IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
นายทาน อิ๊ก จิน ผู้จัดการธุรกิจ Vertical Solutions ซีบรา เทคโนโลยีส์ เอเชีย-แปซิฟิก เปิดเผยว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 73% ของผู้บริโภคเริ่มซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้ทั้งผู้ค้าปลีก ผู้ผลิต และบริษัทโลจิสติกส์ร่วมมือกันให้บริการในรูปแบบออมนิแชนเนล (omnichannel) และขยายศูนย์ฟูลฟิลล์เมนต์
โดยงานวิจัยเรื่อง Future of Fulfillment Vision Study ของบริษัทพบว่า 95% มองว่าอีคอมเมิร์ซช่วยกระตุ้นให้การขนส่งเร็วขึ้น ขณะที่ 42% ของผู้ประกอบการค้าปลีกพร้อมทำออมนิแชนเนล 57% กำลังเตรียมพร้อม มีเพียง 1% ไม่สนใจทำออมนิแชนเนล
ด้านบริษัทโลจิสติกส์ 67% คาดว่าในปี 2566 จะจัดส่งพัสดุถึงที่หมายภายในวันเดียวกันได้ 55% คาดว่าให้บริการจัดส่งพัสดุได้ใน 2 ชั่วโมงภายในปี 2571 และ 96% จะใช้บริการจัดส่งแบบเครือข่ายผู้ขับขี่สามารถเลือกให้บริการตามคำสั่งซื้อบางรายการได้ (crowdsourced delivery) ภายในปี 2571
“ภายในปี 2566 กลุ่มค้าปลีก 7 ใน 10 รายจะทำฟูลฟิลล์เมนต์เต็มตัว ให้ลูกค้าได้สินค้าทันที โดย 94% ยอมรับว่าการส่งของเร็วช่วยสร้างความพึงพอใจต่อแบรนด์ รวมทั้งช่วยสร้างอะแวร์เนส และ 99% วางแผนที่จะให้บริการแบบสั่งซื้อออนไลน์และรับของที่ร้านเพื่อให้คล่องตัวขึ้น”
อีกความท้าทายของผู้ประกอบการคือ การส่งสินค้าคืน โดย 93% มองว่าการส่งของคืนเป็นเรื่องที่ท้าทาย 58%จะคิดค่าบริการเพิ่มกรณีผู้บริโภคต้องการส่งคืนสินค้า ขณะที่ 71% คิดที่จะเปลี่ยนนโยบายนี้ และ 76% การหาเทิร์ดปาร์ตี้มาช่วยและจากผลสำรวจพบว่าความถูกต้องของคลังสินค้ามีเพียง 61% เนื่องจาก 55% ของระบบบริหารจัดการยังใช้มือจด ขณะที่ 87% เชื่อว่าออโตเมชั่นจะเข้ามามีบทบาทในอนาคต
“การเปลี่ยนจากแมนนวลเป็นดิจิทัล มีข้อดี 1.ลดความเสี่ยงสำหรับข้อผิดพลาด 2.ช่วยในการขนส่งที่แม่นยำ 3.ลดต้นทุน 4.ช่วยให้ระยะเวลาในการทำงานสั้นลง โดยภายในปี 2571 ผู้ประกอบการเชื่อว่าจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเกือบ 100% เช่น การใช้ RFID และแพลตฟอร์มการจัดการสินค้าคงคลังจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 32% เป็น 95% หรือสแกนเนอร์ที่ใช้ 50% เพิ่มเป็น 99%”
นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ซีบรา เทคโนโลยีส์ เสริมว่า แม้ว่าการดิสรัปต์จะช่วยให้ตลาดใหญ่ขึ้น แต่การลงทุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังเป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการ โดย 92% มองว่าเงินทุนจัดตั้งและค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินการเพื่อให้บริการออมนิแชนเนลเป็นความท้าทายอีกทั้งทักษะของบุคลากรยังไม่คุ้นชินกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งธุรกิจที่จะปรับตัวก่อน คือ ค้าปลีก, ผู้ผลิต และโลจิสติกส์ รองรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่จะมีมูลค่าสูงถึง 5.6 พันล้านบาท ในปี 2020 จากข้อมูลของ สพธอ.โดยบริษัทจะรุกทำตลาดคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องสแกนบาร์โค้ด และเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดในกลุ่มเฮลท์แคร์ และภาครัฐเพิ่มขึ้น ล่าสุดเปิดตัวเครื่องพิมพ์แบบพกพารุ่น ZQ300 series และเครื่องอ่าน RFID รุ่น FX9600
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ