IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายเกรียงศักดิ์ หล่อวัฒนตระกูล ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้สภาการเหมืองแร่ได้จัดประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2561 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเหมืองได้หารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมถึงปัญหาการทำเหมืองที่ยังค้างคา หลังจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2560 โดยพบปัญหาเรื่องของการค้างใบอนุญาตสำรวจแร่ หรืออาชญาบัตรสำรวจ ที่มีอยู่ประมาณ 40-50 ราย เนื่องจากการออกใบอนุญาตสำรวจแร่พื้นที่แห่งนั้นจะต้องถูกประกาศเป็น “เขตแหล่งแร่” ก่อน แต่จนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการประกาศเขตแหล่งออกมาแต่อย่างใด “เวลาผ่านมากว่า1 ปีแล้ว เราก็ยังไม่มีเขตแหล่งแร่ ส่งผลให้ใบอนุญาตสำรวจแร่ตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ทางผู้ประกอบการเหมืองแร่ไม่สามารถดำเนินการอะไรต่อได้เลย”
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงปัญหาในการยื่นคำขอและยื่นขอ “ต่ออายุประทานบัตร” นอกจากการขออาชญาบัตรสำรวจแร่แล้ว
ปัญหาส่วนใหญ่จากสมาชิกก็ยังคงเป็นเรื่องของการขอประทานบัตร (ขุดแร่) ที่ยังคงมีบางส่วนค้างคำขอก่อนที่จะมีกฎหมายใหม่ (พ.ร.บ.แร่ 2560) บางรายประทานบัตรติดอยู่ในพื้นที่ป่าไม้ชั้นพื้นที่ลุ่มน้ำ-พื้นที่ส.ป.ก.-พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รวมถึงพื้นที่เอกสารสิทธิด้วย
สำหรับเหมืองเดิมที่ไม่สามารถต่อประทานบัตรได้ เพราะติดอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก.นั้น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางสภาการเหมืองแร่ได้เข้าหารือกับเลขาธิการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เพื่อให้พิจารณาและขอ “ผ่อนผัน” ให้เหมืองแร่ดังกล่าวสามารถดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตได้ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2560 เรื่องการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา (26 มิถุนายน 2560)
ปรากฏเลขาธิการ ส.ป.ก.ยืนยันที่จะคงให้ปฏิบัติตามคำสั่งใหม่ที่ประกาศมาแล้วเท่านั้น แต่ด้วยผู้ประกอบการยังคงมีความเดือดร้อน เพราะพื้นที่ทำเหมืองที่ติด ส.ป.ก. ยังคงมีใบอนุญาตสำรวจแร่อยู่ ดังนั้นทางสภาจึงเตรียมเข้าหารือกับทางเลขาฯ ส.ป.ก.อีกครั้ง เพื่อหาแนวทางช่วยหรือผ่อนผันให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบน้อยที่สุด นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีปัญหาเรื่องของการขออนุญาตใช้พื้นที่ (ในกรณีที่ไม่ใช่พื้นที่เอกสารสิทธิ) เพื่อประกอบการขออนุญาตทำเหมืองแร่หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ เช่น โรงงานโม่ บด หรือย่อยหิน โรงแต่งแร่ โรงประกอบโลหกรรม ที่ยังคงค้างอยู่ในขั้นตอนของหน่วยงาน “เราก็ไม่ทราบว่ามันติดปัญหาในขั้นตอนไหน”
ด้านนายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมการแร่ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและยังขาดในส่วนผู้แทนจากองค์กรเอกชน (NGO) เพียงส่วนเดียว
“แต่การแต่งตั้งคณะกรรมการแร่จะให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้” หลังจากนั้นคณะกรรมการแร่ก็จะเริ่มทำหน้าที่หยิบยกคำขอทั้งหมด ทั้งอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ อาชญาบัตรผูกขาด ประทานบัตรขุดเจาะ การต่อใบอนุญาต