IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นางสาวพรนภา เมธาวีวงศ์ ผู้อำนวยการ กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร ดร.ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี รองศาสตราจารย์ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายวรวัฒน์ พิทยศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรม และดิจิตอล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ร่วมเปิดงาน Bangkok Foresight 2030 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความตระหนักรู้ในการร่วมกันพัฒนาภาพอนาคตที่เป็นไปได้ (Possible Future) ของกรุงเทพมหานครในอีก 10 ปีข้างหน้า ทั้งในด้านสภาพความเป็นอยู่ การเดินทางของประชากร การประกอบอาชีพ การใช้พลังงาน และลักษณะของเมือง อันจะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาในแต่ละภาคส่วน การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งการผลักดันให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความสมดุลทั้งในด้านการพัฒนาและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้วยกระบวนการคาดการณ์อนาคต (Foresight) ร่วมกับการสร้างภาพอนาคต (Scenario Development)
นายวรวัฒน์ พิทยศิริ
นายวรวัฒน์ พิทยศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิตอล ปตท. กล่าวว่า ปตท. โดยสถาบันนวัตกรรม ปตท. และทีม PTT ExpresSo ได้จัดงาน Bangkok Foresight 2030 ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ 20 และ 21 เมษายน 2562 ณ เกษร เออร์เบิน รีสอร์ท, เกษร ทาวเวอร์ ขึ้น ด้วยเล็งเห็นว่าโลกของเรากำลังอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและคาดเดาได้ยาก ทั้งภาคสังคม เศรษฐกิจ กฎหมาย พลังงาน สิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยี เป็นต้น
การเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อให้สังคมไทยก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้การ Foresight ซึ่งต่างจากการคาดเดา ทำนาย หรือพยากรณ์อนาคต
หากแต่เป็นกระบวนการมองความเป็นไปได้ของอนาคต (Possible Future) ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางด้านบวกและด้านลบ ผ่านการวิเคราะห์และกำหนดภาพทัศน์ (Scenario Development) และทำการมองย้อนกลับ เพื่อเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันนี้ เพราะการสร้าง “อนาคต” เป็นเรื่องของ “ปัจจุบัน” อนาคตที่เราปรารถนา หรือ ไม่อยากพบเจอ ล้วนขึ้นอยู่กับการกระทำในปัจจุบันทั้งสิ้น
“หัวข้องานสัมมนาครั้งนี้ เราเริ่มจากกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ มิติ ทั้งสภาพความเป็นอยู่ การรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ และ วิถีชีวิตของสังคมเมือง เป็นต้น อันจะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาในระดับประเทศต่อไปงาน Bangkok Foresight 2030 ในครั้งนี้ จัดขึ้นทั้งหมด 2วัน ในวันแรกนั้น เราได้เรียนเชิญองค์กรเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีประสบการณ์ในการพัฒนากรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นวิทยากรและผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อต่าง ๆ รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลและสถิติที่ประโยชน์ต่อการพัฒนาภาพอนาคตที่เป็นไปได้ของกรุงเทพมหานครในอีก 10 ปีข้างหน้า เพื่อนำข้อมูลและสถิติเหล่านี้มาใช้ในการทำเวิร์คชอป เพื่อคาดการณ์อนาคต (Foresight) และสร้างภาพอนาคต (Scenario Development) ของกรุงเทพมหานครร่วมกันในวันที่สอง ข้อมูลและสถิติที่น่าสนใจต่าง ๆ รวมทั้งผลลัพธ์ของเวิร์คชอปจะถูกเผยแพร่หลังจากงาน Bangkok Foresight 2030 ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ประชาชนคนไทย สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับอนาคตกรุงเทพฯ ในอีก10 ปีข้างหน้าไปพร้อม ๆ กัน เพื่อก้าวไปสู่แนวทางการพัฒนาในแต่ละภาคส่วน และเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สูงสุดของการจัดงานBangkok Foresight 2030 ในครั้งนี้” นายวรวัฒน์ กล่าวเสริมในตอนท้าย