January 22, 2025
THAI AAJ-Mechanics-Strip-Head

การพัฒนาสินค้านวัตกรรมของ DAIHATSU

การผลิตแบบหล่อทรายสำหรับงานทดลองหล่อชิ้นส่วนโลหะด้วย 3D Printer

ไดฮัตสุพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตแบบหล่อทรายสำหรับงานทดลองหล่อชิ้นส่วนโลหะด้วย 3D Printer และติดตั้งไว้ที่โรงงานคุรุเมะ (เมืองคุรุเมะ จังหวัดฟุกุโอะกะ) ซึ่งแบบหล่อทรายเดิมที่ผลิตด้วย 3D Printer นั้น สามารถนำไปใช้ในการหล่อวัสดุได้เพียงอลูมิเนียมและทองแดงเท่านั้น ทำให้ชิ้นส่วนอลูมิเนียมและทองแดงถูกผลิตออกมาได้เร็ว ในขณะที่การผลิตสินค้าทดสอบที่ยังมีชิ้นส่วนเหล็กจำนวนมาก เช่น รถยนต์ ยังประสบปัญหาความล่าช้าจากการหล่อชิ้นส่วนเหล็ก โดยเทคนิคใหม่นี้จะลดเวลาในการผลิตชิ้นส่วนลงทั้งในวัสดุอลูมิเนียม ทองแดง และเหล็ก และลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก ซึ่ง Mr. Kazuki Takada หัวหน้าแผนกวางแผนเทคโนโลยี และหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็น “เทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อวงการอุตสาหกรรม”

กล่าวกันว่า

ในตลาดของการหล่อโลหะถึง 70% เป็นตลาดของงานหล่อเหล็กทั้งสิ้น ทั้งกับยานยนต์ที่แม้จะมีแนวทางการพัฒนาโดยมุ่งเน้นลดน้ำหนักด้วยชิ้นส่วนอลูมิเนียมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง เครื่องจักรก่อสร้าง และเครื่องจักรการเกษตร

ไดฮัตสุมีการใช้ 3D Printer เพื่อผลิตแบบหล่อทรายตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งก่อนหน้านั้น การผลิตแม่พิมพ์เพื่อชิ้นงานทดสอบถูกทำขึ้นจากไม้ โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จากนั้นจึงนำแม่พิมพ์ไม้มาสร้างแบบหล่อทราย ซึ่งในการผลิตแม่พิมพ์ไม้ที่ซับซ้อนนี้ต้องการทักษะสูง Daihatsu จึงตัดสินใจแทนที่การหันมาผลิตแบบหล่อทรายสำหรับผลิตชิ้นงานทดลองแบบอลูมิเนียมด้วย 3D Printer ทำให้ลดเวลาที่ใช้จาก 1 เดือนเหลือ 5 วัน และมีค่าใช้จ่ายลดลง 10%

 อย่างไรก็ตาม ทรายซิลิกาธรรมชาติซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ใน Printer นั้นมีซิลิกอนเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ Thermal Expansion Coefficients มีค่าสูง เมื่อเทโลหะความร้อนสูงลงในแบบหล่อจึงทำให้เกิดรอยแตกอันเป็นเหตุของการเสื่อมสภาพ ไม่สามารถใช้ในการหล่อเหล็กซึ่งมีจุดหลอมเหลวสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียสได้

แต่ด้วยความที่ทรายซิลิกาธรรมชาติมีความเป็นกรด ทำให้เหมาะแก่การทำให้แข็งตัวภายใต้อุณหภูมิห้องด้วยกระบวนการ “Furan Resin Self-Hardening” Daihatsu จึงร่วมกับผู้ผลิตเรซิ่นพัฒนาทรายสังเคราะห์จากอัลคาไล ซึ่งสามารถใช้กับ 3D printer ที่ถูกออกแบบพิเศษให้มีผิวสัมผัสเป็นกรดได้ จึงสามารถนำทรายชนิดนี้มาทำแบบหล่อทรายที่หล่อได้ทั้งเหล็กและเหล็กกล้า และสามารถรีไซเคิลได้ ทำให้ลดการสิ้นเปลืองจากการใช้ทรายซิลิกาธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

การใช้แบบหล่อทรายสำหรับงานทดสอบชิ้นส่วนเหล็ก ช่วยลดระยะเวลาทำงานให้น้อยลง ส่งผลให้เป็นที่ต้องการทั้งในภาคเครื่องจักรการเกษตรและเครื่องจักรก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบัน ไดฮัตสุได้เริ่มขายแบบหล่อทรายและให้สิทธิ์ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย (จังหวัดโอซาก้า Yasuo Matsunaka)

ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 12:21
ภูวิศ ภูสิทธิ์อุดมรัตน์

Author : เด็กช่าง เจ๋งที่สุด เกาะติดข่าวโรงงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร โมดูล อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์ ราวๆ นี้

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion จัดงานมินิโรดโชว์ลำปาง 18-22 ธันวาคม 2567 พร้อมโปรโมชันดีส่งท้ายปี

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM