่นยำในการทำงานนั้นก็เป็นเรื่องหลักของ IoT ในปัจจุบัน
ถัดมาคือซอฟท์แวร์บำรุงรักษาระบบของ Okuma Corporation ซึ่งติดตั้งระบบการตรวจสอบด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เอาไว้ ซึ่งเมื่อเกิดการทำงานผิดปกติ AI จะเก็บบันทึกและจะเพิ่มความแม่นยำในการทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่การคาดการณ์ความเสียหายล่วงหน้าได้
อีกทั้งภายในบูธจัดแสดง ยังมีการพนักงานที่เป็นล่ามแปลได้หลายภาษามาคอยอำนวยความสะดวกคู่กับผู้บรรยายเรื่องซอฟท์แวร์ ผู้จัดการอิเอคิ จุน ได้เน้นถึงข้อดี คือ “ความสามารถในการลดเวลาที่เครื่องจักรต้องหยุดทำงาน”
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทอื่นๆ ได้นำผลงานด้าน IoT ที่พัฒนาขึ้น ไปร่วมจัดแสดงในงาน EMO ครั้งนี้
เนื่องจากเยอรมันเป็นชาติที่นำเสนอนโยบายอุตสาหกรรม “อิสดัสทรี 4.0” จึงส่งผลให้ยุโรปเป็นพื้นที่ที่มีความสนใจและยอมรับ IoT เป็นอย่างมาก และคาดว่าการแข่งขันทางด้าน IoT ระหว่างบริษัทต่างๆ ในพื้นที่นี้จะรุนแรงขึ้นในอนาคต
(Hanover: โทมุระ จิยูกิ, มุคาสะ โทโมคาซุ, นิชิซาวะ เรียว)
ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun