December 25, 2024

พลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ ชายผู้ไล่ล่าอนาคตด้วยนวัตกรรม

ในวงการนวัตกรรม พลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ เป็นที่รู้จักจากผลงานฟิล์มลายผ้าช่วยพลางสายตา, (เศษ)แก้วพรุนไล่ยุง เชือมโยงความคิดก้าวสู่ธุรกิจนวัตกรรม

ในวงการนวัตกรรมไทย “พลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ” เป็นที่รู้จักจากผลงานนวัตกรรมฟิล์มลายผ้าช่วยพลางสายตา, (เศษ)แก้วพรุนไล่ยุง ที่จุดประกายความคิดให้กับผู้ประกอบการหันมาสนใจการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม 

“ตอนเด็กๆ ผมไม่ได้มีความฝันเหมือนเพื่อนๆ ที่อยากจะเป็นหมอ เป็นครู แต่ผมค่อนข้างเป็นเด็กคิดเยอะ คิดโน่น คิดนี่ คิดนั่น ช่างสังเกต สนใจทุกเรื่องที่รอบตัว สิ่งเหล่านี้กลับกลายเป็น นิสัยที่ติดตัวมาจนทุกวันนี้ ส่งผลดีในแง่ของการทำงานนวัตกรรมที่ไทยเทคโนกลาส” พลัฏฐ์ เล่าย้อนพฤติกรรมในวัยเด็กที่มีผลจนถึงปัจจุบันกับตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรม บริษัทไทยเทคโน 
กลาส จำกัด (BSG GLASS)

พลัฏฐ์ หนุ่มใหญ่วัย 35 ทายาทรุ่น 2 ไทยเทคโนกลาส เดิมชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้วนเฮงเส็ง อุตสาหกรรม หรือ BSG เริ่มต้นธุรกิจจากการผลิตกระจกรถยนต์และกระจกนิรภัย ปัจจุบัน ต่อยอดธุรกิจสู่เป็นผู้นำตลาดกระจกดีไซน์ของประเทศไทย 

เขาเป็นลูกคนเล็กจากพี่น้องสองคน เริ่มเข้ามาดูแลธุรกิจของครอบครัวเมื่อ 9 ปีที่แล้ว หลังจากจบปริญญาโทด้านวัสดุศาสตร์ที่ฝรั่งเศส โดยก่อนหน้านั้นเรียนปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ 

หลายคนอาจคิดว่า ธุรกิจครอบครัวเป็นปัจจัยผลักดันให้เลือกเรียนวิศวะ แต่พลัฏฐ์บอกว่า การสอบเข้าเรียนวิศวะเป็นการตัดสินใจด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้บังคับหรือ ตั้งเป้าไว้ว่า ลูกต้องเรียนอะไร โตขึ้นมาต้องทำอะไร อย่างไร แต่กลับกลายเป็นว่า เขาและพี่ชาย (จิรัฏฐ์ เลียวกิจสิริ) ตัดสินใจที่เลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ เหมือนกัน ต่างกันที่สาขาและมหาวิทยาลัยเท่านั้น เพราะทั้งคู่ก็กลับมาช่วยดูแลธุรกิจของครอบครัว 


พลัฏฐ์ วิเคราะห์ว่า เกิดจากสไตล์การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ที่ให้ทุกคนในบ้านร่วมรับรู้และรับผิดชอบกับธุรกิจครอบครัวตั้งแต่เด็ก จึงเกิดความผูกพันและพร้อมที่จะสานต่อความฝันของครอบ ครัวให้เจริญเติบโตต่อไปในอนาคต จากตึกแถวที่มีหน้าร้านชั้นล่าง คอยให้บริการใส่กระจกรถยนต์ ส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัย จนกระทั่งกลายเป็นบริษัทผลิตกระจกตกแต่งอาคาร

สมัยเล็กไม่สามารถนอนตื่นสาย ต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 ลงไปช่วยคุณพ่อคุณแม่เปิดร้าน ทอนเงิน ใส่กระจก จึงได้เรียนรู้ทุกอย่างทั้งเรื่องเงินทองจากคุณแม่ หรือเรื่องการผลิตจากคุณพ่อ สิ่ง เหล่านี้หล่อหลอมซึมซับมาตั้งแต่เด็ก ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติไม่รู้สึกว่าถูกกดดัน แค่ทำทุกอย่างให้เต็มที่

 ช่วงแรกที่เข้ามาช่วยธุรกิจครอบครัว เขาเข้ามาดูแลในส่วนการลงเครื่องจักรการผลิต วางแผนเรื่องการปรับปรุงโรงงานเสมือนผู้จัดการโรงงาน ทำระบบไคเซนเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของโรงงาน จนเข้าที่แต่ไม่ใช่งานที่ถนัดเหมาะกับตนเองที่ชอบคิดอะไรใหม่ จึงมองหาโอกาสที่สร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในธุรกิจ ซึ่งตรงกับแนวทางของพี่ชาย ที่ต้องการสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการ ของไทยเทคโนกลาส จึงตั้งทีมนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการด้วยการนำเอา ดีไซน์ มาผสมผสานกับ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

“แต่กว่าจะพัฒนาสินค้าออกมาได้ต้องใช้เวลา ต้องลงทุนลงแรงกับการวิจัย ออกแบบ และไม่ใช่ว่างานวิจัยทุกชิ้นจะประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไรที่ทำเสร็จ ผลตอบรับที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมจะสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่งหลายเท่า เช่น ฟิล์มลายผ้าช่วยพลางสายตา แก้วพรุนไล่ยุง ซึ่งกลายเป็นนวัตกรรมที่สร้างธุรกิจใหม่ให้กับบริษัทเพราะกลุ่มเป้าหมาย ตลาดคนละกลุ่มกับธุรกิจเดิมที่ทำอยู่” 



ถ้าพูดถึงงานอดิเรกของพลัฏฐ์ ต้องขอบอกว่า เหนือความคาดหมาย แต่สะท้อนตัวตนของนวัตกรหนุ่มคนนี้ได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ การทดลองหมักเบียร์ดื่มเอง ด้วยความสนใจและชื่นชอบเรื่องเบียร์ จึงใช้เวลาว่างในการทดลองหมักเบียร์ ขณะที่เครื่องดื่มชนิดนี้ที่จำหน่ายในประเทศมีอยู่ไม่กี่ประเภท แต่ทั่วโลกมีเบียร์มากกว่า 80 ชนิดเพราะมีผู้หมักเบียร์รายย่อยจำนวนมากทำให้มีเบียร์หลากหลายชนิด ต่างคนคิดค้นสูตรของตนเองทำให้มีรสชาติใหม่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์

เป็นอีกหนึ่งคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดและหลักการใช้ชีวิตที่ชัดเจนและชาญฉลาด ออกแบบเส้นทางชีวิตในปัจจุบันให้ดีที่สุด มั่นคงที่สุด เตรียมพร้อมเพื่ออนาคตที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองและคนรอบข้าง

ที่มา : bangkokbiznews

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Wednesday, 17 October 2018 01:32

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM