IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | [email protected]
โดย 2 บริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า มีการนำเหล็กคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานจากโกเบ สตีล มาใช้ผลิตรถไฟหัวกระสุนหลายขบวน
ทั้งนี้ เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวถูกเผยแพร่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เมื่อโกเบ สตีล กล่าวว่าพนักงานของบริษัทได้ปลอมแปลงข้อมูลเกี่ยวกับความแข็งแรงและความทนทานของอะลูมิเนียมและทองแดงหลายพันตันที่ขายระหว่างเดือนกันยายน 2016 – สิงหาคม 2017 ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ทำกับลูกค้า
ขณะที่รถไฟญี่ปุ่นตะวันตก (West Japan Railway) ยังพบชิ้นส่วนอะลูมิเนียมจากโกเบที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของรถไฟความเร็วสูงที่ผลิตขึ้นโดยฮิตาชิและนิปปอนชาเรียว โดยรถไฟดังกล่าวให้บริการเส้นทางระหว่างโอซาก้า-ฮากาตะ
ทั้งสองบริษัทระบุว่า ส่วนประกอบดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยใดๆ แต่พวกเขากำลังพิจารณาที่จะเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างการบำรุงรักษา
เรื่องอื้อฉาวของโกเบสตีลในสัปดาห์นี้ส่งแรงกระเพื่อมผ่านซัพพลายเชนบริษัทยานยนต์และอากาศยานทั่วโลก โดยโตโยต้า, ฮอนด้า, นิสสัน และมาสด้า ได้ยืนยันกับซีเอ็นเอ็นว่า พวกเขาซื้อชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐานมาจากโกเบ สตีล เช่นเดียวกับบริษัทผลิตเครื่องบินอย่างมิตซูบิชิเฮฟวี่
นอกจากนี้ ซูบารุยังยืนยันอีกว่าบริษัทได้ซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานดังกล่าว โดยซูบารุและมิตซูบิชิเป็นซัพพลายเออร์หลักให้กับโบอิ้ง
โฆษกโบอิ้งกล่าวว่า บริษัทได้ทำการตรวจสอบซัพพลายเชนสำหรับส่วนประกอบที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนฟอร์ดและจีเอ็มกล่าวว่า กำลังตรวจสอบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ทั้งนี้ ผลกระทบดูเหมือนว่าจะดำเนินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยนายฮิโรยะ คาวาซากิ ซีอีโอและประธานบริหารของโกเบ สตีล กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า อาจจะมีกรณีอื่นๆ ที่ข้อมูลถูกปลอมแปลงขึ้นมาอีก
ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังรอคำตอบ โดยโฆษกรัฐบาลกล่าวกับซีเอ็นเอ็นว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ได้สั่งให้โกเบ สตีล “รายงานผลการตรวจสอบความปลอดภัยภายใน 2 สัปดาห์ และดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดถึงสาเหตุของการปลอมแปลงข้อมูล และมาตรการป้องกันภายในหนึ่งเดือน”
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ