IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
Daisaku Ikeda
ประเด็นสำคัญของข้อเสนอดังกล่าวคือการพยายามร่วมกันปลดอาวุธ โดยเฉพาะการเร่งขจัดอาวุธนิวเคลียร์ตามสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ปี 2017 ขณะเดียวกัน อิเคดะยังตอกย้ำถึงอันตรายของการเกิดขึ้นของระบบอาวุธสังหารอัตโนมัติ (LAWS) พร้อมกับเสนอให้จัดการประชุมอย่างเร่งด่วนเพื่อทำสนธิสัญญาห้ามอาวุธเหล่านี้
Antonio Guterres
หลังจากที่ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้บรรจุวาระการประชุมว่าด้วยการปลดอาวุธเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2018 อิเคดะก็ได้เดินหน้าสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนความคิดเรื่องความมั่นคง
จากเดิมซึ่งเน้นที่ความมั่นคงของประเทศหรือกองทัพเพียงมุมเดียว ไปสู่ความมั่นคงของประชาชนเป็นหลัก หรือระบบพหุภาคีที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อพยายามสร้างโลกที่ทุกคนรู้สึกมั่นคงปลอดภัยอย่างแท้จริง
เขายังกล่าวด้วยว่า ความซับซ้อนและระดับของความท้าทายที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ได้ทำให้เยาวชนรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เขาเรียกร้องให้เยาวชนต่อต้านความรู้สึกยอมจำนนดังกล่าว และ “รับมือกับความท้าทายอันใหญ่หลวงที่คนยุคเราต้องเผชิญ ในฐานะผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงรุกในวงกว้าง”
อิเคดะระบุว่าการมีส่วนร่วมของเยาวชนในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) คือปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย พร้อมกับเรียกร้องให้มีการขยายเครือข่าย United Nations Academic Impact (UNAI) ของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และเสนอให้มีการจัดประชุมระดับโลกสำหรับมหาวิทยาลัยเหล่านี้ในปี 2020 นอกจากนี้ อิเคดะยังขานรับการชู “เยาวชน” เป็นจุดสนใจของ World Programme for Human Rights Education ระยะที่ 4
ในประเด็นของการขจัดอาวุธนิวเคลียร์ เขาให้ความสำคัญกับการขยายการให้สัตยาบันสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการบังคับใช้ รวมถึงผลักดันการก่อตั้งกลุ่มประเทศที่มีความคิดเหมือนกันเพื่อยกระดับการหารือและส่งเสริมการให้สัตยาบัน ในชื่อกลุ่ม Friends of the TPNW ซึ่งมีกลุ่ม Friends of the Comprehensive Test Ban Treaty (CTBT) เป็นต้นแบบ โดยเขาเสนอให้ญี่ปุ่นเป็นผู้นำในความเคลื่อนไหวดังกล่าว นอกจากนี้ เขายังตอกย้ำความสำคัญของพันธกิจ Cities Appeal และโครงการผ่านโซเชียลมีเดีย #ICANSave ของกลุ่มรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ (ICAN)
สำหรับการประชุมทบทวนสนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ในปี 2020 อิเคดะได้เรียกร้องให้ดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น การถอนหัวรบนิวเคลียร์จากสถานะ high alert พร้อมกับเสนอให้จัดการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยพิเศษครั้งที่ 4 ว่าด้วยการปลดอาวุธ (SSOD-IV) ในปี 2021 อีกหนึ่งเรื่องที่อิเคดะให้ความสำคัญคือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนว่าด้วยการจัดการน้ำ โดยเขาหวังว่าญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้จะร่วมมือกันสนับสนุนประเทศต่างๆในตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งต้องการระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่และระบบแยกเกลือออกจากน้ำ
สมาคมสร้างคุณค่าสากล หรือเอสจีไอ คือเครือข่ายชุมชนที่ส่งเสริมสันติภาพและมนุษยนิยมแบบชาวพุทธ โดยมีสมาชิก 12 ล้านคนทั่วโลก ไดซาขุ อิเคดะ ประธานเอสจีไอ (1928-ปัจจุบัน) เผยแพร่ข้อเสนอเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นการเสนอวิธีแก้ปัญหาทั่วโลกจากมุมมองของชาวพุทธคนหนึ่ง ในวันที่ 26 มกราคมของทุกปีมาตั้งแต่ปี 1983 เนื่องในวาระครบรอบการก่อตั้งสมาคมเอสจีไอ รับชมข้อมูลได้ที่ www.sgi.org
ที่มา: สมาคมสร้างคุณค่าสากล SGI