Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70 เริ่มดำเนินงานวิจัยในปี 2563 และเป็นอีกหนึ่งโครงการวิจัยฯ ภายใต้การบริหารโครงการวิจัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนะ รักษ์ศิริ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภายใต้การประสานงานร่วม 4 ฝ่าย คือ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (นปอ.) ในฐานะหน่วย ใช้ผลงานวิจัยฯ, สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก (สวพ.ทบ.) ในฐานะผู้ประสานงานวิจัย, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะผู้วิจัย และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ บริษัท อาร์มี่ซิส ซัพพลาย ในฐานะผู้สนับสนุนทุนวิจัยฯ

โดยจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ของปตอ 40 มม. แอล 70 ทั้งในรุ่นระบบสัญญาณแบบอนาล็อกชินไคร (แบบเดิม) และระบบสัญญาณดิจิทัล ที่ได้รับการปรับปรุงในด้านการคิดตามเป้าหมายและการต่อต้านแบบกลุ่มอาวุธต่อสู้อากาศยานลำกล้องด้วยระบบควบคุมการยิงนอกตัวปืน ร่วมกับเทคโนโลยีการตรวจจับขั้นสูง เช่น กล้องออปโตอิเล็กทรอนิกส์

ผลงานวิจัยของโครงการนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญต่อการพัฒนาต่อยอดจากผลงานวิจัยการดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ : ปอ. 40 มม. แอล 70 ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานยุโรปกรณ์ของกองทัพบก (กมย.ทบ.) และได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยฉบับเพิ่มเติม มีนาคม 2563 และได้รับการขยายผลในเชิงพาณิชย์ โดยบริษัท อาร์พลาย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท อาร์มี่ซิส ซัพพลาย จำกัด ภายใต้โครงการ การจ้างซ่อมปรับปรุงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70 จำนวน 19 หน่วย โดยจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของปตอ 40 มม. แอล 70 ทั้งในรุ่นระบบสัญญาณแบบอนาล็อกชินไคร (แบบเดิม) และระบบสัญญาณดิจิทัลที่ได้รับการปรับปรุงในด้านการคิดตามเป้าหมายและการต่อต้านแบบกลุ่มอาวุธต่อสู้อากาศยานลำกล้องด้วยระบบควบคุมการยิงนอกตัวปืน ร่วมกับเทคโนโลยีการตรวจจับขั้นสูง เช่น กล้องออปโตอิเล็กทรอนิกส์

กล้องออปโตอิเล็กทรินิกส์นี้ จะมีความสามารถดังนี้

  1. กล้องตรวจการณ์ เป็นกล้องที่ใช้สำหรับตรวจการณ์ทางอากาศทั่วไปในเวลากลางวัน
  2. กล้องตรวจจับภาพด้วยรังสีความร้อน เป็นกล้องที่ใช้สำหรับค้นหาและติดตามเป้าหมายทั้งทางอากาศและทางพื้นดิน ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน โดยอาศัยความร้อนจากเป้าหมาย
  3. กล้องวัดระยะด้วยเลเซอร์ เป็นกล้องที่ใช้วัดระยะจากปืนไปยังเป้าหมาย เพื่อส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังระบบ ควบคุมและค่านวณขีปนวิธี สำหรับคำนวณหามุมในการยิงเป้าหมาย พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการทำงาน ปตอ 40 มม. แอล 70 จํานวน 4 กระบอก พร้อมกัน

ผลงานวิจัยนี้มีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้

  1. ชุดการหมุนระบบกล้องออปโตอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมระบบควบคุม
  2. โปรแกรมติดตามเป้าหมายจากผลการวัดการเคลื่อนที่จากระบบกล้องออปโตอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่อง ควบคุมการยิงแบบฟลายแคชเชอร์
  3. โปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของกลุ่ม ปตก 40 มม. แคล 70
  4. กล่องสื่อสารสัญญาณไฟฟ้าระหว่าง เครื่องควบคุมการยิงฯ กับ ปตอ. 40 มม. แอล 70 ระบบสัญญาณแบบ อนาล็อกโค (Analog Synchro Signal)
  5. กล่องสื่อสารสัญญาณไฟฟ้าระหว่าง เครื่องควบคุมการยิงฯ กับ ปตอ. 40 มม. แอล 70 ระบบสัญญาณดิจิทัล

โดยสถานะในปัจจุบันของโครงการวิจัยนี้ ได้รับการอนุมัติจากกองทัพบกให้ดำเนินการทดสอบทดลอง เพื่อประเมินคุณภาพของผลงานวิจัยตามมาตรฐานการใช้งานและการจัดอัตรากำลังของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (นปอ.) และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ขั้นตอนการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก ภายในปีงบประมาณ 2567 ต่อไป

Cr. The Army Research and Development Office



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Friday, 22 December 2023 09:42
พงษ์ธีระ เจียรสกุล

Author : เกาะติดข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อะไหล่ ยาง การประกันภัย มอเตอร์โชว์ นวัตกรรมยานยนต์ และทิศทางในอนาคตของวงการยานยนต์

Latest from พงษ์ธีระ เจียรสกุล

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM