Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

IBM เตรียมเปิดใช้ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ 20 คิวบิทผ่านคลาวด์ในสิ้นปีนี้

IBM ประกาศเปิดให้บริการระบบ “IBM Q” ควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ใช้โพรเซสเซอร์ 20 คิวบิทผ่านทางคลาวด์ภายในสิ้นปี และเปิดเผยความสำเร็จของเครื่องทดสอบรุ่น 50 คิวบิท ที่จะถูกใช้เป็น IBM Q ยุคถัดไป

ซึ่งพัฒนาขึ้นด้วยการต่อเติมสถาปัตยกรรมเดิมของเครื่องรุ่น 20 คิวบิท คล้ายกับว่าการเปิดม่านยุคควอนตัมคอมพิวเตอร์กำลังใกล้เข้ามา

ในเครื่องรุ่น 20 คิวบิทนั้น เป็นเครื่องทดสอบที่มี Coherence time (ช่วงเวลาต่อเนื่องที่ 0 และ 1 สามารถทับซ้อนกันได้ในเชิงควอนตัมเพื่อใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ความเร็วสูง) สูงถึง 90 ไมโครวินาที (ไมโคร = 1 ในล้าน) สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และมากกว่าเครื่องทดสอบรุ่นก่อนๆ ของ IBM ที่มี Coherence time เฉลี่ยที่ 50 ไมโครวินาทีเกือบเท่าตัว ส่วนในรุ่น 50 คิวบิทที่เป็นรุ่นทดสอบ ปัจจุบันยังมีค่าเทียบเท่ากับในรุ่น 20 คิวบิทอยู่

ควอนตัมคอมพิวเตอร์ ถูกกล่าวขานว่าเป็นคอมพิวเตอร์ในฝันที่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งคณะวิจัยของ IBM ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยอัลกอริทึมซึ่งสามารถจำลองพฤติกรรมของอะตอมได้อย่างมีประสิทธิภาพลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ของอังกฤษ คาดว่าผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปต่อยอดในการวิจัยด้านยา วัสดุ และพลังงานได้ในเร็ววัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จของเครื่องทดสอบ 50 คิวบิทของ IBM นั้น เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ในวงการวิจัยควอนตัมคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยจาก Google ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานจริงได้ให้ความเห็นว่า ควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่น 50 คิวบิทนั้น แม้จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอวนตัมคอมพิวเตอร์รุ่นที่แล้ว ๆ มา และเป็นอีกเครื่องที่ยืนยันศักยภาพของควอนตัมคอมพิวเตอร์ แต่ปัญหาในการเชื่อมวงจร สัญญาณรบกวน และข้อผิดพลาดอื่น ๆ ยังไม่หมดไป รวมถึงยังมีผู้แสดงความเห็นว่า “มันไม่ง่ายขนาดนั้น”

IBM ได้ติดตั้งเครื่องทดสอบรุ่นโปรเซสเซอร์ 5 คิวบิท และ 16 คิวบิท โดยทดลองให้บริการ “IBM Q experience” แบบออนไลน์ผ่านคลาวด์ให้กับสมาชิกทั่วไป ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2016 จนถึงปัจจุบัน และเริ่มโครงการ “IBM Q” บริการควอนตัมคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์สำหรับธุรกิจและการวิจัยในเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017

ปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนใช้งาน “IBM Q experience” 60,000 ราย เป็นมหาวิทยาลัย 1,500 ราย โรงเรียนม.ปลาย 300 ราย และบริษัทเอกชน 300 ราย ถูกใช้ประมวลผลแล้วถึง 1,700,000 ครั้ง และนอกจากจะถูกใช้ในการศึกษาการประมวลผลแบบควอนตัมแล้ว ยังทำให้เกิดเอกสารงานวิจัยนอกเหนือจาก IBM มากกว่า 35 ฉบับ

ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 12:41
กนิษฐา กาญจนกวี

Author : เกาะติดข่าวเทคโนโลยี  IT Business, Social Media, Gadget review, Marketing, Startup, Blockchain และ Cryptocurrency, Tech Startup และ Business Innovations, ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM